นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

สะเทือนคนรักบุฟเฟต์แซลมอน เมื่อราคาแซลมอนกลายเป็นต้นทุนอันโหดร้าย ที่ร้านอาหารต้องแบกรับ 

‘ดารุมะซูชิ’ น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนได้ยินบ่อยในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากเหตุการณ์ที่เจ้าของร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นชื่อดัง มีสาขากว่า 27 สาขาขายเวาเชอร์ล่วงหน้าจำนวนมาก ในราคาที่ต่ำกว่าราคาหน้าร้านมากกว่า 50% ทำให้มีคนแห่ไปซื้อจำนวนมาก ที่สำคัญนอกจากลูกค้ารายย่อยทั่วไปแล้ว ยังมีพ่อค้าแม่ค้าที่ตัดสินใจพลาด กักตุนคูปองจำนวนมากหลายราย แต่สุดท้ายกลายเป็นว่าเจ้าของธุรกิจหายตัวปิดทุกสาขา กลายเป็นเรื่องใหญ่โตจนเกิดความเสียหายหลักร้อยล้านบาท

ในกรณีของดารุมะซูชิอาจจะแปลกกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วไปสักหน่อย เพราะใครก็ตามที่อยากเปิดจะต้องเอาเงินสดมาให้เจ้าของธุรกิจประมาณ 2-2.5 ล้านบาท โดยที่มีการการันตีผลตอบแทนเดือนละ 10% คืนให้ทุกเดือน มันเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้ความรู้สึกคล้ายเป็นการระดมทุนหาเงินไปหมุนหรือแชร์ลูกโซ่ก็ไม่ปาน เพราะบางสาขากำลังก่อสร้าง บางสาขาเปิดได้ไม่กี่วันก็ต้องปิดตัวลงซะแล้ว

หลายคนบอกว่าเจ้าของหน้ามืดทำไปเพราะเห็นเงินเยอะ บางคนก็บอกว่ามันเป็นการวางแผนเอาไว้แล้วตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะขายคูปองถูกลงเรื่อยๆ ไม่ว่ายังไงความตั้งใจที่แท้จริงของเจ้าของนั้นคงไม่มีทางทราบได้ แต่สิ่งที่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดารุมะต้องเผชิญวิกฤตตรงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของราคาอาหารทะเลที่พุ่งขึ้นสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สำหรับดารุมะมันเลวร้ายกว่านั้นอีกเพราะธุรกิจของพวกเขาตั้งอยู่บนวัตถุดิบหลักชนิดเดียวนั่นก็คือ ‘แซลมอน’

ซึ่งในบ้านเราปลาแซลมอนถือเป็นอาหารทะเลยอดนิยมอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ เหตุผลก็เพราะมันสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารญี่ปุ่น ซาชิมิ ซูชิ ข้าวปั้น แล้วยังทำเป็นเมนูย่าง ยำ ทอด ต่างๆ นานาได้อีกด้วย แซลมอนในบ้านเรานำเข้าจากต่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ จากสองประเทศหลักๆ คือนอร์เวย์และชิลี โดยมีการเปิดเผยตัวเลขจากสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ว่าครึ่งปีแรกของปี 2564 เรานำเข้าปลาแซลมอนจากนอร์เวย์แล้วกว่า 10,000 ตัน ถือเป็นสถิติสูงสุดในประวัติการณ์ของไทย เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึง 43%

ไม่ใช่แค่บ้านเราเท่านั้นที่โปรดปรานแซลมอน แต่ถ้านับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา มนุษย์ทั่วโลกบริโภคปลาแซลมอนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวแล้ว จากที่เคยเป็นเมนูหรูราคาแพงสมัยก่อนเพราะเป็นแซลมอนธรรมชาติ ตอนนี้เกือบ 70-80% ของแซลมอนที่ซื้อ-ขายในตลาดคือแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์มทั้งสิ้น ความต้องการในตลาดผลักดันให้ธุรกิจการทำฟาร์มแซลมอนเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา แต่มันก็สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน เพราะการเลี้ยงแซลมอนในฟาร์มจะต้องใส่สารเคมี ยาฆ่าเชื้อ สารกันบูด ลงไปในน้ำทะเล ยิ่งมีการเลี้ยงในปริมาณที่เยอะเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ผลกระทบรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่รอบ ๆ บริเวณ

ฟาร์มแซลมอนเป็นธุรกิจที่ลงทุนสูงและมีผลตอบแทนที่สูงเช่นเดียวกัน มูลค่าอุตสาหกรรมทั่วโลกมีค่ามากถึง 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตเป็น 76,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2028 โดยมีตลาดเอเชียแปซิฟิกที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องหลายปี

สำหรับใครที่เคยซื้อแซลมอนสดหรือตามข่าวราคาอาหารทะเลบ้างคงพอทราบเรื่องนี้ ช่วงกลางปี 2019 ก่อนที่โควิดจะระบาดกลายเป็นโรคที่ช็อกโลกไปเกือบสามปี ราคาซื้อ-ขายของปลาแซลมอนสดอยู่ที่ราวๆ กิโลกรัมละ 350 บาท แต่มาถึงตอนนี้ราคาปลาส้มที่เป็นเมนูโปรดของหลายต่อหลายคนก็ขึ้นมาเกือบ 80% อยู่ที่กิโลกรัมละ 550-600 บาท โดยราคานี้ถือว่าเป็นราคาส่งสำหรับร้านอาหารด้วย เพราะถ้าไปซื้อตามห้างสรรพสินค้าอาจจะเจอกิโลกรัมละเกือบพันเลยทีเดียว

โควิดเป็นเพียงหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้ราคาปลาแซลมอนเพิ่มสูงขึ้น หลังจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ การขนส่งต่าง ๆ จากทางยุโรปมาสู่เอเชียนั้นต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางปกติ ทำให้ต้นทุนของการขนส่งนั้นเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม แถมไม่พอสถานการณ์ตอนนี้ไม่มีท่าทีว่าจะจบง่ายๆ ราคาของแซลมอนในเวลานี้ยังสามารถขึ้นไปต่อได้อีก

แต่ข่าวร้ายสำหรับแฟนปลาแซลมอนคือตอนนี้มีปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่าสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องพยายามเร่งแก้ไขโดยด่วนยิ่งกว่า นั่นก็คือเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่กำลังร้อนขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้อุณหภูมิในน้ำสูงและกระทบกับปลาแซลมอนโดยตรงเพราะนั่นคือบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ ในรายงานของสำนักข่าว The Guardian บอกว่าในประเทศนิวซีแลนด์ที่เป็นผู้ผลิตปลาแซลมอนรายใหญ่ของโลก อุณหภูมิในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งองศา ทำให้ปลาแซลมอนที่เลี้ยงอยู่นั้นตายไปจำนวนหลายพันตัน Grant Rosewarne ผู้บริหารบริษัท New Zealand King Salmon ให้สัมภาษณ์ว่า

“นี่คือสัญญาณเตือนบางอย่าง ตอนที่ผมเข้ามาทำงานที่บริษัทไม่เคยได้ยินคำว่า ‘marine heatwave’ (คลื่นความร้อนในทะเล) เลยสักครั้ง แต่ไม่นานมานี้มันเกิดขึ้นถึงสามครั้งแล้ว”

‘คลื่นความร้อนในทะเล’ เป็นช่วงที่มีอุณหภูมิน้ำสูงผิดปกติ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อปลาที่อาศัยอยู่เท่านั้น อุณหภูมิที่สูงผิดปกติยังหยุดการเจริญเติบโตของแหล่งอาหารที่จำเป็นสำหรับปลาเหล่านี้ แถมยังส่งผลกระทบต่อรูปแบบการที่อพยพย้ายถิ่นอย่างปลาแซลมอนด้วย ทำให้ปลาแซลมอนเสียชีวิตก่อนที่จะโตเต็มวัย จนต้องนำไปทิ้งกลายเป็นขยะและขายไม่ได้เลย

“เราคิดว่าเรามีเวลามากกว่านี้ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นช้าๆ แต่เร็วกว่าที่หลายคนคิด อุตสาหกรรมบางชนิดเป็นสัญญาณเตือนถึงหายนะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เราคิดว่าผลกระทบของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นช้า ๆ ตรวจสอบได้ในหลายทศวรรษ และเราก็คิดว่าน่าจะมีเวลาอีกสักสองทศวรรษกว่าจะเห็นผลกระทบ แต่ไม่ใช่เลย”

ภายในครึ่งปีแรกของ 2022 อุตสาหกรรมปลาแซลมอนในประเทศนิวซีแลนด์ได้ขาดทุนไปแล้วกว่า 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟาร์มของบริษัท New Zealand King Salmon ต้องปิดไปแล้ว 3 ใน 4 แห่งเพราะเลี้ยงปลาแซลมอนไม่ได้ ต้องพยายามย้ายไปยังน่านน้ำที่อุณหภูมิเย็นลงแต่ก็ต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน

สถานการณ์ในประเทศอื่นๆ อย่างนอร์เวย์หรือชิลีก็เลวร้ายไม่ต่างกัน ผลผลิตที่ได้ปริมาณลดลง ผลักให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งที่สูงขึ้นจากสงครามกลายเป็นต้นทุนที่ทับถมเพิ่มเข้าไปอีก จนตอนนี้ร้านอาหารหลายร้านโดยเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่น เริ่มมีการปรับตัวขึ้นราคาเมนูปลาแซลมอนอย่างเลี่ยงไม่ได้ บางร้านถึงขั้นตัดเมนูที่มีปลาแซลมอนออกเลยเพราะสู้ราคาไม่ไหว ถ้าขึ้นไปก็ไม่มีลูกค้าทานอยู่ดี ผลผลิตอื่นๆ อย่างไข่ปลาแซลมอนก็ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ ต้องพยายามเปลี่ยนมาใช้ปลาชนิดอื่นแทน หรือบางเจ้าก็หันไปใช้ปลาแซลมอนแช่แข็งแล้วปรับเป็นเมนูแซลมอนแบบปรุงรสชาติเท่านั้น

ผลกระทบในบ้านเราก็เลวร้ายไม่แพ้กัน ราคาแซลมอนสดที่เพิ่มขึ้นมาเกือบ 80% กลายเป็นต้นทุนราคาแพงที่ร้านอาหารต้องแบกรับ บ้านเราต้องพึ่งพาการนำเข้าปลาแซลมอนจากต่างประเทศอย่างเดียว ราคาที่รับมาก็ต้องเป็นไปตามกลไกของตลาดโลก ร้านอาหารที่ยังคงใช้ปลาแซลมอนในเมนูต้องปรับตัวขึ้นราคา เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาซื้อแพงขายถูก ขายดีแต่กำไรไม่เหลือเหมือนอย่างในกรณีดารุมะซูชิได้

สถานการณ์โรคระบาดกำลังเริ่มดีขึ้น แม้สงครามที่ยังดูยืดเยื้อสุดท้ายก็คงจบลงสักวันหนึ่ง แต่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี่แหละที่เป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนที่ต้องเผชิญต่อไป ซึ่งสุดท้ายแล้วในอนาคตถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้น ผลผลิตยังไม่เพียงพอ ราคายังสูงอยู่ เราอาจจะต้องหันมาทานเนื้อปลาแซลมอนที่มาจากห้องแล็บกันแทนก็ได้ (ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยีก็ทำได้แล้ว) แม้จะฟังดูหดหู่ แต่มันก็ยังดีกว่าไม่มีปลาส้มในดวงใจของใครหลายคนให้ทานเลย

อ้างอิง

Writer

คุณพ่อลูกหนึ่งจากเชียงใหม่ที่รักการเขียน การอ่าน และการดองหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายการทำงานที่เป็นมากกว่าแค่ผลกำไรและทำงานหนักจนลืมความหมายของการมีชีวิตอยู่

You Might Also Like