นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Metaverse

Meta, Disney, Microsoft 3 บริษัทใหญ่ กับท่าทีที่เปลี่ยนไปในโลก Metaverse 

เมื่อโควิดคลี่คลาย นโยบายหลายอย่างกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังออกมาเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ จึงทำให้ภาพแห่งโลกความเป็นจริงเริ่มกลับมาชัดเจนมากขึ้น สวนทางกับภาพของ Metaverse ที่หลายบริษัทเคยนฤมิตไว้อย่างสวยงาม

กระแส Metaverse เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 กับข่าวใหญ่ที่ Facebook ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อบริษัทในรอบ 17 ปี จาก Facebook มาเป็น Meta โดยซีอีโอและผู้ก่อตั้งของบริษัทอย่าง Mark Zuckerberg บอกถึงเหตุผลของการเปลี่ยนชื่อในครั้งนั้นว่าเพราะ Facebook เป็นชื่อที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสิ่งที่บริษัทฯ ทำนั้นไม่ได้มีแค่โซเชียลมีเดีย แต่ยังรวมไปถึงเทคโนโลยีอย่าง AR, VR ส่วนอีกเหตุผลที่สำคัญก็คือการสะท้อนว่าในอนาคตบริษัทฯ จะมุ่งเน้นไปยังเรื่องของ Metaverse โดยที่ผ่านมา Meta ได้ทุ่มเงินไปกับเรื่องนี้มากถึง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว

ไม่เพียงแต่ Facebook เพราะในช่วงเวลาเดียวกันก็ยังมีบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่งที่กระโดดลงมาเล่นในสนามนี้ ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีกอย่าง Walmart ที่ได้ไปเปิดร้านค้าเสมือนจริงอย่าง Walmart Land บนแพลตฟอร์ม Roblox ส่วน Google ก็มีการลงทุนเป็นจำนวน 39.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกองทุนไพรเวตอิควิตี้ที่ทำเกี่ยวกับ Metaverse ด้าน Disney เองในช่วงต้นปี 2565 ก็มีการประกาศว่าจะลงทุนบุกตลาด Metaverse อย่างเป็นจริงเป็นจัง หรือกับ Microsoft ก็มีการไปลงทุนด้าน Metaverse กับบริษัทต่างๆ เป็นมูลค่ารวมกว่า 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเชื่อว่านี่เป็นการลงทุนเพื่อเทคโนโลยีที่กำลังจะมาในอนาคต

ทว่ากระแสของ Metaverse ก็เริ่มซาไปพร้อมกับโควิด และดูเหมือนว่าความท้าทายของบริษัทที่ทำเรื่อง Metaverse ในตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสามารถดึงดูดผู้คนให้มาอยู่ในโลกเสมือนจริงที่พวกเขาสร้างได้มากแค่ไหน แต่คือประเด็นที่ว่าในวันที่เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย บริษัทเหล่านี้จะมีวิธีจัดการกับ Metaverse เทคโนโลยีที่มีแต่รายจ่าย แต่ยังไม่เห็นปลายทางของการทำกำไรได้อย่างไรมากกว่า

และเมื่อสถานะทางการเงินในปัจจุบันอาจสำคัญกว่าโลกในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ในมีนาคมที่ผ่านมา Disney จึงออกมาประกาศเลย์ออฟพนักงานกว่า 7,000 ตำแหน่ง ซึ่งภายในนั้นมีพนักงานในแผนก Metaverse พร้อมประกาศปิดแผนกนี้ไปด้วย เพื่อที่จะลดรายจ่ายของบริษัท 

ส่วน Microsoft เองก็ได้ยุติการทำ Metaverse แล้วปลดพนักงาน 100 ชีวิตในบริษัทที่ทำงานด้านนี้ออก เพื่อโฟกัสไปยังการทำ ChatGPT ที่ดูจะทำกำไรได้จริงมากกว่า 

ด้าน Meta แม้มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จะบอกว่าบริษัทจะยังคงทำเรื่อง Metaverse ต่อไป แต่เมื่อปลายปี 2565 มาร์กเองก็ได้ออกมายอมรับว่าช่วงปีนั้นเขาตัดสินใจผิดพลาดลงทุนมากไปในช่วงโควิด จนทำให้ในที่สุดบริษัทต้องหันมาลดรายจ่ายด้วยการปลดพนักงานกว่า 11,000 คนในล็อตแรก และอีกไม่กี่เดือนผ่านมาก็ปลดพนักงานล็อตที่สองเพิ่มอีก 10,000 คน 

แม้มาร์กยังยืนยันที่จะทำ Metaverse ต่อไป แต่ท่าทีของเขาต่อเรื่องนี้กลับไม่ได้แข็งกร้าวและรุกหนักเหมือนอย่างช่วงแรกของการประกาศทำโลกเสมือนจริง จึงเป็นสิ่งที่น่าจับตาดูต่อไปว่าอนาคตทิศทางต่อเรื่องนี้ของ Meta จะเป็นยังไง เพราะหลังจากมาร์กประกาศปลดคนเพื่อลดค่าใช้จ่ายบริษัท ก็ทำให้หุ้นของ Meta เพิ่มขึ้น 7% แล้วแบบนี้แรงกดดันของเหล่านักลงทุนจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นที่มาร์กมีต่อ Metaverse ได้มากน้อยขนาดไหน

นอกจาก Crytocurrency, NFT หรือ Metaverse เชื่ออย่างยิ่งว่าในอนาคตอันใกล้จะมีเทคโนโลยีที่ดูมีคอนเซปต์ล้ำๆ ที่เกี่ยวกับด้านการเงินการลงทุนแบบนี้ผุดขึ้นมาอีกจำนวนมากอีกเป็นแน่

และสำหรับคนทั่วไปอย่างเราสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าความสามารถของเทคโนโลยีว่าจะช่วยให้เราหาเงินได้เพิ่มขึ้นแค่ไหน ก็คือความรู้เท่าทันว่าสิ่งนั้นจะเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่ยั่งยืนจริงๆ หรือเป็นเพียงแค่การตลาดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ของบริษัทเท่านั้น

อ้างอิง

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like