นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

953
January 26, 2024

The Resilience of Luxury

ถึงคราวแบรนด์ไฮเอนด์ต้องปรับตัวแบบสับตามคุณค่าใหม่ของลูกค้า

ในอดีตธุรกิจแบรนด์หรู (luxury) ขึ้นชื่อว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่แค่ไหนก็ไม่กระทบธุรกิจด้วยกำลังซื้อที่สูงของผู้บริโภคระดับบนและชื่อเสียงของแบรนด์อันแข็งแกร่ง แต่สถานการณ์ช่วงหลังๆ มานี้อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และอาจถึงคราวเหล่าแบรนด์ luxury ต้องเตรียมปรับทิศทางธุรกิจกันบ้างแล้ว

ชวนมาไขข้อสงสัยว่าทั้งๆ ที่แบรนด์เหล่านี้ฮอตฮิตติดลมบนมากๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นจึงเกิดความท้าทายใหม่กับธุรกิจหมวดนี้ 

1. ผลประกอบการของธุรกิจ luxury ระดับโลกเป็นยังไง?

หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวมาบ้างแล้วว่าช่วงปลายปีที่แล้วหุ้นของ LVMH บริษัทเจ้าของแบรนด์ Louis Vuitton, Dior, Fendi, Tiffany & Co.อยู่ในขาลง บทวิเคราะห์จาก HSBC Global Research คาดการณ์ว่าผลประกอบการของ LVMH น่าจะอยู่ในระยะ roller coaster หรือช่วงไม่แน่นอนต่อไปและยังระบุว่ากำไรในไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 โตขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งนับว่าน้อยและในตลาดอเมริกายังมียอดขายลดลง 2% อีกด้วย  

ในขณะที่ Kearing บริษัทผู้เป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Gucci, Bottega Veneta, YSL ก็มียอดขายลดลงเช่นกัน โดยมียอดขายช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ แถมกำไรก็ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งทาง Kearing มองว่าที่ผลประกอบการต่ำว่าที่คาดเป็นเพราะธุรกิจไปจับกลุ่มเป้าหมายเป็นคนที่ใฝ่ฝันอยากได้แบรนด์หรู ทำนองกดไลก์แบรนด์รัวๆ เลิฟแบรนด์มากแต่กลับประหยัดงบการช้อปปิ้งในชีวิตจริง

(ทั้งนี้แม้เจ้าใหญ่หลายเจ้าจะมีผลประกอบการลดลง แต่แอบกระซิบว่าก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้างสำหรับบางแบรนด์ที่เป็นดาวค้างฟ้าซึ่งดึงดูดกลุ่ม super rich ระดับท็อปอย่าง Hermès) 

2. ช่วง roller coaster ของธุรกิจ luxury เหล่านี้กำลังบ่งบอกอะไร?

Nicholas Colas, Co-founder ของสถาบัน DataTrek Research ให้ความเห็นว่า LVMH เป็นธุรกิจที่มีการบริหารจัดการที่ดีมากและในอดีตที่ผ่านมานักลงทุนก็มักเห็นการเติบโตอย่างแข็งแรงของหุ้น LVMH แต่ในวันนี้อัตรากำไรที่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจนของธุรกิจที่แข็งแรงและมีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลกระดับ LVMH ก็บ่งบอกถึงความแข็งแรงของอุตสาหกรรมธุรกิจ luxury โดยรวมว่ากำลังสั่นคลอน

สาเหตุสำคัญข้อหนึ่งที่ส่งผลกระทบคือเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะเศรษฐกิจในประเทศมหาอำนาจใหญ่ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก เช่น เมื่อเศรษฐกิจจีนไม่ดีและมีลูกค้าคนจีนเป็นนักช็อปแบรนด์หรูในอเมริกาและยุโรปเยอะ จึงส่งผลให้ความต้องการซื้อของฟุ่มเฟือยชะลอตามไปด้วย ส่วนในอเมริกาา ข้อมูลจาก Bank of America card ก็ระบุว่าการรูดบัตรเพื่อช็อปแบรนด์ luxury มีอัตราที่ลดลงถึง 6 ไตรมาสต่อเนื่องกันเลยทีเดียว

3. โอกาสของธุรกิจ luxury ในช่วงไม่แน่นอนแบบนี้คืออะไร? 

Julie Petit ผู้ทำงานในบทบาท Luxury & Retail Leader ของบริษัท consult ชื่อ Mazars ให้ความเห็นว่าถึงงบช้อปปิ้งของผู้คนจะมีแนวโน้มน้อยลง แต่ไม่ได้แปลว่าลูกค้าจะไม่ซื้อของจากแบรนด์ luxury แบรนด์โปรด พวกเขาแค่รัดเข็มขัดในการใช้เงินและมองหาสินค้าที่มีราคาน้อยลงในการช้อปปิ้งเท่านั้น

และแม้ภาพรวมของธุรกิจสินค้าของใช้ส่วนตัวอย่าง personal luxury ของธุรกิจเจ้าใหญ่จะมีแนวโน้มเป็นขาลง แต่หากเจาะข้อมูลดูแบรนด์ luxury เฉพาะในหมวด hospitality ที่มอบประสบการณ์และบริการสุดพิเศษอย่างบริการล่องเรือ cruise และร้านอาหาร fine dining จะพบข้อมูลที่แตกต่างออกไป คือธุรกิจเฉพาะหมวดนี้เป็นอุตสาหกรรมที่โตขึ้นถึง 15% ต่อปี โดยสินค้าที่เรียกว่าเป็น ‘experience-based’ ที่มอบประสบการณ์ระหว่างใช้หรือเสพสินค้าก็รวมอยู่ในหมวดขาขึ้นเช่นกัน เช่น ศิลปะ fine art, รถยนต์หรู, เครื่องบิน private jet, ไวน์, อาหาร gourmet

4. ธุรกิจจะปรับตัวยังไงดี?

  • ‘Move From Things to Experieces’ สร้างประสบการณ์ ไม่ใช่แค่นำเสนอสินค้า เช่น สร้างประสบการณ์พิเศษในร้านรีเทล เปิดร้านอาหารหรือโรงแรมที่ให้คุณค่าในประสบการณ์ไม่เหมือนใครที่ตอบสนองต่อคุณค่าใหม่ของคนยุคนี้ที่มองหาเรื่องราวและความทรงจำมากกว่าแค่ใช้สินค้า 
  • ‘Diversify’ ขยายหมวดธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่ได้มีแค่หมวดสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น Dolce & Gabbana ที่ประกาศว่ามีแพลนก้าวเข้าสู่วงการสกินแคร์และอสังหาริมทรัพย์ 

ขนาดแบรนด์ luxury ที่เคยมองกันว่ามั่นคงมาก ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นยังไงยังต้องเริ่มมูฟเพื่อปรับตัว นั่นอาจแปลว่าธุรกิจในหมวดอื่นๆ ทั่วไปก็อาจถึงเวลาต้องปรับตัวตามเศรษฐกิจโลกและคุณค่าใหม่ของลูกค้าเช่นกัน

อ้างอิง :

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like