นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Golden Era

‘โกลเด้นรีทรีฟเวอร์’ จากหมาเหลืองตกเกรด ถูกเพาะพันธุ์ในคฤหาสน์ สู่สุนัขผู้นำการเมือง

ทุกวันนี้แทบไม่มีใครไม่รู้จักเจ้าหมาสีทองสุดแสบอย่างโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ชนิดที่ถ้าใครฝันจะมีบ้านสักหลัก มีครอบครัวเล็กๆ เชื่อว่าในภาพฝันนั้นน่าจะต้องมีเจ้าหมาสีทองนี้เป็นสมาชิกในครอบครัว  

เจ้าโกลเด้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับครัวเรือนของเรามาอย่างเนิ่นนาน ทว่าถ้าเรามองย้อนไปสัก 20-30 ปี เจ้าสี่ขาหมาน้อยประจำบ้านอาจจะยังไม่มีภาพโกลเด้นรีทรีฟเวอร์แต่เป็นภาพเยอรมันแชปเพิร์ดหรือหมาใหญ่พันธุ์อื่นๆ หลายบ้านอาจจะมีบีเกิล มีดัลเมเชียน และแน่นอน หลายยุคในบ้านขนาดย่อมลงมาหน่อย ก็มักจะเลี้ยงหมาเล็กกว่านั้นเช่นพูเดิลหรือชิห์สุ 

เจ้า ‘สุนัขสายพันธุ์ยอดนิยม’ จึงค่อนข้างสัมพันธ์กับยุคสมัย 

ถ้าเรามองช่วงเวลาของหมายอดฮิตจากการจัดอันดับของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขซึ่งเริ่มจัดอันดับสุนัขยอดฮิตพร้อมๆ กับความนิยมในการเลี้ยงสุนัขอย่างเป็นกิจจะลักษณะ มีการจัดการสายพันธุ์และการประกวด เราก็จะเห็นลำดับหมายอดนิยมซึ่งตั้งแต่ทศวรรษ 1910 เรื่อยมานั้นยังไม่มีเจ้าสุนัขกลุ่มรีทรีฟเวอร์ 

กระทั่งช่วงทศวรรษ 1990 ใกล้จะปี 2000 เจ้าโกลเด้น ถึงจะเริ่มเฉิดฉาย ด้วยขนสีทอง อุปนิสัยอันน่ารัก ใจเย็น และรักเด็กซึ่งสัมพันธ์กับการเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านโดยเฉพาะชนชั้นกลางและความฝันอเมริกันในปัจจุบัน

ถ้าเราย้อนไปอย่างเร็วๆ เราก็อาจเริ่มเห็นถึงพลังของวัฒนธรรมและบริบท ซึ่งมาสัมพันธ์กับเจ้าหมาน้อยที่เราพบได้ในบ้านเรือน เช่นในทศวรรษ 1920 สุนัขที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเยอรมันแชปเพิร์ด นอกจากแชปเพิร์ดแล้ว 

ในช่วงปี 1905-1935 ผู้ท้าชิงสำคัญคือสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้ สายพันธุ์ที่ทุกวันนี้ขึ้นชื่อว่าปัญญาอ่อนหนัก แต่ในทศวรรษดังกล่าว พวกมันมีบทบาทสำคัญในพื้นที่แถบขั้วโลกเหนือ เป็นสุดยอดเพื่อนที่ดีของมนุษย์ ในปี 1925 ถึงขนาดสร้างวีรกรรมลากเลื่อนไม่พักเพื่อนำส่งวัคซีนไปยังหมู่บ้านห่างไกล 

หลังจากนั้นนิดหน่อย ทศวรรษ 1950 เป็นเจ้าบีเกิลซึ่งมีชื่อเสียงจากสนูปปี้ สุดท้ายหนึ่งในสุนัขยอดฮิตยาวนานก็คือสุนัขพันธุ์พูเดิลซึ่งได้รับความนิยมตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ยาวมาจนถึงทศวรรษ 1980 ทำให้บ้านเราเองที่ได้รับอิทธิพลการพัฒนาจากอเมริกา เด็กเจนฯ ซี ไม่ว่าจะเป็นบ้านคนไทยหรือคนไทยเชื้อสายจีน อากงอาม่า พ่อแม่ ป้าน้าของเรามักจะมีพูเดิลเลี้ยงในบ้านเสมอ ซึ่งพูเดิลเองเป็นที่นิยมในอเมริกา มีสินค้าที่เกี่ยวข้องเช่นตุ๊กตา กล่องดนตรี

จากที่กล่าวมาอย่างยืดยาว เราจะเริ่มเห็นบริบทที่น่าสนใจว่าหมาน้อยในครัวเรือนของเรามีรายละเอียดและบริบทวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อเนื่องมาสู่ความนิยมของพวกมัน กลับไปที่เจ้าโกลเด้น ในแง่ของสายพันธุ์ โกลเด้นเป็นหมาที่แต่เดิม ‘ไม่เข้าลักษณะ’ ในกิจกรรมการเลี้ยงสุนัขซึ่งสมัยก่อนมักเลี้ยงไว้เพื่อล่าสัตว์ แต่โกลเด้นเป็นสุนัขที่มีขนสีทอง ใช้ล่าสัตว์ได้ไม่ดี แต่พวกมันก็มีคุณสมบัติที่ดีในการเป็นผู้ช่วยล่าของมนุษย์ 

แต่ทว่าเรื่องน่าสนใจของโกลเด้นคือพวกมันได้รับการเพาะพันธุ์ขึ้นในคฤหาสน์ในสกอตแลนด์ ก่อนที่จะค่อยๆ ได้รับการยอมรับและมาโด่งดังในอเมริกา เริ่มมีภาพของโกลเด้นที่สัมพันธ์กับการใช้สุนัขทางการทหาร การเป็นเพื่อนคู่กายของผู้นำประเทศ และการเป็นดาราใหญ่

คฤหาสน์ในสกอตแลนด์และหมาขนเหลืองที่ถูกทิ้ง

เวลาเราพูดถึงประวัติศาสตร์หรือที่มาโดยเฉพาะในเรื่องเล็กๆ หน่อยเช่นกิจกรรมการเลี้ยงสุนัข การพัฒนาสายพันธุ์สุนัข ในยุคเช่นร้อยปีหรือสองร้อยปีก่อน ใช้วิธีการรวบรวมหลักฐานต่างๆ ซึ่งบางส่วนเป็นเรื่องเล่า ไม่ได้มีข้อสรุปแน่นอนเป็นข้อเท็จจริง 

กรณีการพัฒนาสายพันธุ์โกลเด้นก็เช่นกัน เรื่องเล่ามาตรฐานมักจะให้เกียรติว่าเป็นผลงานของขุนนางท่านหนึ่งและการเพาะเลี้ยงขึ้นในคฤหาสน์กิซากาน (Guisachan) แปลว่าที่ของต้นเฟอร์ (the place of the firs) โดยขุนนางที่มีชื่อว่าลอร์ดทวีดเมาท์ หรือดัดลีย์ คูตส์ มาร์ชแบงก์ส (Dudley Coutts Marjoribanks) 

แต่ก่อนเชื่อว่าท่านลอร์ดซื้อสุนัขมาจากคณะละครสัตว์และประทับใจในการล่าสัตว์ของมัน ท่านลอร์ดจึงนำไปผสมกับสุนัขพันธุ์บลัดฮาวนด์ (Bloodhound) ที่มีสีทรายทำให้เป็นบรรพบุรุษของโกลเด้น 

ตำนานดังกล่าวถูกเล่าอย่างพร่าเลือนมาจนถึงทศวรรษ 1950 เรื่องราวการผสมพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ตัวแรกจึงได้รับการเปิดเผยเมื่อมีการเผยแพร่บันทึกส่วนตัวของลอร์ดทวีดเมาท์ บันทึกเล่าถึงรายละเอียดการเพาะเลี้ยงสุนัขในรายละเอียดมากขึ้นว่าลอร์ดไปได้สุนัขสีเหลืองอ่อนมาจากช่างทำรองเท้าและเพาะพันธุ์จนกลายเป็นบรรพบุรุษสีทองของโกลเด้นทั้งปวงในเวลาต่อมา

ก่อนจะเปิดบันทึก ขอเล่าถึงภาพการเลี้ยงสุนัขในฐานะกิจกรรมของผู้มีอันจะกินในปลายศตวรรษที่ 19 ในยุคนั้นผู้มีอันจะกินมีกิจกรรมยามว่างในการเพาะและพัฒนาสายพันธุ์ สำหรับคฤหาสน์กิซาเกน เป็นคฤหาสน์นอกเมืองของตระกูลมาร์ชแบงกส์ เป็นพื้นที่สำคัญในการล่ากวางและล่าสัตว์ต่างๆ การเพาะเลี้ยงสุนัขจึงมักเป็นสุนัขเพื่อการใช้งานเฉพาะซึ่งคือการพัฒนาเพื่อใช้ในการล่าสัตว์

อันที่จริง สุนัขจำนวนมากที่เรารู้จัก ในยุคเฟื่องฟูของกิจกรรมการพัฒนาสายพันธุ์ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ทั้งสิ้น แล้วแต่ว่าจะนำไปใช้ในการล่าอะไร เช่นสุนัขใหญ่จำพวกฮาวนด์ ถูกใช้ในการล่าตั้งแต่ครั้งโบราณที่พวกมันมีหน้าที่เข้าติดตามและขย้ำเหยื่อโดยตรง 

สุนัขกลุ่มรีทรีฟเวอร์หรือกลุ่มที่มีขนาดกลางลงมาค่อนข้างสัมพันธ์กับเกมการล่าที่ใช้ปืนยิง สุนัขเหล่านี้มีหน้าที่ตามกลิ่น ไล่สัตว์ และกลับไปคาบสัตว์ปีกทั้งหลายที่ถูกยิงตกแล้วกลับมาคืนเจ้านาย กระทั่งหมาน้อยขาสั้นเช่นดัชชุนก็ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อล่าสัตว์ตัวเล็กๆ ที่อยู่ตามพื้นท่ีเช่นกระต่ายป่าหรือใช้ดมกลิ่นติดตาม

สุนัขกลุ่มรีทรีฟเวอร์ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในฐานะสุนัขล่ากลุ่ม ‘กัดไม่หนัก (soft mouths)’ เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีแรงกัดปานกลาง เป็นสิ่งบ่งชี้ของการเข้าสังคม ฝึกเลี้ยงได้ จุดเด่นของสุนัขปากเบาประเภทนี้คือพฤติกรรมที่พวกมันมักจะงับ หยิบ และคาบสิ่งต่างๆ ไว้ ทำให้มนุษย์เรามาฝึกเลี้ยงเพื่อให้พวกมันไปนำสิ่งต่างๆ กลับมา ซึ่งก็สมกับชื่อกลุ่มสายพันธุ์คือ Retrieve ที่แปลว่านำกลับ ดึงกลับ ส่วนในการฝึกเลี้ยงนั้นก็นำมาซึ่งนิสัยอื่นๆ อย่างการชอบเอาอกเอาใจ ใจเย็น มีความอดทนอดกลั้นสูง เชื่อฟังคำสั่ง 

ทีนี้ กลับมาที่ลอร์ดทวีดเมาท์ บันทึกระบุว่าดัดลีย์ไปได้สุนัขรีทรีฟเวอร์สีเหลืองอ่อนมาจากช่างทำรองเท้าคนหนึ่ง ในตอนนั้นสุนัขรีทรีฟเวอร์มีการเลี้ยงและใช้ล่าสัตว์แล้ว แต่มีความเชื่อว่าสุนัขล่าสัตว์ที่ดีต้องมีสีเข้ม เช่นดำหรือน้ำตาลอมแดง อาจจะด้วยความคิดเรื่องการพรางตัวและความเชื่อต่างๆ ดังนั้น เราอาจอนุมานได้ว่า เจ้าสุนัขสีเหลืองอาจเป็นลูกสุนัขที่ถูกทิ้งขว้าง ไม่เป็นที่ต้องการ ซึ่งช่างรองเท้าก็อาจจะไปได้มาจากบ้านของผู้ดีสักคน

https://www.akc.org/expert-advice/lifestyle/7-things-you-didnt-know-about-the-american-water-spaniel/

นั่นคือจุดเริ่มตามบันทึก สุนัขสีเหลืองที่มีขนเป็นคลื่นสวยจากช่างรองเท้าได้ชื่อว่าเจ้า นูร์ (Nous) และท่านลอร์ดก็ได้นำไปผสมกับเจ้าเบล (Belle) สุนัขพันธุ์ Tweed Water Spaniel ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยลักษณะสุนัขกลุ่มสเปเนียล และการมีชื่อกลุ่ม Water เป็นสุนัขขนาดกลาง และมีคุณสมบัติว่ายน้ำเก่ง การผสมของสองสายพันธุ์ทำให้เกิดสุนัขล่าที่ทั้งมีขนเป็นคลื่นสวย ทั้งเชี่ยวชาญการล่าบนบกและในน้ำ เชื่อฟังคำสั่ง สุภาพเรียบร้อย เรียกได้ว่าครบครัน

สำหรับการสืบสายเลือดของเจ้านูร์และเบล ลูกหลานครอกแรกของพวกมันสามตัวคือครอคัส (Crocus) คาวสลิป (Cowslip) และพริมโรส (Primrose) ซึ่งถือกันว่าเป็นโกลเดนรีทรีฟเวอร์ชุดแรกของโลก

หลังจากนั้นการกระจายตัวของโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ส่วนใหญ่เป็นการที่คฤหาสน์หรือทางตระกูลมาร์ชแบงก์สส่งต่อกันในครอบครัว หรือมอบให้เป็นของขวัญ เจ้าโกลเด้นในยุคแรกๆ ถือเป็นสุนัขพิเศษของครอบครัวที่สืบทอดหรือเป็นมิตรสหายของครอบครัวชนชั้นสูง

อันที่จริง ตรงนี้ก็มีข้อเสนอเช่นว่า ประวัติศาสตร์การพัฒนาโกลเด้นอาจซับซ้อนกว่านั้น เช่นการที่ภาพพิมพ์หรือนิตยสารก่อนปี 1865 ที่บันทึกว่าได้เจ้านูส์มา มีภาพสุนัขที่หน้าตาเหมือนรีทรีฟเวอร์ หรือสุนัขสายพันธุ์ใกล้เคียงที่มีสีเหลืองแล้ว เช่นภาพพิมพ์ในพระตำหนักบาลมอรัล ซึ่งเป็นภาพสุนัขที่มีฉากหลังที่น่าจะเป็นพระราชวังวินด์เซอร์พร้อมด้วยภาพของพระนางเจ้าวิคตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ตพระสวามี 

ภาพพิมพ์เป็นสิ่งสะท้อนมิตรภาพของตระกูลมาร์ชแบงก์สและราชสำนักอังกฤษ ซึ่งตัวต้นฉบับภาพพิมพ์นั้นก็มาจากคฤหาสน์กิซากานนั่นแหละ ภาพดังกล่าวสะท้อนว่าคฤหาสน์อาจมีสุนัขสีเหลืองก่อนทศวรรษ 1840 ซึ่งก็อาจจะมีการนำมาผสมข้ามสายพันธุ์ด้วย

รวมถึงข้อสังเกตว่าในยุคนั้นมีกลุ่มสีที่เรียกว่ากลุ่มสีเหมือนตับ (liver colour) ซึ่งหมายถึงสีขนสุนัขที่หมายถึงสีน้ำตาลแบบกว้างๆ ซึ่งรวมถึงสีทองด้วย และต่อมาเจ้าสีโกลเด้นที่ว่าก็ดูจะครอบคลุมไปถึงสีเฉดออกแดง ตรงนี้ก็สัมพันธ์กับการแยกสายของลูกๆ ของเจ้านูร์ เช่น ลูกชายคนหนึ่งได้เจ้าครอคัสไป และมีสุนัขพันธุ์เซตเตอร์ (Setter) สีแดงเข้ม ซึ่งอาจอธิบายเฉดสีแดงเข้มได้ มีรุ่นหลานที่ได้ลูกๆ อีกครอกไปและนำไปเพาะพันธุ์ต่อที่ดอร์เซต (Dorset) เป็นอีกหนึ่งสายของโกลเด้นที่มีชื่อเสียง

กระทั่งการที่โกลเด้นเดินทางไปถึงอเมริกาก็สัมพันธ์กับการที่ลูกชายคนเล็กของลอร์ดชื่ออาร์ชี่ เดินทางมาตั้งถิ่นฐานทำฟาร์มที่เท็กซัส ซึ่งพาโกลเด้นน้อยมาหนึ่งตัวชื่อ ‘Sol’ มาเลี้ยงด้วย หลังจากนั้นอาร์ชี่เดินทางไปแคนาดาเพื่อรับตำแหน่งเลขานุการให้กับข้าหลวงซึ่งเป็นน้องเขย ตอนนั้นก็พาโกลเด้นเพศเมียอีกตัวไปยังแคนาดา ซึ่งสุดท้ายเจ้าโกลเด้นเพศเมียที่ชื่อเลดี้ก็กลับไปยังอังกฤษในทศวรรษ 1890 และผลิตลูกหลานต่อ

จากสุนัขขุนนาง สู่หมาที่ส่งสัญญาณในสื่อ

เจ้าโกลเด้นเริ่มกระจายตัวไปทั่วโลก มีการผลิตลูกหลาน มีฟาร์มและมีการกำหนดมาตรฐานสายพันธุ์ทั้งในอังกฤษและอเมริกาในราวทศวรรษ 1920-1930 คือได้ชื่อว่าเป็นโกลเด้นรีทรีฟเวอร์อย่างเป็นทางการ

จุดเปลี่ยนสำคัญของโกลเด้นคือเรื่องของสื่อ ในช่วงทศวรรษ 1920-1930 เป็นยุคซึ่งโลกคุกรุ่นไปด้วยสงคราม อิทธิพลหรือภาพของสุนัขในยุคนั้นสัมพันธ์กับพื้นที่ทางการทหารและการปกครอง หมาที่ได้รับความนิยมเป็นสุนัขอารักขา โดยเฉพาะเจ้าเยอรมันแชปเพิร์ดซึ่งทั้งนุ่มนวลและดุดัน ยุคหลังจากนั้นเล็กน้อยคือการมาถึงของสุนัขบ้านสำคัญคือเจ้าแลสซี่พันธุ์รัฟ คอลลี่ สุนัขดาราในหนัง Lassie Come Home เล่าเรื่องการเป็นเพื่อนคู่ใจของมนุษย์ในช่วงเวลาคับขันคือสงครามโลก

จากสุนัขสงครามและสุนัขบ้านที่จงรักภักดี สะท้อนความคิดเรื่องคุณธรรมที่สัมพันธ์กับการทหาร ในยุคสงครามเวียดนาม การใช้สุนัขรูปแบบใหม่นอกจากสุนัขอารักขา คือการใช้สุนัขประเภทตรวจสอบติดตาม (tracking dog) ซึ่งก็คือเจ้าหมาสายพันธ์ุรีทรีฟเวอร์ทั้งโกลเด้นและลาบราดอร์ ขึ้นมามีบทบาทสำคัญ และกลายเป็นสัตว์คู่ใจที่พบเห็นได้ในหน้าสื่อ

การเปลี่ยนแปลงของสุนัขใช้งานที่เพิ่มฟังก์ชั่น สอดคล้องกับอีกหลายมิติ แต่ในที่สุดในยุคสงครามเย็น ภาพของสุนัขที่อ่อนโยนขึ้น สง่างาม เป็นมิตร เชื่อฟัง ยิ่งได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายเมื่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ มีโกลเด้นและลาบราดอร์เป็นสุนัขประจำทำเนียบ

เริ่มจากเจ้าลิเบอร์ตี้ โกลเด้นคู่ใจของประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford) ในสมัยนั้นทำเนียบขาวและรัฐบาลเริ่มมีการใช้สื่อของตัวเองแล้ว ภาพของทำเนียบขาวมักปรากฏเจ้าลิเบอร์ตี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของภาพการทำงานของประธานาธิบดี เป็นส่วนหนึ่งที่มีนัยความหมายทางการเมือง ทั้งยังทำให้พื้นที่การบริหารของอเมริกาดูเป็นมิตร และตอบสนองกับมวลชนด้วย

จากยุคประธานาธิบดีฟอร์ด โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) เป็นอีกหนึ่งประธานาธิบดีที่ใช้สื่อได้อย่างทรงพลัง เรแกนเองก็มักปรากฏตัวพร้อมกับโกลเด้นและลาบราดอร์อยู่ข้างกาย หลังจากนั้นบิล คลินตัน ก็มีเจ้าสุนัขสีทองเช่นกัน ในทศวรรษ 1980-1990 สองหมาเหลืองจึงเริ่มเข้าสู่สายตาและความนิยมของผู้คน เกิดเป็นดาราฮอลลีวูด ซีรีส์ซิตคอมสุดดังคือ Full House (ปลายทศวรรษ 1980) ก็มีโกลเด้นสุดน่ารักเป็นสมาชิกในครอบครัว หลังจากนั้นก็มีหนังเป็นของตัวเองคือ Air Bud (1997)

ภาพของโกลเด้นมีความซับซ้อนซึ่งเติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กระทั่งการเมืองอเมริกาและการเมืองโลก การเติบโตของโกลเด้นสัมพันธ์กับการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลาง โกลเด้นและลาบราดอร์เป็นสุนัขกลุ่มที่ ‘ไม่กัด’ เป็นมิตร พวกมันเติบโตขึ้นพร้อมกับวิถีชีวิตของชนชั้นกลางอเมริกัน การมีบ้านขนาดกะทัดรัดในชานเมือง ความเป็นมิตร รักเด็ก ซื่อสัตย์ เชื่อฟัง ขนาดที่กำลังพอเหมาะกับครอบครัวเดี่ยว 

ความสวยงามของพวกมันเช่นท่าทาง ขนสีทองเป็นที่จับตาและใช้ในสื่อและโฆษณาจนกลายเป็นระดับไอคอนของทีวีและสื่ออเมริกัน คู่เปรียบสำคัญของโกลเด้นคือพิตบูลล์ซึ่งมีนัยทางวัฒนธรรมตรงข้ามกัน พอเทียบกันเราก็พอจะเห็นภาพมิติทางวัฒนธรรมของชนชั้นกลางที่มีระเบียบเรียบร้อยอยู่ในความฝันอเมริกันชานเมือง กับอีกยุคที่พิตบูลล์จะเป็นสัตว์เลี้ยงดุดันที่ชนชั้นกลางที่ตั้งอกตั้งใจทำงานไม่เลือกที่จะเลี้ยง

ความเฟื่องฟูขึ้นของโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ได้รับการนิยามว่าเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากในอเมริกาที่ขยายตัวมาจนถึงบ้านเราแล้ว ในพื้นที่การเมืองเช่นที่อินเดียเองประวัติศาสตร์การขยายตัวของโกลเด้นก็สัมพันธ์กับการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ 

การที่เจ้าชายและมหาราชาเริ่มเพาะพันธุ์พวกมันเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ พวกโกลเด้นที่ดินแดนภารตะได้รับคำยกย่องจากพลังงานอันเหลือล้น การไล่นกเป็ดน้ำได้อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย การวิ่งตะลุยไปในบึงโคลนได้ทั้งวันทั้งคืน ภายหลังพวกมันก็เป็นเพื่อนตัวโปรดในพื้นที่แถวหน้าทางการเมืองด้วยเช่นการเป็นสุนัขตัวโปรดของนางอินทิรา คานธี

สุดท้ายเจ้าโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ เป็นอีกหนึ่งตัวแทนหมู่บ้านจากสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนานและสอดคล้องกับบริบทในขณะนั้น จากบทบาทการร่วมไล่และล่านก เป็ด ไก่ฟ้า ถึงยุคสมัยของการทำงานในสงครามเวียดนาม และการที่ขนสีทอง ความใจดี และท่าทีภูมิฐานแต่ร่าเริงของมันกลายเป็นตัวแทนหนึ่งของบ้านและของครอบครัวอันอบอุ่นปลอดภัย

ความสำคัญของโกลเด้นจึงค่อนข้างมีความซับซ้อน และแน่นอนว่าพวกมันก็ไปสัมพันธ์กับเศรษฐกิจอีกหลายมิติ ทั้งการเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม กิจการฟาร์ม บางที่เจ้าโกลเด้นช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว พวกมันนำไปสู่การเป็นดาราหน้ากล้อง ขับเคลื่อนค่านิยมบางอย่างแบบอเมริกัน นำไปสู่การเติบโตของตลาดสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เป็นดาราโฆษณา และแน่นอน เป็นตัวแสบในบ้านที่คุณจะคิดถึงมันทุกวัน

อ้างอิงข้อมูลจาก

Writer

ชื่อว่านครับ ทำงานรับจ้างทั่วไปด้านงานเขียน ส่วนใหญ่เขียนเรื่องการเขียน การอ่าน และวัฒนธรรม เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Illustrator

ชื่อกล้วยค่ะ banana blah blah เป็นนักวาด บางวันจับเม้าส์ปากกา บางวันจับลูกกลิ้งทำภาพพิมพ์ สนใจ Art therapy และการวาดภาพเพื่อ Healing เชื่อว่าการทำงานที่ดีต้องทำให้เราอิ่มทั้งกายและใจ ได้มองเห็นตัวเองเติบโตภายใน

You Might Also Like