นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Go Green Together

วิกฤตหรือโอกาส? หนทางสู่เวทีโลกของธุรกิจไทยด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำกับ KBank

ปี 2024 ถือเป็นครั้งแรกที่โลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส

ตัวเลข 1.5 ดูเป็นตัวเลขแสนน้อยนิด แต่เชื่อไหมว่าผลกระทบมหาศาล Swiss Re หนึ่งในผู้ให้บริการประกันภัยชั้นนำของโลก ยังรายงานว่าภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปี 2024 นี้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกถึง 310,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงกว่าปี 2023 ถึง 6%  

ไม่แปลกใจหากจากรายงานของ PwC จะพบว่ากว่า 46% ของผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ยั่งยืนขึ้นเพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ความแปรปรวนที่ว่าชะลอลง เรียกได้ว่าในฐานะผู้ประกอบการ นอกจากจะได้รับผลกระทบทางตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมยังได้รับผลกระทบทางอ้อม เพราะหากไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับความยั่งยืนที่ผู้บริโภคมองหาก็อาจต้องโบกมือลากันไป 

คำถามสำคัญจึงคือ ‘แล้วธุรกิจไทยจะเอาตัวรอดยังไงในสถานการณ์นี้?’ 

เพราะเข้าใจใน pain point ว่าเหล่าผู้ประกอบการหลายคนตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนธุรกิจ เพียงแต่ยังขาดองค์ความรู้และแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ ดังนั้น KBank จึงจัดงานสัมมนาเชิงลึกอย่าง Decarbonize Now ที่ในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทย transform สู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ และยืนหยัดได้อย่างยั่งยืนในเวทีโลก 

Recap ตอนนี้จึงขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงอุปสรรค โอกาส และหนทางสู่แสงสว่างในงาน Decarbonize Now ไปพร้อมๆ กัน

งาน Decarbonize Now

กุญแจมือที่หนีไม่พ้น

แรงกดดันจากผู้บริโภคน่ากลัวก็จริง แต่เชื่อไหมว่ายิ่งไปกว่าแรงกดดันนั้น ยังมีกุญแจมือที่กระชากยังไงก็ไม่อาจหลุดพ้น นั่นคือข้อกำหนดกฎหมายต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลกที่ผู้ประกอบการต้องบรรลุให้ได้ 

ต้ังแต่ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งหลายประเทศรวมถึงไทยเราเองได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันว่าจะต้องทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสให้ได้ และจะดียิ่งไปกว่านั้นถ้าทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส 

หรือจะเป็นมาตรการ ‘CBAM’ (Carbon Border Adjustment Mechanism) มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนที่สหภาพยุโรปจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง แปลว่ายิ่งคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูงเท่าไหร่ ผู้ประกอบการไทยก็ยิ่งหนาวขึ้นเท่านั้น

เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้าและเพื่อให้หลายอุตสาหกรรมยังครองแชมป์ในะดับโลกได้ ภาครัฐไทยจึงตั้งเป้า Net Zero หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2065 มาพร้อมกับ Thailand Taxonomy ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศออกมาซึ่งส่งผลกับกลุ่มธุรกิจโดยตรง เพราะเจ้า Thailand Taxonomy นี้มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อหรือรีไฟแนนซ์โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่น้อย

นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการคนไหนปรับตัวได้ก่อน ย่อมได้เปรียบในสังเวียนนี้ไม่น้อย

วิกฤตหรือโอกาส

ถึงตรงนี้ หลายคนคงเข้าใจมากขึ้นแล้วว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ยั่งยืนกับโลกยิ่งขึ้นนั้นสร้างโอกาสทางธุรกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ของธุรกิจในสายตาผู้บริโภค นักลงทุนที่ให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานตามหลัก ESG พันธมิตรทางธุรกิจจากต่างประเทศยังมีเกณฑ์ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งหากใครปรับตัวได้ก่อนก็ย่อมเป็นผู้ถูกเลือกในสมรภูมินี้

ถึงอย่างนั้น ผู้ประกอบการหลายเจ้าก็ยังไม่พร้อมลงมือเปลี่ยนแปลงด้วยปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  1. ขาดความรู้

หลายคน ‘ไม่รู้ว่าทำไมต้องทำ’ เพราะมองเพียงผลตอบแทนระยะสั้นโดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนระยะยาว แต่แม้บางคนจะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต่อความอยู่รอดของธุรกิจแต่ก็ ‘ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง’ หรือ ‘ไม่รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใด’

  1. ขาดเงินทุน

การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำยังใช้เงินลงทุนสูง ความที่ต้องใช้เงินทุนสูงนี้เองทำให้ผู้ประกอบการกลัวว่าต้นทุนในการปรับเปลี่ยนจะส่งผลให้สินค้าและบริการราคาสูงกว่าเจ้าอื่นๆ จนทำให้แข่งขันในตลาดได้ยาก  

  1. ขาดความพร้อมของเทคโนโลยี

ในบางครั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนผ่านในอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจยังไม่พร้อมใช้งาน มีความซับซ้อนในการติดตั้งและใช้งาน บ้างก็ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการเติบโต เช่น ระบบชาร์จ EV หรือระบบพลังงานหมุนเวียน

  1. ขาดเครื่องมือวิเคราะห์

การเปลี่ยนผ่านธุรกิจอย่างมีระบบและให้มั่นใจว่าจะเท่าทันมาตรการสากลยังต้องมีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์และติดตามผล เช่น การคำนวณการปล่อย GHG หรือระบบติดตามการใช้พลังงาน ตามมาด้วยการต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

ท้ายที่สุด การเปลี่ยนผ่านธุรกิจนี้เป็นเกมยาวที่ผู้ประกอบการต้องอดทนรอ นั่นนำมาสู่คำถามสำคัญที่ผู้ประกอบการหลายคนตั้งคำถามว่าถ้าไม่ได้เป็นลูกพระยานาหมื่น ไม่ได้เป็นบริษัทใหญ่โตที่มีทั้งแหล่งเงินทุนและมีทรัพยากรบุคคลพร้อมสรรพ 

เหล่าผู้ประกอบการไทยจะก้าวไปกับเทรนด์โลกนี้ได้ยังไงกัน?

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

ด้วย pain point ทั้งหมดที่ crack ออกมา งาน Decarbonize Now ที่จัดโดย KBank จึงไม่เพียงให้ความรู้  แต่ยังพาผู้ประกอบการทดลองทำจริงตั้งแต่ศูนย์ ทั้งยังมีการสาธิตการใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้คำนวณข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจตนเอง  

ในงาน Decarbonize Now นี้ยังสรุปเฟรมเวิร์ก ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการจับต้นชนปลายการเปลี่ยนผ่านธุรกิจได้ถูกว่าสเตปที่หนึ่งสู่การลดคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์นั้นต้องทำยังไง เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่ตระหนกจนเกินไป แต่ตระหนักว่าหากยังไม่พร้อม ก็เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวก่อนได้ ซึ่งเฟรมเวิร์กที่ว่าประกอบด้วย 8 สเตปหลักๆ ที่เริ่มได้ไม่ยาก ได้แก่

  1. Measure Impact วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดคือการกลับไปหาต้นตอสำคัญ สเตปแรกที่ KBank แนะนำคือ ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหน ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์อย่าง KClimate Accounting Platform ช่วยเก็บข้อมูลและคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกทำให้รู้ว่าในกระบวนการผลิตของเรา จุดไหนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ  

  1.  Define Objectives and Priorities กำหนดวัตถุประสงค์และจัดลำดับความสำคัญ

เมื่อรู้ตัวการสำคัญ จึงค่อยกลับมาตั้งเป้าหมายระยะยาวว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปเพื่ออะไร จะลดเท่าไหร่ พร้อมลำดับความสำคัญว่าควรเริ่มจัดการที่จุดไหนก่อน และอะไรค่อยทำทีหลังได้ เช่น อาจเริ่มจากการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการกับสิ่งที่เราควบคุมได้ อย่างการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างโซลาร์เซลล์ จากนั้นจึงพิจารณาสิ่งที่ต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่น อย่างการขนส่งสินค้าที่อาจทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์

  1. Assess Risks and Opportunities ประเมินความเสี่ยงและโอกาส

ในขั้นตอนนี้ องค์กรต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจ และวิเคราะห์ ‘โอกาส’ ในการสร้างความได้เปรียบในตลาด เช่น ความเสี่ยงของธุรกิจขนส่งคือการเปลี่ยนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับค่าคาร์บอนในรถยนต์ดีเซล ดังนั้นโอกาสที่อาจช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดคือการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EVs)

  1. Set Targets and Metrics ตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด

เมื่อได้เป้าหมายใหญ่ในข้อที่ 2 ทีนี้ก็ถึงตาที่จะต้องเซตเป้าหมายระยะสั้น 5-10 ปี เพื่อให้เราไม่รู้สึกท้อไปเสียก่อน นอกจากนั้นยังควรมี KPI หรือตัวชี้วัดที่จะช่วยตรวจสอบการดำเนินงานว่าเราทำได้จริงตามที่กำหนดไว้หรือเปล่า

ถ้าจะให้ดีคือควรตั้งเป้าหมายตามหลักการ Science-Based Targets Initiative (SBTi) หรืออย่างน้อยที่สุดคือการตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ  

  1. Formulate Transition Plan พัฒนากลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่าน

สเตปต่อมาคือกางแผนงานที่ตั้งไว้ในแต่ละเฟส ว่าจะต้องใช้ทรัพยากรเงิน บุคคล รวมถึงเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อให้รู้ว่าจะต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง 

  1. Engage Stakeholders สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากพาร์ตเนอร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ซัพพลายเออร์ และลูกค้า เพื่อสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนผ่าน สำหรับพนักงานอาจเริ่มจากการจัดอบรมความรู้เรื่องความยั่งยืนและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานปรับพฤติกรรม 

สำหรับซัพพลายเออร์ อาจเริ่มจากกำหนดนโยบายจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืน เช่น เลือกซัพพลายเออร์ที่มีการลดการปล่อย GHG มอบรางวัลหรือสิ่งจูงใจให้ซัพพลายเออร์ที่มีการปรับตัวเพื่อลด GHG อย่างมีนัยสำคัญ

และสำหรับลูกค้าเน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ลดการปล่อย GHG ผ่านการตลาดและการสื่อสาร ไปจนถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรีไซเคิลหรือแคมเปญลดการใช้พลังงาน

  1. Take Action and Track Progress ดำเนินการและติดตามผล

เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เริ่มดำเนินการตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้เลย! ที่สำคัญ เพื่อให้ติดตามผลการดำเนินงานได้ ต้องคอยประเมินประสิทธิภาพเทียบกับเป้าหมายเสมอๆ เช่น จัดเก็บข้อมูลการปล่อย GHG เป็นประจำ ใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการ และหากไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ต้องปรับกลยุทธ์หรือเพิ่มมาตรการ

  1. Report and Disclosure รายงานและเปิดเผยข้อมูล

เมื่อลงมือทำแล้ว ควรมีการรายงานหรือเปิดเผยข้อมูลการลด GHG อย่างสม่ำเสมอ เช่น จัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) หรือรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Footprint Report

โดยใช้มาตรฐานการรายงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล  

ผู้ประกอบการยังควรเปิดเผยข้อมูลทั้งความสำเร็จ และความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ เพื่อช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเปิดโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่และเงินทุนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ 

เชื่อว่าทั้ง 8 สเตปนี้จะช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการเห็นภาพมากขึ้นว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้คาร์บอนเป็นศูนย์นั้นควรเริ่มนับหนึ่งจากจุดไหน หากใครพร้อมแล้วก็เริ่มลงมือ และในระหว่างทาง ถ้ามีข้อสงสัยหรืออยากจะขอคำแนะนำ ธนาคารยังมีทีม Industrial Decarbonization Solution ที่ไปให้คำปรึกษาถึงที่บริษัทโดยตรง เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านสู่คาร์บอนต่ำ แต่หากใครต้องการเงินทุน การเสาะหาแหล่งเงินทุนสีเขียวจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น

หนึ่งในแหล่งเงินทุนสีเขียวที่น่าจับตาคือ สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน ของ KBank เป็นสินเชื่อที่ช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำได้ ผ่านการนำเงินจากสินเชื่อนั้นไปลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงานหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ การพัฒนาระบบทำความร้อน การจัดการกับขยะอาหาร ฯลฯ

สินเชื่อนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ลดการใช้พลังงาน บริหารจัดการต้นทุนในการลดคาร์บอนอย่างคุ้มค่า เพื่อให้สุดท้ายปลายทางสามารถรับมือกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากทั้งภาครัฐไทยและในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจโรงแรมและเฮลท์แคร์ ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ฮาร์ดแวร์ และธุรกิจแพ็กเกจจิ้งและพลาสติก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐ และได้สินเชื่อที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด 

การที่ KBank มีสินเชื่อนี้ที่ไม่เพียงให้แหล่งเงินทุนแต่ยังให้ solution และพร้อมร่วมมือไปกับกลุ่มธุรกิจ จึงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางกล้าที่จะปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน สุดท้ายปลายทางคือการช่วยสิ่งแวดล้อม และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและคว้าโอกาสธุรกิจในอนาคต

ส่วนใครที่สนใจ Go Green Together ให้ธุรกิจโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน สามารถดูรายละเอียดสินเชื่อ สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน ได้ที่ www.kasikornbank.com/k_49SknHU

อ้างอิง

Writer

พิลาทิสและแมว

You Might Also Like