Go Green Together

วิกฤตหรือโอกาส? หนทางสู่เวทีโลกของธุรกิจไทยด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำกับ KBank

ปี 2024 ถือเป็นครั้งแรกที่โลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส

ตัวเลข 1.5 ดูเป็นตัวเลขแสนน้อยนิด แต่เชื่อไหมว่าผลกระทบมหาศาล Swiss Re หนึ่งในผู้ให้บริการประกันภัยชั้นนำของโลก ยังรายงานว่าภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปี 2024 นี้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกถึง 310,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงกว่าปี 2023 ถึง 6%  

ไม่แปลกใจหากจากรายงานของ PwC จะพบว่ากว่า 46% ของผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ยั่งยืนขึ้นเพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ความแปรปรวนที่ว่าชะลอลง เรียกได้ว่าในฐานะผู้ประกอบการ นอกจากจะได้รับผลกระทบทางตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมยังได้รับผลกระทบทางอ้อม เพราะหากไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับความยั่งยืนที่ผู้บริโภคมองหาก็อาจต้องโบกมือลากันไป 

คำถามสำคัญจึงคือ ‘แล้วธุรกิจไทยจะเอาตัวรอดยังไงในสถานการณ์นี้?’ 

เพราะเข้าใจใน pain point ว่าเหล่าผู้ประกอบการหลายคนตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนธุรกิจ เพียงแต่ยังขาดองค์ความรู้และแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ ดังนั้น KBank จึงจัดงานสัมมนาเชิงลึกอย่าง Decarbonize Now ที่ในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทย transform สู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ และยืนหยัดได้อย่างยั่งยืนในเวทีโลก 

Recap ตอนนี้จึงขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงอุปสรรค โอกาส และหนทางสู่แสงสว่างในงาน Decarbonize Now ไปพร้อมๆ กัน

งาน Decarbonize Now

กุญแจมือที่หนีไม่พ้น

แรงกดดันจากผู้บริโภคน่ากลัวก็จริง แต่เชื่อไหมว่ายิ่งไปกว่าแรงกดดันนั้น ยังมีกุญแจมือที่กระชากยังไงก็ไม่อาจหลุดพ้น นั่นคือข้อกำหนดกฎหมายต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลกที่ผู้ประกอบการต้องบรรลุให้ได้ 

ต้ังแต่ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งหลายประเทศรวมถึงไทยเราเองได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันว่าจะต้องทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสให้ได้ และจะดียิ่งไปกว่านั้นถ้าทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส 

หรือจะเป็นมาตรการ ‘CBAM’ (Carbon Border Adjustment Mechanism) มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนที่สหภาพยุโรปจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง แปลว่ายิ่งคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูงเท่าไหร่ ผู้ประกอบการไทยก็ยิ่งหนาวขึ้นเท่านั้น

เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้าและเพื่อให้หลายอุตสาหกรรมยังครองแชมป์ในะดับโลกได้ ภาครัฐไทยจึงตั้งเป้า Net Zero หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2065 มาพร้อมกับ Thailand Taxonomy ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศออกมาซึ่งส่งผลกับกลุ่มธุรกิจโดยตรง เพราะเจ้า Thailand Taxonomy นี้มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อหรือรีไฟแนนซ์โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่น้อย

นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการคนไหนปรับตัวได้ก่อน ย่อมได้เปรียบในสังเวียนนี้ไม่น้อย

วิกฤตหรือโอกาส

ถึงตรงนี้ หลายคนคงเข้าใจมากขึ้นแล้วว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ยั่งยืนกับโลกยิ่งขึ้นนั้นสร้างโอกาสทางธุรกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ของธุรกิจในสายตาผู้บริโภค นักลงทุนที่ให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานตามหลัก ESG พันธมิตรทางธุรกิจจากต่างประเทศยังมีเกณฑ์ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งหากใครปรับตัวได้ก่อนก็ย่อมเป็นผู้ถูกเลือกในสมรภูมินี้

ถึงอย่างนั้น ผู้ประกอบการหลายเจ้าก็ยังไม่พร้อมลงมือเปลี่ยนแปลงด้วยปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  1. ขาดความรู้

หลายคน ‘ไม่รู้ว่าทำไมต้องทำ’ เพราะมองเพียงผลตอบแทนระยะสั้นโดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนระยะยาว แต่แม้บางคนจะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต่อความอยู่รอดของธุรกิจแต่ก็ ‘ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง’ หรือ ‘ไม่รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใด’

  1. ขาดเงินทุน

การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำยังใช้เงินลงทุนสูง ความที่ต้องใช้เงินทุนสูงนี้เองทำให้ผู้ประกอบการกลัวว่าต้นทุนในการปรับเปลี่ยนจะส่งผลให้สินค้าและบริการราคาสูงกว่าเจ้าอื่นๆ จนทำให้แข่งขันในตลาดได้ยาก  

  1. ขาดความพร้อมของเทคโนโลยี

ในบางครั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนผ่านในอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจยังไม่พร้อมใช้งาน มีความซับซ้อนในการติดตั้งและใช้งาน บ้างก็ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการเติบโต เช่น ระบบชาร์จ EV หรือระบบพลังงานหมุนเวียน

  1. ขาดเครื่องมือวิเคราะห์

การเปลี่ยนผ่านธุรกิจอย่างมีระบบและให้มั่นใจว่าจะเท่าทันมาตรการสากลยังต้องมีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์และติดตามผล เช่น การคำนวณการปล่อย GHG หรือระบบติดตามการใช้พลังงาน ตามมาด้วยการต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

ท้ายที่สุด การเปลี่ยนผ่านธุรกิจนี้เป็นเกมยาวที่ผู้ประกอบการต้องอดทนรอ นั่นนำมาสู่คำถามสำคัญที่ผู้ประกอบการหลายคนตั้งคำถามว่าถ้าไม่ได้เป็นลูกพระยานาหมื่น ไม่ได้เป็นบริษัทใหญ่โตที่มีทั้งแหล่งเงินทุนและมีทรัพยากรบุคคลพร้อมสรรพ 

เหล่าผู้ประกอบการไทยจะก้าวไปกับเทรนด์โลกนี้ได้ยังไงกัน?

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

ด้วย pain point ทั้งหมดที่ crack ออกมา งาน Decarbonize Now ที่จัดโดย KBank จึงไม่เพียงให้ความรู้  แต่ยังพาผู้ประกอบการทดลองทำจริงตั้งแต่ศูนย์ ทั้งยังมีการสาธิตการใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้คำนวณข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจตนเอง  

ในงาน Decarbonize Now นี้ยังสรุปเฟรมเวิร์ก ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการจับต้นชนปลายการเปลี่ยนผ่านธุรกิจได้ถูกว่าสเตปที่หนึ่งสู่การลดคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์นั้นต้องทำยังไง เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่ตระหนกจนเกินไป แต่ตระหนักว่าหากยังไม่พร้อม ก็เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวก่อนได้ ซึ่งเฟรมเวิร์กที่ว่าประกอบด้วย 8 สเตปหลักๆ ที่เริ่มได้ไม่ยาก ได้แก่

  1. Measure Impact วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดคือการกลับไปหาต้นตอสำคัญ สเตปแรกที่ KBank แนะนำคือ ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหน ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์อย่าง KClimate Accounting Platform ช่วยเก็บข้อมูลและคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกทำให้รู้ว่าในกระบวนการผลิตของเรา จุดไหนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ  

  1.  Define Objectives and Priorities กำหนดวัตถุประสงค์และจัดลำดับความสำคัญ

เมื่อรู้ตัวการสำคัญ จึงค่อยกลับมาตั้งเป้าหมายระยะยาวว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปเพื่ออะไร จะลดเท่าไหร่ พร้อมลำดับความสำคัญว่าควรเริ่มจัดการที่จุดไหนก่อน และอะไรค่อยทำทีหลังได้ เช่น อาจเริ่มจากการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการกับสิ่งที่เราควบคุมได้ อย่างการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างโซลาร์เซลล์ จากนั้นจึงพิจารณาสิ่งที่ต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่น อย่างการขนส่งสินค้าที่อาจทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์

  1. Assess Risks and Opportunities ประเมินความเสี่ยงและโอกาส

ในขั้นตอนนี้ องค์กรต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจ และวิเคราะห์ ‘โอกาส’ ในการสร้างความได้เปรียบในตลาด เช่น ความเสี่ยงของธุรกิจขนส่งคือการเปลี่ยนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับค่าคาร์บอนในรถยนต์ดีเซล ดังนั้นโอกาสที่อาจช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดคือการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EVs)

  1. Set Targets and Metrics ตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด

เมื่อได้เป้าหมายใหญ่ในข้อที่ 2 ทีนี้ก็ถึงตาที่จะต้องเซตเป้าหมายระยะสั้น 5-10 ปี เพื่อให้เราไม่รู้สึกท้อไปเสียก่อน นอกจากนั้นยังควรมี KPI หรือตัวชี้วัดที่จะช่วยตรวจสอบการดำเนินงานว่าเราทำได้จริงตามที่กำหนดไว้หรือเปล่า

ถ้าจะให้ดีคือควรตั้งเป้าหมายตามหลักการ Science-Based Targets Initiative (SBTi) หรืออย่างน้อยที่สุดคือการตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ  

  1. Formulate Transition Plan พัฒนากลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่าน

สเตปต่อมาคือกางแผนงานที่ตั้งไว้ในแต่ละเฟส ว่าจะต้องใช้ทรัพยากรเงิน บุคคล รวมถึงเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อให้รู้ว่าจะต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง 

  1. Engage Stakeholders สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากพาร์ตเนอร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ซัพพลายเออร์ และลูกค้า เพื่อสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนผ่าน สำหรับพนักงานอาจเริ่มจากการจัดอบรมความรู้เรื่องความยั่งยืนและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานปรับพฤติกรรม 

สำหรับซัพพลายเออร์ อาจเริ่มจากกำหนดนโยบายจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืน เช่น เลือกซัพพลายเออร์ที่มีการลดการปล่อย GHG มอบรางวัลหรือสิ่งจูงใจให้ซัพพลายเออร์ที่มีการปรับตัวเพื่อลด GHG อย่างมีนัยสำคัญ

และสำหรับลูกค้าเน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ลดการปล่อย GHG ผ่านการตลาดและการสื่อสาร ไปจนถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรีไซเคิลหรือแคมเปญลดการใช้พลังงาน

  1. Take Action and Track Progress ดำเนินการและติดตามผล

เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เริ่มดำเนินการตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้เลย! ที่สำคัญ เพื่อให้ติดตามผลการดำเนินงานได้ ต้องคอยประเมินประสิทธิภาพเทียบกับเป้าหมายเสมอๆ เช่น จัดเก็บข้อมูลการปล่อย GHG เป็นประจำ ใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการ และหากไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ต้องปรับกลยุทธ์หรือเพิ่มมาตรการ

  1. Report and Disclosure รายงานและเปิดเผยข้อมูล

เมื่อลงมือทำแล้ว ควรมีการรายงานหรือเปิดเผยข้อมูลการลด GHG อย่างสม่ำเสมอ เช่น จัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) หรือรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Footprint Report

โดยใช้มาตรฐานการรายงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล  

ผู้ประกอบการยังควรเปิดเผยข้อมูลทั้งความสำเร็จ และความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ เพื่อช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเปิดโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่และเงินทุนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ 

เชื่อว่าทั้ง 8 สเตปนี้จะช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการเห็นภาพมากขึ้นว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้คาร์บอนเป็นศูนย์นั้นควรเริ่มนับหนึ่งจากจุดไหน หากใครพร้อมแล้วก็เริ่มลงมือ และในระหว่างทาง ถ้ามีข้อสงสัยหรืออยากจะขอคำแนะนำ ธนาคารยังมีทีม Industrial Decarbonization Solution ที่ไปให้คำปรึกษาถึงที่บริษัทโดยตรง เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านสู่คาร์บอนต่ำ แต่หากใครต้องการเงินทุน การเสาะหาแหล่งเงินทุนสีเขียวจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น

หนึ่งในแหล่งเงินทุนสีเขียวที่น่าจับตาคือ สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน ของ KBank เป็นสินเชื่อที่ช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำได้ ผ่านการนำเงินจากสินเชื่อนั้นไปลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงานหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ การพัฒนาระบบทำความร้อน การจัดการกับขยะอาหาร ฯลฯ

สินเชื่อนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ลดการใช้พลังงาน บริหารจัดการต้นทุนในการลดคาร์บอนอย่างคุ้มค่า เพื่อให้สุดท้ายปลายทางสามารถรับมือกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากทั้งภาครัฐไทยและในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจโรงแรมและเฮลท์แคร์ ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ฮาร์ดแวร์ และธุรกิจแพ็กเกจจิ้งและพลาสติก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐ และได้สินเชื่อที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด 

การที่ KBank มีสินเชื่อนี้ที่ไม่เพียงให้แหล่งเงินทุนแต่ยังให้ solution และพร้อมร่วมมือไปกับกลุ่มธุรกิจ จึงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางกล้าที่จะปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน สุดท้ายปลายทางคือการช่วยสิ่งแวดล้อม และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและคว้าโอกาสธุรกิจในอนาคต

ส่วนใครที่สนใจ Go Green Together ให้ธุรกิจโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน สามารถดูรายละเอียดสินเชื่อ สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน ได้ที่ www.kasikornbank.com/k_49SknHU

อ้างอิง

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

You Might Also Like