นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

มิจลักนักข่าว

เมื่อแก๊งคอลเซนเตอร์ อ้างกรมที่ดินหลอกดูดเงินผู้ประกาศข่าวช่อง 3 กว่า 1 ล้านบาท

การปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์เพื่อดูดเงินออกจากบัญชีเหยื่อ สร้างความเสียหายมหาศาล นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 จนถึงปัจจุบันมีผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความจากกรมที่ดินปลอมรวมกว่า 3,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท เพราะแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกอย่างแนบเนียนด้วยการปลอมตัวเป็นหน่วยงานรัฐ และคนที่เป็นเหยื่อก็มีหลายสาขาอาชีพ

กรณีล่าสุดที่สังคมให้ความตระหนักถึงความแนบเนียนของแก๊งคอลเซนเตอร์คือ กรณีของประวีณมัย บ่ายคล้อย ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ก็ตกเป็นผู้เสียหายเช่นกัน

โดยมิจฉาชีพเข้ามาในรูปแบบของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ติดต่อเข้ามาเพื่ออัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนต้องเสียภาษีที่ดินพอดี และประจวบเหมาะกับที่ตัวผู้เสียหายเองก็ไม่มีเวลาไปจัดการเรื่องดังกล่าว จึงต้องการอัพเดตออนไลน์ ปรากฏว่าผู้เสียหายถูกหลอกให้ติดตั้งแอพฯ 

และถูกดูดเงินจากบัญชีรวมกว่า 1 ล้านบาท

มิจฉาชีพสามารถบอกข้อมูลได้หมด

“วันนึงเราได้รับสายโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่กรมที่ดินที่โทรมาบอกให้เราอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งตอนนั้นพี่อยู่บ้านและอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์พอดี เลยถามกลับไปว่าสามารถอัพเดตในคอมพ์ได้ไหม อีกฝั่งก็บอกว่าไม่ได้ ต้องทำผ่านแอพฯ เท่านั้น จึงให้เราแอดไลน์เพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่และโหลดแอพฯ ผ่านลิงก์ที่ส่งให้ หลังจากตรวจมาแล้วเราก็เช็กว่าภาพในแอพฯ กับเว็บไซต์กรมที่ดินตรงกัน หน้าตาเหมือนกัน และข้อมูลที่ปลายสายบอกก็ตรงกับที่ดินของเราจริงๆ

“จากนั้นปลายสายบอกให้เราตั้งรหัสด้วยเลขที่จำง่ายๆ ในบางช่วงก็มี process ที่เราต้องสแกนใบหน้าเพื่อยันตัวตน และยืนว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินนั้นจริงๆ ซึ่งในระหว่างติดตั้งแอพฯ เราก็คุยกับมิจฉาชีพไปด้วย

“จุดที่ทำให้เราเชื่อมากๆ คือ เขาถามว่าเรามีโฉนดอยู่กับตัวหรือเปล่า แล้วให้เช็กเลขในโฉนดว่าถูกต้องตรงกันไหม ซึ่งข้อมูลที่เขามีก็ตรงกับเรา สุดท้ายเราก็คุยกับมิจฉาชีพประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างการพูดคุยเราไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ เพราะต้องรอให้ทุกอย่างติดตั้งเสร็จก่อน จริงๆ แล้วมิจฉาชีพจะใช้เวลานี้ในการเข้าถึงแอพฯ ธนาคารทั้งหมด”

ที่น่าตกใจคือ มิจฉาชีพสามารถบอกข้อมูลได้หมดไม่ว่าเป็นเลขโฉนดที่ดิน หน้าระวาง หน้าสำรวจ เลขที่ดิน รวมถึงเนื้อที่ของที่ดินทั้งหมด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจมาจากแอพฯ LandsMaps ของกรมที่ดิน ที่เปิดให้ประชาชนดาวน์โหลดแอพฯ เพื่อตรวจสอบตำแหน่ง ภาพแปลนที่ดิน โดยระบุเลขที่โฉนดไว้ชัดเจน ทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดโดยง่าย 

และในเวลาเดียวกันผู้เสียหายได้ขอชื่อ-นามสกุลเจ้าหน้าที่ และค้นหาในอินเทอร์เน็ตพบว่ามีตัวตนจริง เป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดินในจังหวัดภูเก็ต แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพกลุ่มนี้ ทั้งนี้เมื่อดาวน์โหลดแอพฯ กรมที่ดินปลอมจะเข้าควบคุมโทรศัพท์ทันที จากนั้นจะมีข้อความว่า “ระหว่างทำการตรวจสอบห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ” ในระหว่างนั้นมิจฉาชีพจะดูดเงินผู้เสียหายจนหมดบัญชี 

เราอาจตกเป็นเหยื่อได้โดยที่เราก็รู้เล่ห์เหลี่ยมมิจฉาชีพ

“หลังจากคุยประมาณ 1 ชั่วโมง เริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติ จึงรีบวางสายทันที และพบว่าแอพฯ ธนาคารทั้งหมดในเครื่องเด้งออกมาอยู่นอกโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ เมื่อเช็กยอดเงินในแต่ละธนาคารพบว่ามิจฉาชีพดูดเงินออกไปแล้ว เมื่อดูไทม์ไลน์ของการถอนเงินพบว่าตั้งแต่ 10 นาทีแรกที่คุยเงินก็ถูกดูดไปแล้ว 1 ธนาคาร และ 10 นาทีต่อมาก็อีกหนึ่งธนาคาร ในกรณีของพี่จะมีด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นวงเงินบัตรเครดิตที่ผูกกับบัญชีธนาคาร และส่วนที่เป็นเงินฝาก มิจฉาชีพจะถอนเงินจากบัตรเครดิตและนำเงินไปฝากเข้าบัญชีเรา และถอนออกมาทั้งหมด พี่เจอแบบนี้ 2 ธนาคาร ทำให้ความเสียหายค่อนข้างเยอะ”

สำหรับความเสียหายทั้งหมดแบ่งเป็นธนาคารกรุงไทย 155,000 บาท, ธนาคารไทยพาณิชย์ มีการเบิกเงินสดจากบัตรเครดิต ยอด 49,999 บาท 4 ครั้ง รวมประมาณ 200,000 บาท และธนาคารกสิกรไทย เบิกเงินสดจากบัตรเครดิตออกมาทั้งหมด 625,000 บาท รวมถึงมีถอนเงินฝากอีก 50,000 บาท รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1,020,000 บาท

“หลังเกิดเรื่องทั้งหมดยอมรับเลยว่าช็อกจริงๆ ตัวเราเองที่อ่านข่าว รายงานข่าวเรื่องของมิจฉาชีพ คอลเซนเตอร์มาตลอด เราก็ไม่เชื่อเหมือนกันว่าตัวเองจะตกเป็นเหยื่อจริงๆ แต่สุดท้ายก็ต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพมีวิธีการที่แยบยล ตอนนั้นเราไม่มีสติ หรือไม่เอ๊ะมากพอจนทำให้เราเชื่อ” 

ความเสียหายเกิดขึ้นในลักษณะนี้ ทำให้เราตระหนักได้ว่าการปรับตัวของแก๊งคอลเซนเตอร์กลายเป็นภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัว เราอาจตกเป็นเหยื่อได้โดยที่เราก็รู้เล่ห์เหลี่ยมมิจฉาชีพมาไม่น้อย หากมองอย่างคนทั่วไป การได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถบอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของเราได้อย่างชัดเจนและถูกต้องทั้งหมด ก็คงคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินตามที่กล่าวอ้างมาจริงๆ 

จากการติดตามของตำรวจ เคสของประวีณมัยถือเป็นเคสที่มีมูลค่าความเสียหายสูง ทางตำรวจจึงมอบหมายให้ตำรวจไซเบอร์เป็นผู้ดูแลคดี ตั้งแต่สิงหาคมปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ก็มีการอัพเดตความคืบหน้ากันอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้จับบัญชีม้าที่อยู่นอกประเทศได้ 6 คน ซึ่ง 5 ใน 6 คนรับสารภาพว่าก่อเหตุจริงในรูปแบบของการเปิดบัญชีม้าเพื่อหลอกลวง ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย

คำแนะนำสำหรับผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อ

จากประสบการณ์สูญเงินครั้งนั้นทำให้ประวีณมัยเรียนรู้บทเรียนครั้งสำคัญและเดินสายให้ความรู้ แชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการรับมือกับมิจฉาชีพ ไปจนถึงขั้นตอนการแจ้งความและการคุยกับตำรวจ

และต่อไปนี้คือคำแนะนำเบื้องต้นที่เธออยากแบ่งปัน–ไม่ว่าจะเผชิญหน้ากับมิจฉาชีพรูปแบบใด

“อย่างแรกเลยคือ ต้องเอ๊ะไว้ก่อน เพราะมิจฉาชีพมีหลายรูปแบบ และเข้ามาอย่างแยบยล ทว่า สิ่งสำคัญคือการตั้งรหัส เพราะคนส่วนใหญ่จะใช้รหัสเดียวกันในทุกแอพฯ เพื่อความสะดวก และเลขชุดนี้มิจฉาชีพก็นำรหัสไปใช้กับแอพฯ อื่นๆ ได้ทันที

หรือในกรณีที่โดนหลอกแล้ว พยายามมีสติแล้วโทรหาธนาคารเพื่ออายัดบัญชีปลายทาง และนำ Case ID ไปแจ้งความเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีต่อไป ผู้เสียหายสามารถปรึกษาธนาคารได้ว่ามีมาตรการเยียวยาหรือช่วยเหลือยังไง”

สำหรับเหตุการณ์นี้ คนที่อยู่กับข่าวตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ถูกหลอก ปัจจุบันมิจฉาชีพมีหลายรูปแบบ และมิจฉาชีพที่มาในคราบของเจ้าหน้าที่รัฐมีจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกรมที่ดินที่ปรากฏเป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วงต้นปีที่ผู้คนต้องชำระภาษีที่ดิน อาคารชุด หรือการยืนยันเจ้าของกรรมสิทธิ์ หากคุณได้รับสายจากกรมที่ดิน ให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน เพราะทางกรมที่ดินไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่โทรหาประชาชน

หากคุณเจอมิจฉาชีพหลอกดูดเงิน ขอให้โทรแจ้งคอลเซนเตอร์กรมที่ดิน โทร. 02-141-5555 หรือแจ้งที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โทร. 1441

Writer

นักเขียนที่สนใจเรื่องธุรกิจ การตลาด และความเป็นไปในสังคม

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like