นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

‘Beauty Coral Rescue’ เมื่อปะการังฟอกขาวขึ้นทุกวัน ภาครัฐและเอกชนจะทำยังไงได้บ้าง

นอกจากพิษฝุ่น PM2.5 และอุณหภูมิร้อนทะลุปรอทแตก อีกหนึ่งผลพวงจากวิกฤตโลกเดือดที่กำลังน่าเป็นห่วงคงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ปะการังฟอกขาว’ (coral bleaching) ปัญหาที่เสี่ยงต่อความเป็นอยู่ของระบบนิเวศใต้มหาสมุทรโดยตรง

ปลาการ์ตูนสีสันสดใส หอยและหมึกนานาชนิด ดอกไม้ทะเล ไปจนถึงฟองน้ำหน้าตาพิลึก สิ่งมีชีวิตเหล่านี้กว่าร้อยละ 25 ล้วนพึ่งพิงแนวปะการังเป็นแหล่งอาศัย ปะการังยังทำหน้าที่เป็น ‘ป่าฝนแห่งท้องทะเล’ เพราะสามารถดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ประสิทธิภาพสูงกว่าป่าไม้บนผืนดินมากกว่า 10 เท่า แต่เมื่อน้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ปะการังจึงค่อยเปลี่ยนเป็นสีขาว และล้มตายในที่สุด

แม้สาเหตุที่แนวปะการังถูกทำลายจะมาจากอุณหภูมิโลกที่ผิดเพี้ยน แต่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า รากเหง้าของปัญหาทั้งหมดทั้งมวล มนุษย์เองก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย ทั้งจากการทำประมงด้วยวิธีลากอวน แหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างก๊าซเรือนกระจกอยู่ตลอดเวลา ไปจนถึงเศษขยะ เศษพลาสติก น้ำเสีย และสารเคมีเจือปนที่มาจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

แต่ในเรื่องร้ายใช่ว่าจะไม่มีเรื่องดีให้เห็นเลย เมื่อกลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มเล็งเห็นถึงปัญหาปะการังฟอกขาว พลันตัดสินใจเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเดิมที่เคยทำมา ยกตัวอย่างในปี 2565 กับกรณีของ ‘MISTINE’ แบรนด์เครื่องสำอางระดับตำนาน ที่ตัดสินใจประกาศยกเลิกใช้สารเคมี 4 ชนิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของปะการังโดยตรง ยามนักท่องเที่ยวใช้ทาก่อนลงทำกิจกรรมในทะเล ได้แก่ สาร Oxybenzone (Benzophenone-3 หรือ BP-3), สาร Octinoxate (Ethylhexyl Methoxycinnamate), สาร 4-Methylbenzylidene Camphor (4-MBC) และสาร Butylparaben 

เวลาต่อมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ได้ประกาศสั่งห้ามนำเข้าและใช้ครีมกันแดดผสมสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง บริเวณอุทยานแห่งชาติทางทะเลจำนวน 26 แห่ง แม้ประกาศดังกล่าวจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก เพราะหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ปาเลา อารูบา ออสเตรเลีย และเกาะบอร์เนียว ก็เป็นประเทศต้นๆ ที่ประกาศห้ามนำเข้าครีมกันแดดที่มีสารเป็นอันตรายต่อปะการัง ทว่านี่เป็น ‘กระดุมเม็ดแรก’ ที่ถูกติดได้ทันท่วงที ก่อนวิกฤตปะการังฟอกขาวในประเทศไทยจะลุกลามจนสายเกินแก้

ที่น่าสนใจ คือ MISTINE ยังรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพของแนวปะการังอย่างต่อเนื่อง เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ได้ร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อลงพื้นที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต และเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่กำลังเผชิญปัญหาปะการังฟอกขาว รวมไปถึงเศษขยะบนชายหาด เพื่อรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ถึงผลเสียจากการใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีเป็นอันตรายต่อปะการัง 

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำควบคู่ต่อเนื่องไปพร้อมกับการรณรงค์ นั่นคือการ ‘ฟื้นฟู’ แก่แนวปะการังที่เสียหายให้กลับคืนธรรมชาติอีกครั้ง ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบ่งวิธีการฟื้นฟูออกเป็น 3 ข้อใหญ่ 

  1. การฟื้นฟูโครงสร้างทางกายภาพ–ปรับปรุงคุณภาพของสภาพแวดล้อมรอบๆ แนวปะการัง เช่น การกำจัดมลพิษ การลดปริมาณตะกอน การฟื้นฟูแนวชายฝั่ง และการอนุรักษ์พื้นที่ปะการัง
  2. การขยายพันธุ์ปะการัง–เพาะเลี้ยงปะการังในสถานที่ควบคุมและนำกลับคืนสู่แนวปะการัง วิธีการขยายพันธุ์ปะการัง ได้แก่ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการขยายพันธุ์แบบพันธุวิศวกรรม
  3. ปกป้องปะการัง–เป็นการปกป้องปะการังจากภัยคุกคามต่างๆ เช่น การทำประมง การท่องเที่ยว และภัยพิบัติทางธรรมชาติ

หากเป้าหมายที่กล่าวมานี้ทำได้จริง ทรัพยากรแนวปะการังในประเทศไทย น่าจะสามารถฟื้นตัวและแตกหน่อแพร่ขยายใหม่ได้อย่างเต็มที่ และนำไปสู่การสร้างสมดุลธรรมทางทะเลได้อีกครั้ง

แม้เรื่องราวทั้งหมดจะเล่าถึงปัญหาและการฟื้นฟูปะการัง แต่แก่นแท้จริงที่ต้องการสื่อสารออกไป คือเรื่อง ‘จิตสำนึก’ ในการทำธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ควรคำนึงถึงมูลค่าทางธรรมชาติ มากกว่าแค่มูลค่าทางกำไร เพราะธรรมชาติเมื่อถูกพรากไปครั้งหนึ่งแล้วก็อยากที่จะนำกลับมาใหม่

แม้แต่ตัวเราเองก็ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทุกวันนี้เราคำนึงถึงธรรมชาติมากพอแล้วหรือยัง?

Writer

นักเขียนผู้หลงใหลโลกของฟุตบอล สนีกเกอร์ และกันพลา

You Might Also Like