‘Sustainable Nation’ ภารกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศโดย AIS จากงาน The Next Evolution

หากย้อนไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในบ้านเราอยู่ในช่วงขาขึ้น ทั้งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีจาก 3G สู่ 4G และมาถึง 5G ในทุกวันนี้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ามหาศาล และมีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรในประเทศด้วยซ้ำ 

ท่ามกลางความท้าทายในการดำเนินธุรกิจตลอดปี 2566 การแข่งขันของตลาดมีหลายปัจจัยที่เข้ามาสุมไฟให้มีความดุเดือดมากขึ้น ทั้งเรื่องสงคราม เงินเฟ้อ การปิดกั้นการค้าระหว่างประเทศ ปัญหาพลังงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างล้วนส่งผลต่อต้นทุนและกำลังซื้อของผู้บริโภค 

AIS ในฐานะของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมอันดับต้นๆ ของประเทศก็เผชิญกับความท้าทายเหล่านี้เช่นกัน 

ภายในงาน ‘The Next Evolution’ งานแถลงยุทธศาสตร์การเติบโตครั้งใหม่ของ AIS ทีมผู้บริหารได้ประกาศยุทธศาสตร์เพื่อก้าวสู่ความท้าทาย และสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้น โดย คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “สิ่งที่ AIS เชื่อมั่นเสมอมาก็คือ โครงข่ายโทรคมนาคมไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียง dumb pipe หรือท่อส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถยกระดับเพิ่มความอัจฉริยะและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ใช้งานได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และ AIS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศจะทำอะไรได้บ้าง”

ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ AIS ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บทบาทหลักไม่ใช่แค่การมอบบริการ สินค้า นวัตกรรม และดูแลลูกค้า แต่ยังมีภารกิจในการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Sustainable Nation ที่มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ประเทศบน Ecosystem Economy ทั้งผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่หายไปและอาจดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ แต่ AIS ยังเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีแนวคิดการทำธุรกิจควบคู่กับการทำเพื่อสังคม ผู้คน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ภารกิจ Sustainable Nation ที่สร้างความยั่งยืนของประเทศไทย ที่ประกอบไปด้วย 3 แกนหลัก

‘Intelligence Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล’

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘ความยั่งยืน’ อีกคำที่ลืมไม่ได้คือ ‘โครงสร้างพื้นฐาน’ ซึ่งถือเป็นรากสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน AIS จึงเลือกที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว และตอบสนองความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและข้อมูลต่างๆ 

โดย AIS ได้ลงทุนเรื่องโครงข่ายเน็ตเวิร์กและนวัตกรรม ตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G โดยร่วมมือกับเครือข่าย NT (Nation Telecom) บนคลื่นสัญญาณ 700 MHz เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ 

สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับที่อยู่อาศัยโครงข่ายไฟเบอร์ AIS ได้ร่วมมือกับ 3BB เพื่อให้เข้าถึงและครอบคลุมผู้ใช้งานกว่า 13 ล้านครัวเรือน และเปิดตัวเทคโนโลยี WiFi 7 เป็นรายแรกในไทย ร่วมกับ TP-Line เราเตอร์มาตรฐานที่รองรับการใช้งานหลายดีไวซ์ ลดปัญหาช่องสัญญาณที่แออัด จึงตอบโจทย์การใช้งานในบ้านได้ดี

‘Cross Industry Collaboration การร่วมมือข้ามแพลตฟอร์ม’

หนึ่งในกลยุทธ์ที่ AIS ใช้เพื่อสร้างความแตกต่างส่วนใหญ่มักเกิดจากการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน อาทิ แพลตฟอร์ม CPaaS (Communication Platform as a Service) เครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสื่อสารแบบเรียลไทม์ได้ ทั้งการส่งข้อความ เสียง และวิดีโอ และ AIS Paragon ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G, Fibre, Edge Computing, Cloud, และ Software Application Cross Industry Collaboration

นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย เพื่อเพิ่มการบริการในส่วนของร้านธงฟ้า ร้านถุงเงิน ร้านโชห่วย และห้างสรรพสินค้าชั้นนำมากมายผ่านโปรแกรม Point Platform กว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ

ในส่วนของเทคโนโลยีการสื่อสาร AIS ได้ร่วมมือกับ Microsoft เพื่อให้บริการ Microsoft Teams Phone เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ผู้ใช้งานติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกขึ้น สามารถโทรออกและรับสายผ่านโปรแกรมได้

Sustainable สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมา AIS ได้ลงทุนในโครงข่ายเน็ตเวิร์กมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้ช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าที่สุด เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ปีละ 1,300,000 ตัน ใช้พลังงานทดแทนจึงประหยัดพลังงานไปได้ 16,159 ตันต่อปี

และในส่วนของการให้บริการ AIS ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น การพัฒนาแอพฯ เพื่อลดการเดินทางเข้าสาขา ใช้ใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์  ก็ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 14,994 ตันต่อปี

ด้านสิ่งแวดล้อม AIS มี Green Partnership กว่า 190 องค์กรเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเห็นความสำคัญเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste โดยพร้อมเป็นแกนกลางสำคัญทำหน้าที่รวมทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน

เมื่อมองจากภาพรวมทั้งหมด เห็นได้ว่าในภารกิจ Sustainable Nation ของ AIS ไม่ใช่แค่การทำธุรกิจเพื่อหวังผลกำไร แต่ยังเป็นการสร้าง Brand Differentiation หรือกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างให้แบรนด์ที่มีสินค้าหรือบริการเหมือนคู่แข่งในตลาด ทำให้แบรนด์เป็น top-of-mind ที่อยู่ในใจลูกค้า และภายใต้ภารกิจนี้ถือว่าเป็นกรอบที่ค่อนข้างใหญ่ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพราะโลกธุรกิจยุคใหม่ไม่สามารถนำผลกำไรมาเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จได้อีกต่อไป แต่องค์กรต้องมีส่วนร่วมในการดูแลผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมตามหลัก SDGs ด้วย

Writer

นักเขียนที่สนใจเรื่องธุรกิจ การตลาด และความเป็นไปในสังคม

You Might Also Like