นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

157
January 27, 2025

GOOD INFLUENCER

ธุรกิจที่เกิดจากเหล่าผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ ที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลง ผ่านการนำธุรกิจมาขับเคลื่อนสังคมในหลากหลายมิติ

ย้อนไปเดือนนี้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เราตั้งคำถามกับ 100 ผู้ประกอบการและตัวแทนของธุรกิจต่างๆ ว่า ‘อะไรคือทุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจที่คุณทำเติบโตมาจนถึงวันนี้’ ก่อนจะค้นพบว่าท่ามกลางคำตอบมากมาย แต่ละธุรกิจมีสิ่งที่ให้คุณค่าแตกต่างกันออกไป ไม่แน่ว่าคำตอบเหล่านั้นอาจกลายไปเป็นทุนสำคัญของธุรกิจอื่นๆ อีกต่อไป

จวบจนปัจจุบัน Capital เดินทางมาถึงขวบปีที่ 3 ผ่านการนำพาความตั้งใจที่อยากบอกเล่าเรื่องราวในโลกธุรกิจอย่างเป็นมิตรด้วยวิธีการที่หลากหลายและสร้างสรรค์ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ‘better business for good life’ เราขอเฉลิมฉลองช่วงเวลาสุดแสนพิเศษนี้ ผ่านการเชิดชูธุรกิจที่น่าจับตามองแห่งปีและทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นในหลากหลายมิติ

ผ่าน ‘CAPITAL40: 40 Businesses to Watch in 2025’  ที่พวกเราตั้งใจส่องไฟไปยัง 40 ธุรกิจที่ล้วนแล้วแต่มีผลงานอันโดดเด่นและเต็มไปด้วยวิสัยทัศน์ล้ำหน้า พร้อมพาไปดูว่าพวกเขาจะสร้างกระแสใหม่และเปิดขอบเขตความเป็นไปได้ของอนาคตได้ยังไง?

ไม่แน่ว่า 40 ธุรกิจนี้อาจเป็นแบรนด์ที่คุณหลงรัก อยากเปิดใจอยากทำความรู้จัก ไปจนถึงสร้างแรงบันดาลใจ เติมไฟให้คนทำธุรกิจ หรือชวนให้กลับมาขบคิดถึงแนวทางการทำธุรกิจตลอดปี 2025

เขื่อน–ภัทรดนัย เสตสุวรรณ

JOODPAKJAI : THE EMOTIONAL HEALER
JOODPAKJAI พื้นที่ชุบชูใจในวันที่ใจต้องการพักผ่อนของ เขื่อน–ภัทรดนัย เสตสุวรรณ

WHAT HAPPENED : 

ร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยก็ยังต้องการพัก ไม่ต่างอะไรกับจิตใจที่อ่อนล้าก็ต้องการจุดพักใจ เขื่อน–ภัทรดนัย เสตสุวรรณ หรือที่รู้จักกันเมื่อก่อนในชื่อเขื่อน K-OTIC ปัจจุบันถ้าพูดถึงเขาเรื่องของ mental health ก็จะลอยขึ้นมา เพราะเขื่อนมักจะสื่อสารผ่านโลกโซเชียลเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจที่ชวนให้ฉุดคิดเสมอ ก่อนที่เขาจะทำโปรเจกต์ ‘JOODPAKJAI’ ที่จะนำป้ายไปตั้งตามจุดต่างๆ แบบไม่แจ้งสถานที่ล่วงหน้า แล้วให้คนที่ผ่านไปผ่านมาเข้ามาสนทนาอะไรกับเขาก็ได้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยเขาจะรับฟังอย่างจริงจัง ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังขาดพื้นที่ปลอดภัยไว้ฮีลใจ จึงได้ต่อยอดเป็นครีเอทีฟสเปซในชื่อเดียวกัน อยู่บริเวณช้างม่อย จังหวัดเชียงใหม่ เมืองที่เต็มไปด้วยความสงบร่มเย็น โดยภายในพื้นที่แห่งนี้จะมีทั้งคาเฟ่ บาร์ นิทรรศการ และพื้นที่ให้คนมาจัดเวิร์กช็อปได้ฟรี เพื่อให้คนที่รู้สึกว่าวันไหนที่ต้องการการชุบชูใจ ก็สามารถมาพักใจที่นี่ได้เสมอ

WHAT’S NEXT : 

เขื่อนไม่อยากแค่ให้คนนึกถึง JOODPAKJAI แล้วนึกถึงเขาเสมอไป แต่อยากให้นึกถึงสเปซที่ใครก็สามารถมาเยียวยาจิตใจได้เสมอ และขยายให้ผู้คนได้มีพื้นที่ตรงนี้ครบทุกภูมิภาค พื้นที่ต่อไปอาจจะเป็นที่ภาคใต้ เพื่อให้รูปแบบของธุรกิจยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการอยากให้ประเทศไทยมีครีเอทีฟสเปซที่ช่วยฮีลใจผู้คน เพราะเขาเชื่อว่าพื้นที่ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องสร้างไปด้วยกัน ไม่ใช่เกิดแค่จากคนใดคนหนึ่ง

WHAT’S PRAISEWORTHY :

– Passion ทำในสิ่งที่เชื่อและเชื่อในสิ่งที่ทำ แล้วจะมีพลังทำมันได้อย่างยั่งยืน

– Comfort Space พื้นที่ปลอดภัยของคนอยากพักฮีลใจ ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ และเปิดให้คนมีอุดมการณ์เดียวกันมาใช้พื้นที่จัดกิจกรรมได้ฟรี

– Inspiration ไม่ใช่แค่มีแรงบันดาลใจในการทำ แต่ทำเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้ประเทศไทยได้มีพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น

TARA กรุณา บัวคำศรี

TARA : THE CHANGEMAKERS
TARA แบรนด์ที่กรุณา บัวคำศรี อยากใช้สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ของให้คุ้มค่า

WHAT HAPPENED : 

กรุณา บัวคำศรี เป็นที่รู้จักในฐานะนักข่าวอิสระที่บุกน้ำลุยไฟไปทำข่าวมารอบโลก และในปีที่ผ่านมาเธอกำลังสวมหมวกอีกใบในฐานะผู้ก่อตั้ง ‘TARA’ แบรนด์สินค้าที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรอบคอบและรบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยเชื่อว่าทรัพยากรที่คุ้มค่าไม่ได้แปลว่าเราต้องรีไซเคิลอย่างเดียว แต่หมายถึงการใช้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นกับชีวิต สินค้าของแบรนด์จึงมีทั้งเสื้อผ้าจากผ้าเดดสต็อก ซึ่งเป็นผ้าที่เหลือจากอุตสาหกรรมแฟชั่น และของใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแชมพูและสบู่ที่ไม่มีสารทำลายปะการังหรือน้ำ ไปพร้อมๆ กับการสื่อสารให้คนตระหนักรู้เรื่องการใช้ทรัพยากรโลกอย่างรอบคอบและคุ้มค่า ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบอย่างใส่ใจ และกำไรบางส่วนจะถูกใช้ทำสารคดีตีแผ่เรื่องโลกร้อนต่อไป

WHAT’S NEXT :

ถึงแม้ TARA จะไม่ได้เปลี่ยนโลกในทันที แต่กรุณาคิดว่าสิ่งนี้สามารถสร้างแรงกระเพื่อมบางอย่างได้ เธอจึงอยากเพิ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ Clean Beauty ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่อันตรายต่อผิวและไม่เป็นภัยต่อโลก เช่น ครีมกันแดดที่ไม่ทำลายประการังและจริงจังเรื่องสาร 10 ตัวที่สหภาพยุโรปห้ามใช้ และน่าจับตามองว่านอกจากสินค้าใหม่ๆ ที่จะออกมาแล้ว จะมีสารคดีเรื่องโลกร้อนและความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมอะไรจากกรุณาและ TARA ออกมาให้ได้ชม

WHAT’S PRAISEWORTHY :

– Believe เชื่อในสิ่งที่ทำและทำในสิ่งที่เชื่อ พอรู้สึกสบายใจจะไม่อิหลักอิเหลื่อที่จะทำมัน

– Business Philosophy ปรัชญาการทำธุรกิจเป็นเข็มทิศที่ทำให้ไม่หลงทางว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

– Slow Fashion สินค้าแฟชั่นที่คิดอย่างรอบคอบตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงใช้ในชีวิตประจำวันได้นาน

give me museum

give.me.museums : THE ARTFUL EVERYDAY
วาดลวดลายงานศิลป์ให้เบลนด์อินไลฟ์สไตล์ในแบบของ give.me.museums

WHAT HAPPENED : 

ภาพจำงานศิลปะสมัยก่อนคงเป็นผลงานที่มีไว้จัดแสดงในแกลเลอรีหรือผลงานสะสมไว้เชยชมของคนเฉพาะกลุ่ม แต่สำหรับ ออย–คนธรัตน์ เตชะไตรศร เธออยากให้ทุกคนเข้าถึงงานศิลปะได้ทุกวัน ผ่านของใช้ในชีวิตประจำวัน ออยจึงสร้างผลงานในชื่อ ‘give.me.museums’ และทรีตสิ่งนี้ว่าเป็นแบรนด์แบรนด์หนึ่ง โดยนำความคิดสร้างสรรค์มาผสมผสานกับการทำการตลาดที่ดี และนำผลงานทั้งหมดที่เป็นลายเส้นของเธอทั้งภาพดอกไม้ ภาพแลนด์สเคป ภาพตัวการ์ตูนโดยเฉพาะคาแร็กเตอร์เด่นอย่างเด็กผู้หญิงผมแดง ให้มาอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ พร้อมคอลแล็บกับหลากธุรกิจ อย่าง ปีที่ผ่านมาก็มีโปรเจกต์ใหญ่อย่าง TUBA Random Museum เนรมิตร้าน TUBA ให้กลายเป็นพื้นที่โชว์งานศิลปะขนาดย่อมแบบที่คนสามารถไปจับต้องผลงานได้ และครีเอตออกมาเป็นเมนูพิเศษเสมือนงานศิลปะที่กินได้ ไปจนถึงการคอลแล็บร่วมกับ Papaya Studio ทำเก้าอี้คอลเลกชั่นพิเศษ

WHAT’S NEXT :

ที่ผ่านมาเราจะเห็นผลงานของ give.me.museums กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของของใช้ส่วนตัวในชีวิตประจำวันของใครหลายคน เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ไปจนถึงของตกแต่งบ้าน ทั้งจากสินค้าที่ออยผลิตและขายในช่องทางของแบรนด์เอง ไปจนถึงการคอลแล็บกับแบรนด์ต่างๆ ในปี 2025 เป็นที่น่าจับตาต่อไปจะมีสินค้าประเภทไหนให้เธอได้ไปวาดลายลายฝากผลงานไว้อีกบ้าง รวมไปถึงการจัดแสดงผลงานที่คงคอนเซปต์เข้าถึงง่าย เป็นงานศิลปะที่จับต้องได้จริง และออยมองอนาคตของแบรนด์ไว้ว่าอยากให้เป็นพื้นที่สำหรับคนที่ชอบหรือสนใจศิลปะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากกว่าการเป็นแบรนด์ขายสินค้า เพื่อสร้างพื้นที่ศิลปะในไทยที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้

WHAT’S PRAISEWORTHY :

– Commercial Art ทรีตให้เป็นแบรนด์แบรนด์หนึ่งที่มีกลยุทธ์การตลาด รู้ว่าจะทำสินค้าอะไร และทำเพื่อขายใคร

– Connection with Lifestyle ทำให้ศิลปะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ผ่านสินค้าที่คนหยิบมาใช้ได้ทุกวัน

– Creative Marketing ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านการคอลแล็บร่วมกับแบรนด์หลากประเภท ไปจนถึงคาเฟ่และร้านอาหาร

อาหารปันรัก

อาหารปันรัก : THE SEA WARRIOR
พาทัวร์ล่องเลกับนักรบผ้าถุงที่รักษาทะเลจะนะด้วยหัวใจผู้กล้า

WHAT HAPPENED :

‘อาหารปันรัก’ คือธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่ม ‘นักรบผ้าถุง’ แห่งทะเลจะนะ จังหวัดสงขลาที่ทำธุรกิจมาหลักสิบปีด้วยการนำเสนอสินค้าอาหารทะเลพร้อมบริการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมซึ่งทำให้เห็นว่าจะนะเป็นสวรรค์ของอาหารซีฟู้ด ที่ผ่านมาชุมชนจัดทัวร์ในหลายอำเภอของสงขลาโดยปีที่ผ่านมามีการรีแบรนด์และออกแบบประสบการณ์ทัวร์ใหม่ในชื่อ ‘ทัวร์ลาต๊ะ’ ซึ่งแปลว่ากินเล่นจากการจัดทัวร์กินในตำบลสะกอม โปรแกรมทัวร์มีทั้งทานอาหารทะเลสดแบบปิ้งย่างเองริมทะเล ทานอาหารทะเลแบบฟิวชั่น ทานอาหารฝีมือแม่รสชาติท้องถิ่นตามบ้านชุมชน และล่องทะเลกินสำรับเดียวกับชาวประมง นอกจากชูจุดเด่นและเรื่องราวของอาหารแล้ว ยังมีการเล่าเรื่องราวของภาษาสะกอมและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเข้าใจง่ายผ่านการออกแบบกราฟิก สื่อวิดิโอสร้างสรรค์ และเวิร์กช็อปทำของที่ระลึก พร้อมยังออกแบบประสบการณ์ที่อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปจองทัวร์ได้ง่ายขึ้นผ่านสื่อออนไลน์ในเพจของอาหารปันรัก

WHAT’S NEXT :

ทัวร์ท่องเที่ยวของ ‘อาหารปันรัก’ ไม่ใช่แค่แหล่งสร้างรายได้ให้ชุมชนและกิจกรรมทัวร์แต่ยังเป็นการปกป้องทะเลจะนะทั้งในแง่แหล่งอุดมสมบูรณ์ทางอาหารทะเลและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวเล อนุรักษ์กุ้งเนื้อนุ่มแน่น หวาน และปลา ปู หอยสดๆ ให้อิ่มหนำสำราญกันต่อไป ที่มาของชื่อ ‘นักรบผ้าถุง’ กลุ่มผู้ทำอาหารปันรักยังมาจากการที่แม่บ้านในชุมชนรวมตัวกันผนึกกำลังปกป้องทะเลจากโครงการนิคมอุตสาหกรรม ดังนั้นการทำธุรกิจทัวร์วิถีชุมชนจึงเป็นความกล้าหาญในการปกป้องรักษาวิถีประมงพื้นบ้านเอาไว้ โดยเบื้องหลังการออกแบบทัวร์ลาต๊ะที่ผ่านมาเป็นไอเดียสร้างสรรค์ที่ทำร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและครีเอเตอร์คนรุ่นใหม่ที่ประทับใจในเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของสะกอมจนอยากเล่าเรื่องสิ่งเล็กๆ น้อยนิดมหาศาลที่ดีต่อใจให้ผู้คนภายนอกรับรู้ว่าจะนะมีเสน่ห์

WHAT’S PRAISEWORTHY :

– Brave Spirit จิตวิญญาณผู้กล้าที่อยากปกป้องรักษาทะเลจะนะไว้ทำให้ทำธุรกิจเพื่อสังคมอย่างอาหารปันรักต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี

– Local Life การรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมและรู้จักดึงมูลค่าท้องถิ่นออกมาทำให้เกิดจุดขาย

– Community Bonding ความร่วมมือร่วมใจและสามัคคีของชุมชนทำให้มีบรรยากาศอบอุ่นและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าต้อนรับ

สำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบาง

สำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบาง : THE HOPEFUL
สำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบางที่พลอย–สโรชา กิตติสิริพันธุ์ อยากจุดประกายความหวังให้โบยบิน

WHAT HAPPENED : 

งานเขียนเป็นหนึ่งในวิธีที่ถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดได้ดี นี่คือความเชื่อของ พลอย–สโรชา กิตติสิริพันธุ์ หญิงสาวที่แม้จะสูญเสียโอกาสในการมองเห็นมาตั้งแต่เด็ก แต่เธอก็อยากสร้างโอกาสและความหวังให้ผู้คน ผ่านการก่อตั้ง ‘สำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบาง’ ที่ตีพิมพ์ผลงานของผู้พิการและต้องเป็นเรื่องราวที่จรรโลงใจ เพราะเธอเชื่อว่าผู้พิการแต่ละคนมีเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิดที่อยากสื่อสาร และการสื่อสารนี้คือพลังในการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง อย่างน้อยๆ ถ้าคนพิการได้อ่านหนังสือเยอะ เขาก็จะมีพื้นฐานของภาษาไปใช้สื่อสารได้ดี เพิ่มโอกาสในการทำงาน และอีกมิติหนึ่งคือเป็นการเติมเต็มระยะห่างระห่างผู้พิการและไม่พิการให้เข้าใจกันและอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียม

WHAT’S NEXT :

พลอยไม่ได้อยากให้ผีเสื้อปีกบางเป็นเพียงสำนักพิมพ์ แต่เธออยากให้เป็นคอมมิวนิตี้ที่ผู้พิการสามารถมาถ่ายทอดความรู้สึกได้อย่างเต็มที่ พร้อมผลักดันศักยภาพของผู้พิการทางสายตาไปไกลมากกว่าหนังสือ นั่นคือการออกแบบสินค้าไม่จำกัดรูปแบบโดยคำนึงถึงผู้พิการทางสายตาเป็นศูนย์กลาง และนำอักษรเบรลล์ที่เป็นรากฐานการฝึกอ่านมาใช้ในการสื่อสารเรื่องของคนพิการให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ เช่น ทำที่คั่นหนังสืออักษรเบรลล์ให้แก่คนที่สั่งซื้อหนังสือ จัดเวิร์กช็อปสอนอ่านอักษรเบรลล์ ไปจนถึงในอนาคตอาจมีสินค้าพรีเมียมและของที่ระลึกอื่นๆ ที่ใช้อักษรเบรลล์หลากหลายแบบ ไปจนถึงนำผลงานสร้างสรรค์ของผู้พิการทางสายตามาใช้ตลอดกระบวนการทำหนังสืออย่างภาพประกอบในเล่มก็เป็นได้ หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงคงเปิดมิติใหม่ในวงการสิ่งพิมพ์ที่น่าสนใจไม่น้อย

WHAT’S PRAISEWORTHY :

– Opportunity เปิดประตูสู่โอกาสให้ผู้พิการได้มีพื้นที่แสดงออกทางความคิดผ่านงานเขียน

– Equality สร้างสังคมที่เท่าเทียม ผ่านเรื่องราวที่ผู้พิการอยากเล่าเพื่อย่นระยะห่างระหว่างผู้พิการและไม่พิการ

– Diversity หนังสือที่เขียนโดยผู้พิการทางสายตาเข้ามาเสริมความหลากหลายในวงการสิ่งพิมพ์ ทั้งในมิติของความคิดและมุมมอง

Gluta Story

Gluta Story : THE PAWSITIVE CHANGE
ชุบชีวิตหมาจรผ่าน Gluta Story ที่ยอร์ช–สรศาสตร์ วิเศษสินธุ์ ใช้ขับเคลื่อนสังคมสัตว์เลี้ยง

WHAT HAPPENED : 

ต่อให้ไม่ว่าจะเป็นทาสหมาหรือไม่ก็ตามเชื่อว่า ‘Gluta Story’ คงเข้าไปยึดพื้นที่ในใจใครหลายคนไม่มากก็น้อย จากการที่ ยอร์ช–สรศาสตร์ วิเศษสินธุ์ ได้บอกเล่าเรื่องราวของกลูต้า หมาจรจัดที่หลงมาหลังน้ำท่วม และทำคอนเทนต์เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้คนหันมาเลี้ยงหมาจรจัดและมองว่าหมาพันทางและสัตว์ที่พิการก็สมควรได้รับความรักไม่แพ้พันธุ์ไหนๆ พร้อมสร้างคอมมิวนิตี้ในโลกออนไลน์อย่าง Gluta Story Club ให้แฟนๆ ได้มาอวดความน่ารักของน้องหมา และคอมมิวนิตี้ในโลกออฟไลน์อย่างงานเปิดโกดัง Gluta Story ที่จัดต่อเนื่องมา 3 ปีซ้อน เพื่อให้เป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์ของคนรักสัตว์ และเป็นการส่งเสริมให้คนหันมาสนใจและดูแลสัตว์มากยิ่งขึ้น

WHAT’S NEXT :

สิ่งที่ยอร์ชทำได้สร้างแรงกระเพื่อมให้คนตระหนักรู้เรื่องการเลี้ยงหมาจรจัดแล้ว ก้าวต่อไปเขาตั้งใจเปลี่ยนในเชิงพฤติกรรมผ่านการให้ยูทูบเบอร์คนอื่นๆ มาช่วยหาบ้านให้น้องหมาจร ไปจนถึงต่อยอดรายการใหม่พาคนไปทำความรู้จักอาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ สิ่งที่เขาทำยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเป็นมิติที่ใหญ่ขึ้นและหวังว่าคนอื่นๆ ก็จะสามารถเป็นกระบอกเสียงต่อๆ กันไป เพื่อให้คอมมิวนิตี้นี้ไม่ใช่แค่คนรักหมา ต่อเป็นคนรักสัตว์ทุกประเภท ตามความเชื่อของยอร์ชที่ว่าสัตว์ทุกตัวบนโลกควรค่าแก่การได้รับความรัก

WHAT’S PRAISEWORTHY :

– Inspiration ส่งต่อแรงบัลดาลใจให้คนรักสัตว์หันมาดูแลสัตว์จรจัดกันมากขึ้น

– Pet Club สร้างคลับคนรักสัตว์ทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อช่วยกันขับมุมมองที่มีต่อสัตว์ ว่าต่อให้ไม่น่ารักตามพิมพ์นิยมหรือพิการ ก็สมควรได้รับความรัก

– Social Media Impact ใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการตระหนักรู้และเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมในการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ

You Might Also Like