นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Family Business

วิธีทำให้คนรุ่นลูกอยากสานต่อในธุรกิจที่คนรุ่นพ่อสร้างมา แบบฉบับของ เสถียร แห่งคาราบาวกรุ๊ป จากงาน Family Business in the Changing World

“รุ่นหนึ่งสร้าง รุ่นสองต่อยอด รุ่นสามทำลาย” ประโยคสุดคลาสสิกที่กลายเป็นเหมือนคำสาปของธุรกิจครอบครัว ซึ่งจากสถิติก็ได้บอกว่าส่วนใหญ่แล้วธุรกิจครอบครัวจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 34 ปีเท่านั้น

ทว่าหากมองลึกลงไปในองค์กรที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะเห็นว่ากว่า 57% ของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฯ ล้วนแต่เป็น ‘ธุรกิจครอบครัว’ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัททั้งหลายในเครือซีพี, กลุ่มเซ็นทรัล, โอสถสภา, ทีคิวเอ็ม หรือคาราบาวกรุ๊ป เป็นต้น 

ซึ่งธุรกิจครอบครัวนี้ก็มีมูลค่า Market Cap มากถึง 8 ล้านล้านบาท และความใหญ่ของธุรกิจก็ยังส่งผลต่อการจ้างงานมากถึง 920,000 อัตรา

เมื่อธุรกิจครอบครัวมีส่วนในการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยมากถึงเพียงนี้ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงาน Family Business in the Changing World ขึ้นมา โดยชวนผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของธุรกิจครอบครัวทั้งเจนฯ พ่อและเจนฯ ลูกมาแชร์ความรู้และประสบการณ์ ที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวเติบโต ส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกหลายๆ รุ่นได้

หนึ่งในเคสจริงของการทำธุรกิจครอบครัวที่น่าสนใจคือเรื่องราวของ ‘คุณเสถียร เสถียรธรรมะ’ ผู้ก่อตั้งบริษัทมหาชนมูลค่าแสนล้านอย่าง ‘คาราบาวกรุ๊ป’

คุณเสถียรบอกว่าการจะให้ลูกหลานที่เรารักมาช่วยสืบทอดกิจการ การเลี้ยงดูมีส่วนสำคัญอย่างมาก ยิ่งให้ลูกมาเรียนรู้ได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะได้รู้ว่าเขาอยากรับช่วงต่อหรือไม่ ชอบทำธุรกิจแบบเดียวกับพ่อหรือเปล่า จะได้วางแผนกันต่อไป

คุณเสถียรให้ลูกๆ ได้ซึมซับในสิ่งที่เขาทำตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ปิดเทอมก็ให้มาช่วยงานที่บริษัท เริ่มจากตำแหน่งล่างสุด อย่างลูกชายคนโตก็ให้ไปอยู่กับสาวบาวแดง ออกต่างจังหวัดนอนโรงแรมคืนละ 300-400 ลูกชายคนที่ 2 ก็ให้มาเป็นเด็กเสิร์ฟที่โรงเบียร์ ส่วนลูกสาวอีกคนก็ให้ไปเริ่มตั้งแต่กวาดพื้น 

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่เพื่อเรียนรู้งาน แต่เพื่อให้เข้าใจชีวิตจริงๆ 

เพราะในฐานะของคนที่เกิดมาแบบไม่มีต้นทุนชีวิตที่ดีมากนัก กว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ต้องฝ่าฟันอะไรมากมาย ทั้งยืนขายก๋วยเตี๋ยว ทั้งทำงานรับจ้างมาสารพัด คุณเสถียรจึงคิดว่า

“ต้องเข้าใจคน เข้าใจชีวิต เข้าใจสังคมก่อน ถึงจะเข้าใจเรื่องงานได้”

และเมื่อคนรุ่นลูกสนใจที่จะสานต่อธุรกิจของครอบครัว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่คนรุ่นพ่อต้องเปิดใจ ให้โอกาส รวมถึงให้อำนาจในการตัดสินใจด้วยเช่นกัน 

ในเรื่องของการเปิดใจและให้โอกาส คุณเสถียรบอกว่ามันคือการยอมให้ลูกทำสิ่งใหม่ๆ แม้เขาจะเป็นมือใหม่แต่อย่าลืมว่า ‘ทุกคนก็เคยเป็นคนใหม่’ มาทั้งนั้น ไม่มีใครพร้อมมาตั้งแต่เกิด แล้วหากเทียบตอนอายุ 30 เหมือนกัน เผลอๆ คนอายุ 30 ในยุคนี้ เก่งยิ่งกว่าคนอายุ 30 ในยุคก่อนซะอีก ซึ่งถ้าลูกไม่พร้อมก็เป็นหน้าที่ของคนเป็นพ่อนี่แหละที่ต้องเตรียมความพร้อมให้

ส่วนการให้อำนาจตัดสินใจ คุณเสถียรสอนเรื่องการตัดสินใจให้กับลูกๆ ว่า “ประเด็นไม่ได้อยู่ว่าป๊าตัดสินใจไว้ยังไง เรื่องสำคัญกว่านั้นที่ลูกๆ ควรรู้ก็คือว่า ทำไมป๊าถึงตัดสินใจแบบนี้ต่างหาก เพราะกระบวนการการคิดก่อนจะตัดสินใจมันเป็นเรื่องสำคัญมาก”

อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือแม้จะขึ้นชื่อว่าธุรกิจครอบครัว แต่การเอาคนนอกที่เป็นมืออาชีพเข้ามาช่วยบริหารก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยในการทำธุรกิจยั่งยืนต่อไป เพราะการมีคนนอกทำให้มีกฎกติกาที่ต้องทำตามมากขึ้น และเส้นของความเกรงใจที่มีต่อคนนอกมักมีมากกว่าเส้นความเกรงใจที่มีต่อคนในครอบครัว บางครั้งสิ่งที่คนนอกพูดมักจะเข้าหูมากกว่าคนในบ้านพูดกันเอง 

ท้ายที่สุด หลายคนที่ทำธุรกิจครอบครัวมักกังวลว่าเรื่องของธุรกิจจะทำให้เกิดความขัดแย้งแล้วมากระทบความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือไม่ คุณเสถียรได้แชร์มุมมองเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ เขาคิดว่าความขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการบริหารความขัดแย้งให้ได้ด้วยการกำหนดกฎกติกาต่างๆ ขึ้นมา แล้วให้นึกเอาไว้เสมอว่าเป้าหมายสูงสุดของสถาบันที่เรียกว่าครอบครัวนั้นคือความสุข  

“คำว่าธุรกิจครอบครัว สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ธุรกิจ แต่คือครอบครัว” คุณเสถียรกล่าวทิ้งท้าย

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like