นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ล้อหมุนด้วยความรัก

‘LUCI’ ผู้สร้างนวัตกรรมประหนึ่งเทสล่าของรถเข็นที่เกิดจากความรักของพ่อต่อลูกสาว

ในการทำแบบสำรวจผู้ใช้งานรถเข็นคนพิการไฟฟ้า (Power Wheelchair) ที่รัฐโนวาสโกเชีย (Nova Scotia) ประเทศแคนาดากว่า 2,055 คน สถิติบ่งบอกว่ากว่า 57% เคยประสบอุบัติเหตุที่รถเข็นพลิกคว่ำและร่วงหล่นจากรถเข็นจนบาดเจ็บอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต แบบสำรวจอื่นๆ ที่ทำในอเมริกาก็รายงานใกล้เคียงกัน โดยเฉลี่ยแล้วอย่างน้อยๆ 54% เคยเกิดอุบัติเหตุกับรถเข็น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกรณีสะดุดแล้วล้มพลิกคว่ำจนร่วงหล่นลงมาบาดเจ็บ

สาเหตุของการสะดุดก็มีตั้งแต่พื้นต่างระดับ ชนสิ่งกีดขวาง ก้อนหินใหญ่ โดนคนอื่นชนและหยุดไม่ทัน ฯลฯ พูดอีกอย่างคืออุบัติเหตุในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็นไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องที่เกิดได้ทุกเมื่อและที่สำคัญคือมันอันตรายมากเพราะคนพิการหลายคนที่ใช้รถเข็นไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ถ้าเกิดร่วงหลุดออกมาจากรถเข็น

นั่นคือสิ่งที่ แบร์รี่ ดีน (Barry Dean) และจาเร็ด ดีน (Jered Dean) สองพี่น้องที่ก่อตั้งบริษัท LUCI อุปกรณ์เสริมสำหรับรถเข็นเพื่อเพิ่มความสามารถในการขับเคลื่อนอัตโนมัติให้กับอุตสาหกรรมรถเข็นผู้พิการที่ถูกมองข้ามและไม่ได้รับความสนใจมาหลายทศวรรษ 

เหตุผลที่แบร์รี่เริ่มทำคือเพื่อช่วยให้แคทเธอรีน ลูกสาวของเขาที่มีภาวะสมองพิการให้ใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยและไปไหนมาไหนเองได้อย่างมีอิสระมากขึ้น

tennessean.com

แคทเธอรีนตอนนี้อายุประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมาเธอต้องใช้ชีวิตชีวิตกับรถเข็นไฟฟ้าทั่วไปมาตลอด แบร์รี่เล่าว่าครั้งแรกที่แคทเธอรีนได้รถเข็น หลังจากที่คลีนิคปรับจูนความเร็วของรถเข็นเพื่อให้เข้ากับความสามารถทางร่างกายของแคทเธอรีนเรียบร้อย แคทเธอรีนขึ้นนั่งปุ๊บแล้วลองบังคับ รถเข็นก็พุ่งไปชนกำแพงคลีนิคเลยทันที กว่าจะปรับตัวให้ควบคุมรถเข็นไฟฟ้าได้ก็ใช้เวลานานพอสมควร

แบร์รี่ผู้เป็นพ่อกับจาเร็ดซึ่งเป็นคุณลุงของแคทเธอรีนเชื่อว่ามันควรมีวิธีที่ดีกว่านี้ พวกเขาหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ไปงานโชว์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายแต่ก็ไม่เจอส่ิงที่ตามหา จึงตัดสินใจร่วมมือกันสร้าง LUCI ขึ้นมา โดยจาเร็ดมีพื้นฐานเป็นวิศวกรอยู่แล้วจึงดูแลในส่วนของเทคโนโลยีทั้งหมดเลย ส่วนแบร์รี่ก็ดูภาพรวม การตลาด และส่วนอื่นๆ

พวกเขาตั้งชื่อบริษัทว่า LUCI ขึ้นมาตามชื่อเพลง Lucy In The Sky With Diamonds ของ The Beatles ซึ่งเป็นเพลงโปรดของแคทเธอรีน ระหว่างสร้างพวกเขารู้ข้อมูลว่ารถเข็นไฟฟ้าเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ด้วยน้ำหนักของมันที่สูงถึง 180 กิโลกรัม สามารถทำให้ร่างกายของคนที่ขับขี่บาดเจ็บได้หากเกิดพลิกคว่ำมาทับ และรายงานจากโรงพยาบาลบอกว่ามีการเข้ามารักษากว่า 175,000 ครั้งต่อปีที่เป็นอุบัติเหตุเกี่ยวเนื่องกับรถเข็นไฟฟ้า

denverpost.com

หลังจากนั้นพวกเขาเริ่มทดสอบความรุนแรงของการชนของรถเข็นไฟฟ้า (เหมือนการทดสอบสมรรถภาพการชนรถยนต์) ด้วยตัวหุ่นทดลอง พวกเขาพบว่าการชนแต่ละครั้งมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่าโดยตรงเพราะมันอยู่ด้านหน้า และมีอันตรายไม่ต่างจากการอุบัติเหตุจากรถยนต์เลย และนั่นเป็นที่มาของอุปกรณ์ที่พวกเขาสร้างขึ้น

โดยอุปกรณ์ตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยโปรเซสเซอร์ ARM เพื่อประมวลผลข้อมูลจากกล้องหลายตัวสำหรับจับภาพสภาพแวดล้อม สิ่งของ และบุคคลอื่นรอบตัว พร้อมทั้งยังมีเซนเซอร์ที่ใช้เรดาร์และคลื่นอัลตราโซนิกเพื่อวัดระยะทางสำหรับความแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

อุปกรณ์เสริมตัวนี้สามารถใช้กับรถเข็นไฟฟ้าได้เกือบทุกรุ่น หลังจากที่ซื้อมาสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเองที่บ้านโดยทำตามขั้นตอนในวิดีโอสาธิต โดยเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน ตั้งแต่การชน ที่ระบบจะหยุดรถเองเมื่อใกล้กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า, การพลิกล้ม ที่อุปกรณ์จะตรวจสอบระดับความสูงของพื้นที่ไม่เท่ากัน อย่างขอบถนน, การทับก้อนหินหรือสิ่งของกีดขวางจนทำให้รถเข็นเสียการทรงตัว ที่อุปกรณ์จะมีเซนเซอร์เพื่อประมาณระยะห่างของสิ่งกีดขวางต่างๆ

fastcompany.com

นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อกับลำโพงอัจฉริยะในบ้าน อย่างพวก Google Home หรือ Amazon Echo เพื่อเช็กระดับแบตเตอรี่ของรถเข็นไฟฟ้าได้ด้วย การสั่งก็จะถามประมาณว่า ‘Alexa ตอนนี้รถเข็นไฟฟ้าแบตเตอรี่เหลือเท่าไหร่’ ตัว LUCI ที่เชื่อมต่อกับรถเข็นไฟฟ้าก็จะส่งข้อมูลไปยังลำโพงอัจฉริยะเหล่านั้นด้วย

จาเร็ดบอกว่า “ผู้ใช้งาน LUCI ควรได้รับการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้เช่นเดียวกัน ตอนที่เราพัฒนา LUCI เราก็ไปศึกษาว่าระบบการขับเคลื่อนรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยนั้นทำงานยังไง ซึ่งสิ่งที่ LUCI ทำได้ตอนนี้ก็เหมือนกับรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีระดับแถวหน้าของตลาดมีเลย สามารถมองรอบด้านได้ 360 องศา”

รถเข็นไฟฟ้าที่ใช้ LUCI จะสามารถตรวจสอบได้รอบคันว่าตอนนี้มีอะไรอยู่รอบๆ บ้าง โดยเทคโนโลยีนี้จะประมวลผลสภาพแวดล้อมรอบๆ และแปลงค่าให้มันเป็นโซนที่ปลอดภัยและอันตราย มีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยอย่างเทสล่า LUCI สามารถบอกได้เลยว่า ตรงไหนไปได้บ้าง ตรงไหนควรหลีกเลี่ยง ควรเลี้ยวซ้ายขวา ชะลอความเร็ว ฯลฯ 

ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกนำมาแสดงบนแอพพลิเคชั่นของ LUCI บนมือถือ สำหรับคนที่ยังพอบังคับรถเข็นไฟฟ้าเองได้บ้างมันก็ช่วยอำนวยความสะดวก แต่สำหรับใครที่บังคับไม่ได้ดีนัก มันจะช่วยบังคับล้อและทิศทางของรถเข็นไฟฟ้าให้ได้ด้วย หรือถ้าไปเจอพื้นที่อันตราย (ต่างระดับ) แล้วไม่ทันระวังก็จะเบรกให้เองด้วย 

แบร์รี่มีอาชีพเป็นนักดนตรีและตอนที่เริ่มสร้างบริษัทคนรอบๆ ตัวต่างบอกว่าอย่าทำเลย แบร์รี่กลับไปเล่าถึงช่วงเวลานั้น

“ผมเป็นนักดนตรี คนแต่งเพลง และคนก็บอกกับผมว่า ‘เฮ้ย นายไม่อยากเข้าไปในพื้นที่ตรงนั้นหรอก นายไม่อยากสร้างบริษัทหรอก แค่รอให้อุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นดีกว่าและก็กลับไปมีความสุขกับการเขียนเพลง’ แต่ก่อนที่ผมจะมาอยู่ในอุตสาหกรรมเพลงผมเคยทำงานอื่นมาก่อนและก็หาข้อมูลมาแล้วด้วย”

ด้วยความรักที่มีต่อลูกสาวและความช่วยเหลือจากน้องชาย (จาเร็ด) คุณลุงของแคทเธอรีน แบร์รี่กัดฟันเดินหน้าต่อแม้จะถูกต่อต้านจากคนรอบข้าง

“ผมรู้เลยว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีประเภทนี้อาจใช้เวลานานถึง 20 ปี และผมก็ไม่พร้อมจะแลกชีวิตของแคทเธอรีนเพื่อรอให้อุตสาหกรรมหันมาสนใจทำหรอก”

LUCI ได้รับรางวัล ‘Best Inventions of 2020’ ของนิตยสาร Time  และเปิดขายไปในช่วงต้นปี 2021

เสียงตอบรับของ LUCI ในตลาดถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ราคาขายอยู่ที่ราว 8,445 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 320,000 บาท ซึ่งถ้าเทียบกับรถเข็นไฟฟ้าที่ขายกันในตลาดที่ราวๆ ล้านกว่าบาทถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณและคนที่คุณรักได้อย่างมาก และแน่นอนว่าเมื่อเทคโนโลยีได้ถูกนำไปใช้มากขึ้นและพัฒนาให้ดีขึ้น ราคาจะค่อยๆ ถูกลงเรื่อยๆ 

fortune.com

แบร์รี่บอกว่าคนเรียก LUCI ว่าเป็น ‘disruptor’ หรือสตาร์ทอัพที่มาเขย่าวงการอุตสาหกรรมรถเข็นไฟฟ้า แต่เขาเห็นว่า LUCI เป็น ‘catalyst’ หรือตัวเร่งปฏิกิริยามากกว่า และเงินที่ได้มาเขาก็จะเอากลับมาพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อ ทำให้มันดีที่สุด มากขึ้นเรื่อยๆ และหวังว่าจะเป็นตัวดึงดูดให้บริษัทอื่นเข้ามาทำด้วย

เพราะเขาทราบดีว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ใช่เพียงเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยและมีความสุขมากขึ้นของผู้ใช้งานของ LUCI เท่านั้น แต่เป็นอนาคตที่ปลอดภัยและเต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุขของคนที่เขารักที่สุด

นั่นก็คือแคทเธอรีนนั่นเอง

อ้างอิง

Writer

คุณพ่อลูกหนึ่งจากเชียงใหม่ที่รักการเขียน การอ่าน และการดองหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายการทำงานที่เป็นมากกว่าแค่ผลกำไรและทำงานหนักจนลืมความหมายของการมีชีวิตอยู่

You Might Also Like