นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

‘เลย์ออฟ’ และ ‘กักตุน’ พนักงาน วิกฤตเรื่องคนที่หลายบริษัทกำลังเผชิญ ท่ามกลางเศรษฐกิจอันไม่แน่นอน

เงินเฟ้อ เศรษฐกิจถดถอย นโยบายช่วยเหลือเยียวยาต่างๆ เริ่มหมดลงหลังโควิดคลี่คลาย เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงปลายปี 2022 ถึงต้นปี 2023 ที่ผ่านมา เราจึงเห็นบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ปลดพนักงานกันระนาว ไม่ว่าจะเป็น Meta, Spotify, Paypal หรือ Microsoft ก็ตาม 

ทว่าวิกฤตการปลดคนไม่เพียงเกิดขึ้นแค่ในวงการเทคโนโลยี แต่ยังลามมาถึงธุรกิจรีเทลด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็น

Gap–แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นชื่อดังเตรียมเลิกจ้างพนักงานเพิ่มอีกกว่า 1,800 ตำแหน่ง หลังจากเมื่อเดือนกันยายนในปี 2565 Gap ได้ปลดพนักงานไปแล้วกว่า 500 คน

Whole Foods–เชนร้านขายสินค้าออร์แกนิกที่ Amazon ได้ไปซื้อธุรกิจมาเป็นของตัวเมื่อ 5 ปีก่อน ก็เตรียมที่จะปลดพนักงานอีกหลายร้อยคน ซึ่งกระทบไปถึงพนักงานที่อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการระดับภูมิภาคด้วย 

Walmart–บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ก็ได้เลิกจ้างพนักงานในร้านค้าหลายแห่ง รวมๆ แล้วเกือบพันตำแหน่ง ทั้งพนักงานที่อยู่หน้าร้าน รวมไปถึงพนักงานในฝั่งของ e-Commerce 

3 บริษัทนี้เป็นเพียงการยกตัวอย่างแบรนด์ที่คนไทยพอจะคุ้นหูมาให้เห็นภาพเท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วยังมีธุรกิจรีเทลอีกมากมายที่ปลดพนักงานออกเป็นหลักร้อยทั้ง Blue Nile บริษัทเครื่องประดับที่เตรียมเลย์ออฟพนักงาน 119 คน, Zulily ร้านค้าปลีกออนไลน์ลดพนักงานจำนวนเกือบ 2,000 คนเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท, Stitch Fix ร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ที่มีสไตล์ลิสต์ส่วนตัวเป็นบริการเสริม ก็ได้ตัดพนักงานออกจำนวน 1,700 ตำแหน่งด้วยเหตุผลยอดขายที่ชะลอตัวและฐานลูกค้าที่หดตัวลง 

ที่น่าตกใจคือทั้งหมดทั้งมวลที่ได้เล่ามานี้เป็นเหตุการณ์ปลดพนักงานที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งหากรวมกับการเลย์ออฟพนักงานในวงการบิ๊กเทค นั่นหมายความว่าในระยะเวลาเพียง 4 เดือน มีพนักงานเป็นแสนชีวิตที่ต้องตกงาน

ท่ามกลางสถานการณ์การเลย์ออฟคนออกของหลายบริษัททั่วโลก ยังมีคำคำนึงที่มีความหมายตรงกันข้ามผุดขึ้นมา นั่นคือคำว่า ‘labor hoarding’ หรือหมายถึงการกักตุนแรงงาน

คำว่า labor hoarding ถูกบัญญัติขึ้นมาในปี 1960 โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อว่า Arthur Okun โดย labor hoarding หมายถึงแม้จะมีภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่บริษัทก็ยังไม่ไล่พนักงานออก ยังเลี้ยงพนักงานเอาไว้ เพราะกลัวว่าจะขาดแคลนพนักงานเมื่อธุรกิจฟื้นตัวในที่สุด อย่างในช่วงโควิดที่หลายบริษัททยอยปลดพนักงาน แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้าน เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลายธุรกิจกลับไม่สามารถหาพนักงานมาตอบสนองการฟื้นตัวของธุรกิจได้ทัน ก็ทำให้เสียโอกาสต่างๆ ในธุรกิจไปไม่น้อย 

เช่นเดียวกับคำอธิบายของ Heidi Shierholz นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากสถาบันนโยบายเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาที่เธอได้พูดถึงคำว่า labor hoarding เอาไว้ว่า

 “พวกเขาจะให้คนงานทำงานต่อไปเพราะพวกเขาเห็นคุณค่าของการแข่งขัน พวกเขาลงทุนในคนงานเหล่านั้น พวกเขาไม่ต้องการปล่อยพวกเขาไปและต้องทำการฝึกอบรมใหม่ราคาแพง โดยจ้างใหม่อีกครั้งเมื่อสิ่งต่างๆ ดีขึ้น”

ตัวอย่างบริษัทที่ได้ทำการกักตุนแรงงานก็อย่างเช่น CarMax บริษัทขายรถยนต์มือสองในอเมริกาที่แม้บริษัทจะมียอดขายลดลง แต่ก็จะไม่ลดจำนวนช่างเทคนิค เพราะหากสถานการณ์เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้น พนักงานเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

หรืออย่าง LVMH บริษัทที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton, LOEWE, Rimowa, CELINE และอีกมากมายหลายแบรนด์ก็ได้ลงทุนกับพนักงานเป็นเงินจำนวนกว่า 200 ล้านยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 7 พันกว่าล้านบาท เพื่อฝึกสกิลต่างๆ ให้กับพนักงาน

ท่ามกลางปีแห่งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลก จะมีบริษัทไหนออกมาปรับลดหรือกักตุนพนักงานกันอีกบ้าง แล้วนอกจากเทคโนโลยีและรีเทล ในอนาคตเหตุการณ์นี้จะลุกลามไปยังอุตสาหกรรมอื่นอีกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป 

อ้างอิง

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like