นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จากเคสดราม่าและหลากกรณีศึกษา การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ที่เจ้าของแบรนด์ทุกคนต้องเข้าใจ

ไม่มีอะไรการันตีว่าเทคโนโลยีใหม่ หรือสินค้าใหม่ที่คุณสร้างสรรค์มาจะประสบความสำเร็จ หรือแข่งขันในตลาดได้ แต่สิ่งที่พอบอกได้คือ ‘การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา’ คือสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจไปสู่เป้าหมายในระยะยาวได้ เพราะไม่ว่าจะทำธุรกิจใดก็ตาม การได้รับความคุ้มครองในความคิดสร้างสรรค์ผ่านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีความจำเป็นอย่างมาก

การทำธุรกิจในประเทศเมื่อสิ่งที่เราคิดค้นถูกลอกเลียนแบบ เราอาจจะยังพบเห็นหรือดำเนินการบางอย่างได้ไม่ยาก แต่หากธุรกิจขยายไปต่างประเทศการดำเนินการต่างๆ จะยากเป็นทวีคูณ นั่นทำให้การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ 

ยกตัวอย่างเคสของ MUJI แบรนด์สินค้าจากประเทศญี่ปุ่น ที่ขยายสาขาไปยังประเทศจีน ภายใต้เครื่องหมายการค้าภาษาจีน 4 ตัวที่สะกดว่า Wuyinliangpin ที่แปลว่า No Brand, Quality Goods ทว่า กลับโดนบริษัทสิ่งทอจีน Beijing Cottonfield Textile ฟ้องร้องการละเมิดเครื่องหมายการค้า Wuyinliangpin ที่จดทะเบียนก่อน MUJI เข้ามาเปิดตลาด 4 ปี และผลคือ MUJI แพ้คดีแล้วต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ Hainan Nanhua

จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรทางปัญญามากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเฉลี่ยปีละ 1.5 ล้านรายการ ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 8,000 รายการต่อปี จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุด ในมุมของนักกฎหมายหลายท่านมองว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งกับการที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการจดสิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญา 

จากเคสที่หลายคนน่าจะเห็นผ่านตาในโลกโซเชียลอย่าง ‘ร้านลูกไก่ทอง’ ทางแบรนด์ได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า (Trademark) ‘ปังชา’ ภาษาไทย และ ‘Pang Cha’ ภาษาอังกฤษ ตามพรบ.คุ้มครองเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ที่สงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ไปใช้เป็น หรือผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย และทางปังชาได้มีการจดทะเบียน 2 อย่างได้แก่ สิทธิ์บัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ‘ภาชนะใส่น้ำแข็งไส’ และเครื่องหมายการค้า คือโลโก้ร้านที่มีภาพผู้หญิง ภาพวงรีสีดำ และสีขาว ทำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องออกมาแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น พร้อมย้ำว่า ทุกร้านสามารถขายเมนูน้ำแข็งไสชาไทยได้ แต่อย่านำภาชนะและโลโก้ของร้านลูกไก่ทองไปใช้

เพื่อต่อยอดจากเคสที่ว่ามาเราจะพาไปเปิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเท่าไรนัก แต่ถ้าคุณเป็นคนทำธุรกิจที่มีแบรนด์ของตัวเองและไม่ได้จดทะเบียนเพื่อปกป้องนวัตกรรมของตัวเอง คุณอาจกลายเป็นผู้เสียหายได้แบบไม่รู้ตัว

หนึ่งกรณีที่เป็นข่าวใหญ่ที่ผ่านมาคือ กรณีของ ชานมไข่มุก เสือพ่นไฟ ที่ประสบความสำเร็จจนทำให้มีสัตว์พ่นไฟอื่นๆ ตามมาอีกเพียบ จึงเกิดการฟ้องร้องและทางเสือพ่นไฟก็เป็นฝ่ายชนะ ส่วนในกรณีของ ‘ปังชา’ เป็นการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์

สำหรับใครที่อาจจะยังสับสนนิยามของคำต่างๆ เหล่านี้ 

‘ลิขสิทธิ์’ คือความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของผลงานโดยตรง เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีด้วยกัน 9 ประเภท อาทิ งานวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี ภาพวาด ภาพถ่าย เป็นต้น ซึ่งจะคุ้มครองเรื่องไอเดียเป็นหลัก เพราะฉะนั้นชื่อแบรนด์ ‘ปังชา’ ไม่ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ จึงสามารถจดเครื่องหมายการค้าได้เท่านั้น

‘เครื่องหมายการค้า (trade mark)’ คือ สัญลักษณ์หรือตราสินค้า (logo) ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างการจดจำและแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าของเราแตกต่างจากของคนอื่นยังไง กรณีของปังชาเป็นการจดคำว่า ‘ปังชา’ ซึ่งสามารถจดได้ เพราะเป็นคำทั่วไป และเป็นคำที่บ่งบอกคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจไม่สามารถจดคำว่า ชา ได้ เนื่องจากชาเป็นคำสามัญ ดังนั้นร้านต่างๆ จะไม่สามารถนำโลโก้ ปังชา และ Pang Cha ไปใช้ได้ ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด

ส่วนเรื่องการจด ‘สิทธิบัตร (Patent)’ เป็นหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้กับผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้น เพื่อให้สิทธิ์ในการป้องกันไม่ให้คนอื่นนำสิ่งที่คิดไปใช้ในช่วงเวลาที่กฎหมายคุ้มครองอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วสิทธิบัตรไม่ใช่เอกสารหรือกระดาษแผ่นหนึ่ง แต่เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ เช่น แบรนด์ Gillette ที่มีผลิตภัณฑ์มีดโกนใบมีด 3 ชั้น ซึ่ง Gillette ได้จดสิทธิบัตรแล้ว จึงสามารถขายมีดโกนและด้ามมีดโกนของตัวเองได้ แบรนด์อื่นไม่สามารถผลิตใบมีดโกนให้ใช้กับด้ามของ Gillette ได้ ดังนั้น หากต้องการใช้มีดโกนใบมีด 3 ชั้น ก็ต้องซื้อใบมีดและด้ามของ Gillette เท่านั้น

ทั้งนี้ ผู้จดสิทธิบัตรต้องเปิดเผยองค์ความรู้จากนวัตกรรมนั้นๆ เพื่อให้คนอื่นนำองค์ความรู้นั้นไปต่อยอดเมื่อสิทธิบัตรนั้นสิ้นสุดอายุลง 

เบื้องต้น สิทธิบัตร มี 3 ประเภทหลักๆ คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และอนุสิทธิบัตร ให้ความคุ้มครองเรื่องกรรมวิธี และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แต่จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันรวมถึงเรื่องระยะเวลาการคุ้มครอง

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent) ให้ความคุ้มครองกับการประดิษฐ์ที่มีความใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอุตสาหกรรม มีระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปีนับตั้งแต่วันยื่นจด และไม่สามารถต่ออายุได้
  • อนุสิทธิบัตร (petty patent) การประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อนด้านเทคโนโลยีมากนัก แต่ต้องมีความใหม่ นำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอุตสาหกรรม เช่น จากเก้าอี้ธรรมดา เมื่อเพิ่มล้อเข้าไป เกิดประโยชน์ใช้สอย ก็สามารถจดอนุสิทธิบัตรได้ มีระยะเวลาคุ้มครอง 6 ปีนับตั้งแต่วันยื่นจด ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี คุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (design patent) แตกต่างจาก 2 ประเภทแรกตรงที่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะคุ้มครองงานออกแบบเกี่ยวกับรูปร่างภายนอกของผลิตภัณฑ์ รวมถึงลวดลาย สีและองค์ประกอบภายนอก เช่น ลวดลายผ้า ดีไซน์รถยนต์ ดีไซน์รูปทรงขวดน้ำ เป็นต้น โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี สำหรับกรณีของปังชา เป็นการจดสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ “ถ้วยใส่น้ำแข็งไส” รวมถึงลวดลายบนภาชนะด้วย

ในส่วนของสูตรปังชา ทางร้านไม่สามารถจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสูตรอาหารได้ ดังนั้น คนทั่วไปหรือผู้ประกอบการร้านอาหาร สามารถทำขายได้ตามปกติ โดยเป็นผู้คิดค้นสูตรเอง ไม่เลียนแบบต้นฉบับ เพราะสูตรถือเป็นความลับทางการค้าอย่างหนึ่ง ที่ไม่ต้องขอรับความคุ้มครองหรือจดทะเบียน

สำหรับธุรกิจที่มีแผนธุรกิจชัดเจน หรือต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศ ควรศึกษาเรื่องการจดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มมูลค่าธุรกิจในระยะยาว และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

อ้างอิงข้อมูลจาก

Writer

นักเขียนที่สนใจเรื่องธุรกิจ การตลาด และความเป็นไปในสังคม

Photographer

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like