นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ของมัน (ไม่จำเป็น) ต้องมี

‘De-Influencing’ ขั้วตรงข้ามของ Influencer รีวิวสินค้าแบบของมัน (ไม่จำเป็น) ต้องมี

Influencer ถูกขนานนามว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ เพราะเมื่อไหร่ที่อินฟลูฯ ทั้งหลายกล่าวถึงสินค้า สาธิตการใช้งาน หรือป้ายยา ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ติดตาม จนกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนทางการตลาดที่แบรนด์สินค้าขาดไม่ได้ ทว่าการโน้มน้าวให้ซื้อสินค้าในลักษณะการรีวิว อาจเป็นการอวยหรือรีวิวเกินจริง ทั้งๆ ที่ของบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

จากรายงาน The Influencer Marketing Benchmark Report 2023 เผยว่า ในปี 2023 มูลค่าตลาดอินฟลูเอนเซอร์จะเติบโตและมีมูลค่าา 21.1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตมากกว่าปีที่แล้วกว่า 29% ที่มี 16.4 พันล้านดอลลาร์ และ 83% ขององค์กรได้เตรียมงบการตลาดสำหรับ Influencer Marketing ไว้โดยเฉพาะ และอีก 17% เป็นงบสำหรับการประชาสัมพันธ์โดยมีอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาเอี่ยวด้วย นั่นหมายความว่าในมุมของแบรนด์และองค์กรต่างๆ อินฟลูเอนเซอร์เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดอย่างแท้จริง

โดยปกติแล้ว วัฒนธรรมการรีวิวของอินฟลูเอนเซอร์มักส่งเสริมการบริโภคที่มากเกินไปไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ Overspending หรือการซื้อเกินความจำเป็น เพื่อให้ตนเองไม่ตกเทรนด์ ซึ่งเทรนด์การรีวิวนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวงการแฟชัน และความงาม เช่น แบรนด์ Shein ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ของโลกที่ปล่อยคาร์บอนออกสู่โลก 8-10% และสร้างมลพิษทางน้ำถึง 20% (ข้อมูลจาก ResearchGate) เมื่อมีการรีวิวเยอะ ย่อมทำให้เกิดการซื้อมากขึ้นตามไปด้วย สอดคล้องกับรายงานของ GWI ที่เผยว่า นับตั้งแต่ปี 2015 มีอัตราการค้นหาสินค้าบนโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 43% ดังนั้น ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะมีอินฟลูเอนเซอร์คอยกระซิบข้างหูคุณอยู่เสมอว่าควรซื้ออะไร และทำไมต้องมี

เมื่ออินฟลูเอนเซอร์เริ่มรีวิวแบบไร้ขอบเขต กล่าวชื่นชม พูดถึงข้อดี หรืออวยจนเกินความเป็นจริง ทำให้ผู้บริโภคเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นต่อนักรีวิว จึงทำให้เกิดกระแสขั้วตรงข้ามคือ ดีอินฟลูเอนเซอร์ (De-Influencing) เป็นกระแสที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียล ที่เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ต้องการปกป้องผู้ติดตามจากการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น หรือไม่คุ้มค่าเงิน คริส รูบี้ นักวิเคราะห์สังคมออนไลน์ และประธาน Ruby Media Group ได้กล่าวว่า การที่อินฟลูเอนเซอร์รีวิวแบบดึงสติให้ผู้ติดตาม เป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ทบทวนว่าจริงๆ แล้วต้องการสิ่งนี้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา

กระแสดีอินฟลูเอนเซอร์ได้รับความนิยมอย่างมากใน Instagram, TikTok และ YouTube โดยแพลตฟอร์มที่นำพากระแสนี้มาแรงที่สุดคือ TikTok ถ้าคุณเป็น TikToker สามารถเสิร์จหาวิดีโอเหล่านี้ได้ง่ายๆ ผ่านแฮชแท็ก #DeInfluencing ที่มียอดวิวกว่า 233 ล้านครั้ง แล้วจะพบวิดีโอการรีวิวสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ ไม่ควรซื้อ ซึ่งบางคลิปมียอดวิวหลายล้าน

ด้าน Michelle Skidelsky นักออกแบบและอินฟลูเอนเซอร์ชาวแคนาดา ได้แสดงความคิดเห็นกับผู้ติดตามกว่า 173,000 คนของเธอว่า ทุกคนไม่จำเป็นต้องมีเสื้อผ้าใหม่ทุกคอลเลกชัน และเสื้อผ้าเดี๋ยวนี้ก็เป็น Fash Fashion ที่มีราคาแพง ถ้าคุณจะไปเที่ยว หรือไปคอนเสิร์ต ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อชุดใหม่ทั้งหมด แค่ Mix & Match ของที่มีก็เพียงพอแล้ว

สำหรับในบ้านเรา เริ่มมีอินฟลูเอนเซอร์ที่รีวิวแบบดีอินฟลูเอนเซอร์ เช่น อายตา จากช่อง Eyeta ที่รีวิวสินค้าที่ใช้แล้วไม่ชอบ หรือการแนะนำสินค้าที่แทนกันได้ในราคาที่ถูกกว่า เป็นการรีวิวโดยเปิดโอกาสให้ผู้ติดตามได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ

กระแสเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า อินฟลูเอนเซอร์หรือครีเอเตอร์เริ่มทำคอนเทนต์ในแบบที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น ในยุคที่ต้องผู้คนต้องประหยัด การซื้อสินค้าราคาแพงอาจมากเกินความจำเป็น ดังนั้น แทนที่จะแนะนำของสินค้าหรูหรา เปลี่ยนการแนะนำสินค้าที่คล้ายกัน คุณสมบัติใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ติดตามได้ประโยชน์ที่สุด 

แม้ว่าในช่วงหลายปีมานี้ อินฟลูเอนเซอร์จะบอกเราว่า ของมันต้องมี ยังไงก็ต้องซื้อ ทำให้ผู้คนเสพติดการชอปปิ้ง และถือคติว่าของมันต้องมี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนซื้อสินค้าตาม แม้ว่าจริงๆ แล้วพวกเขาแค่รับเงินมาเพื่อกล่าวชมสินค้าโดยไม่ได้ใช้จริง 

จากกระแส #DeInfluencing ที่เกิดขึ้น ทำให้ตอนนี้ผู้บริโภคตื่นตัวกับคอนเทนต์ที่รับชมมากขึ้น มีการคิดไตร่ตรอง ตั้งสติก่อนตัดสินใจซื้อ และการที่อินฟลูเอนเซอร์รีวิวตามกระแสดีอินฟลูเอนเซอร์ ก็ไม่ได้หมายความว่ายุคของอินฟลูเอนเซอร์สิ้นสุดลง หรือเป็นจุดจบของอุตสาหกรรมอินฟลูเอนเซอร์ แต่เป็นเพียงการรีวิวสินค้าในอีกเวอร์ชันหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ในฝั่งของอินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าจะรีวิวเรื่องไหนก็ตาม ความจริงใจ ความไว้วางใจ เป็นสิ่งสำคัญที่จะมอบให้แก่ผู้บริโภค

อ้างอิงข้องมูลจาก

Writer

นักเขียนที่สนใจเรื่องธุรกิจ การตลาด และความเป็นไปในสังคม

You Might Also Like