นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ทำการตลาดกับคน Gen Z อย่างไรให้ได้ผล ดูอินไซต์ของคนยุคใหม่ เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม

ทุกวันนี้ที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย หากย้อนกลับไป 6-7 ปีก่อน กลุ่มเป้าหมายของนักการตลาดและแบรนด์คือกลุ่มคนเจนฯ Y และ Millennials แต่ในวันนี้กลุ่มคนเจนฯ Z มีบทบาทมากขึ้น และจะกลายมา main spender ในอนาคต การทำการตลาดจับกลุ่มคนเจนฯ นี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

คำถามคือแล้วเหล่านักการตลาด และแบรนด์จะทำการตลาดยังไงให้มัดใจเจนฯ Z

เซสชั่น Marketing to Gen Z: Engaging the New Generation โดย ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของการตลาดวันละตอน บรรยายไว้ในงาน CTC 2023 Festival ให้อินไซต์และเทรนด์ของคนเจนฯ Z ไว้อย่างน่าสนใจ

หากให้คำนิยาม คนเจนฯ Z คือ คนที่เกิดระหว่างปี 1997-2012 อายุ 11-26 ปี ที่ไม่ใช่วัยรุ่นอย่างเดียว แต่มี 4 ช่วงวัยคือ Teenager 11-18 ปี / Explorer 18-22 ปี / First Jobber 22-24 ปี / Senior 24-26 ปี

กลุ่มคนเหล่านี้เกิดและเติบโตมาพร้อมกับสังคมและบริบทโลก 4 ยุค 

ยุค Subprime เป็นยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีวิกฤตทางการเงิน จนรู้สึกว่าแค่เกิดมาก็จนแล้ว โอกาสในการเลื่อนลำดับชั้นทางสังคมเป็นเรื่องยาก 

ยุค Climate Change ในยุคที่คนเจนฯ ก่อนหน้าใช้ทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวัง ทำให้คนเจนฯ Z เกิดมาท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

ยุค Always-On เกิดมาพร้อมกับยุค 3G ที่มีอินเทอร์เน็ตใช้ทุกที่ และยุคโควิด-19 ที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยครั้งแรก และจบการศึกษาในยุคโควิด ทำให้การหางานเป็นเรื่องยาก

ณัฐพลยังอธิบายต่อว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้พฤติกรรม ทัศนคติ การใช้ชีวิตของกลุ่มคนเจนฯ Z เปลี่ยนแปลงไป สามารถแยกอินไซต์ได้ดังนี้

‘Gen Subscription’ คนเจนฯ Z มีแนวคิดไม่อยากเป็นหนี้ ไม่ต้องการมีภาระ แต่ต้องการเข้าถึงทำให้คนเจนฯ นี้เลือกที่จะ subscription บริการต่างๆ มากกว่า ส่งผลให้ธุรกิจ subscription เติบโตได้ดี รวมทั้งโมเดล BNPL (Buy Now Pay Later) ที่ไม่ต้องมีเครดิตทางการเงินก็สามารถยืมเงินไปใช้จ่ายซื้อของ ซื้อบริการก่อนได้ 

‘Teenpreneur’ คนเจนฯ Z ให้ความสนใจในการเลือกอาชีพของตัวเอง สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้เองผ่านช่องทางการหารายได้ที่หลากหลายบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าออนไลน์, อินฟลูเอนเซอร์, ยูทูบเบอร์, คอนเทนต์ครีเอเตอร์, TikToker ส่งผลให้เกิด Creator Economy ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นดารา หรือนักแสดงก็สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหารายได้ได้

จากยุคที่เสิร์ชหาข้อมูลผ่านกูเกิล คนยุคนี้เลือกที่จะ lean on TikTok ใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มและเสิร์ชเอนจิ้นในการเรียนรู้เป็นหลัก

แม้คนเจนฯ Z จะเติบโตมาในยุคที่อินเทอร์เน็ตใช้แล้ว แต่พวกเขาเหล่านี้ให้ความสำคัญในเรื่อง digital literacy มากๆ พวกเขาจะเป็นประเภท Salted Data ไม่ได้ถ่ายทอดทุกอย่างออกมาตรงๆ แต่จะใช้วิธีโพสต์ให้ไม่คิด โพสต์แบบซ่อนบริบท เช่น โพสต์เพลง แต่สื่อไปถึงเรื่องการทำงาน

นอกจากนี้คนเจนฯ Z ยังให้ความสำคัญกับการทำงาน และสวัสดิการ ไม่ใช่ว่าคนเจนฯ นี้ไม่มีความอดทน แต่คนเจนฯ นี้จะยอมทนก็ต่อเมื่อรู้สึกคุ้มค่า เห็นอนาคต มั่นคง เพราะสามารถเลือกเองได้ และยังให้ความสำคัญกับความคิดมากกว่าประสบการณ์ตามอายุ

ส่วนการทำตลาดของแบรนด์เรื่อง loyalty อาจจะไม่ใช่ทุกอย่างสำหรับกลุ่มคนเจนฯ z แต่คนเจนฯ นี้สนใจเรื่อง political branding มากๆ เลือกซื้อสนับสนุนแบรนด์ที่มีจุดยืนเดียวกัน และแบรนด์ไหนเห็นไม่ตรงกันอาจเกิดแฮชแท็กแบนขึ้น

รวมถึงสนใจแบรนด์ที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนที่แค่ทำ CSR อย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องคำนึงถึง ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) พร้อมกับความยุติธรรมและจริงใจต่อผู้บริโภคด้วย เช่น เมื่อต้นทุนสินค้าขึ้น แบรนด์ปรับราคาขึ้น แต่เมื่อต้นทุนสินค้าลดลง แบรนด์ก็ควรปรับราคาลงเช่นกัน

ข้อมูลต่างๆ ที่เจ้าของเพจการตลาดวันละตอนแชร์บนเวทีน่าจะช่วยทำให้แบรนด์รู้จักและเข้าถึงคนเจนฯ Z และทำการตลาดเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือแต่ละแบรนด์ก็ต้องคอยเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยอยู่เสมอ

You Might Also Like