นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

waste isn’t waste until we waste it

‘ดีไซน์ดี ฟังก์ชั่นได้’ Wastic Thailand แบรนด์แว่นและสารพัดสินค้าไลฟ์สไตล์ที่คืนชีวิตขยะพลาสติก  

เชื่อไหมว่า อุตสาหกรรมแว่นถือเป็นอุตสาหกรรมที่ปรับตัวให้ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ยากและท้าทายอุตสาหกรรมหนึ่ง และในปีหนึ่งๆ อุตสาหกรรมที่ว่านี้ก็ผลิตขยะแว่นตาเหลือทิ้งมหาศาล 

แม้การซื้อแว่นวินเทจเก่าเก็บมาใส่จะเป็นหนึ่งในหนทางที่ช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบได้ดี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากับบางคน การได้จับจ่ายใช้สอยและการใช้ของมือหนึ่งก็น่าอภิรมย์กว่า 

เพราะแบบนี้ Wastic Thailand แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์จากขยะพลาสติกของ 4 เพื่อนซี้ที่พบกันในห้องเรียนการจัดการขยะทางทะเลอย่าง หมิว–กมลชนก คล้ายนก, โบ–อริสรา พิทยายน, มุก– สินีนาฏ  จารุวาระกูล และ ลิลลี่–รสลิน  อรุณวัฒนามงคล จึงเกิดขึ้น 

“Wastic Thailand มาจากคำว่า waste บวกกับ plastic เราตั้งใจให้อ่านว่า ‘วาส-ติก’ แทนที่จะเป็น ‘เวส-ติก’ เพราะอยากช่วยปรับภาพลักษณ์ของสินค้าที่ทำมาจากขยะ และปรับมุมมองให้คนเห็นว่าวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้นำกลับมาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าได้” หมิว ตัวแทนจาก Wastic Thailand บอกกับเราแบบนั้น

แม้แว่นกันแดดจะเป็นจุดสตาร์ทของ Wastic Thailand แต่ความตั้งใจของเพื่อนซี้ทั้งสี่คือการทำสารพัดสินค้าจากขยะพลาสติกให้สวยงามและใช้ได้จริง เพื่อเป็นทางเลือกให้ทั้งคนที่ใช้ชีวิตแบบ zero waste อยู่แล้วมีสินค้าสวยๆ ใช้ และเป็นตัวเลือกให้คนทั่วไปมีช่องทางเข้าถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม 

แพสชั่นในห้องเรียนจัดการขยะ

ก่อนหน้านี้ทั้งหมิว โบ มุก และลิลลี่ไม่รู้จักกันมาก่อน แต่สิ่งที่นำพาให้ทั้งสี่คนกลายมาเป็นเพื่อนรักเพื่อนธุรกิจคือห้องเรียนปริญญาโทสาขาวิชาการจัดการขยะทางทะเล หรือ Marine Plastic Abatement Program ซึ่งเป็นทุนการศึกษาจาก Asian Institute of Technology 

“ทุกคนมีที่มาต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม อย่างตัวหมิวเอง ญาติฝั่งแม่ก็ทำโรงงานถุงขยะพลาสติกซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลอยู่แล้ว และทางบ้านก็ซื้อขายพลาสติกรีไซเคิลอยู่ด้วย เหมือนกับว่าเราคุ้นชินกับสิ่งเหล่านี้มาตลอด 

“แต่จุดที่อยากทำอะไรสักอย่างคือตอนที่เรามานั่งคิดจริงๆ ว่าวันหนึ่งๆ เราสร้างขยะจำนวนกี่ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหารเดลิเวอรี การสั่งกาแฟตามร้าน หรือการซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต พอ AIT มีทุนให้เรียนเรื่องจัดการขยะเราเลยลงเรียนเพราะอยากจะทำความเข้าใจมันจริงๆ”

แม้ชื่อโปรแกรมจะพูดถึงขยะทางทะเล แต่สิ่งที่ทั้ง 4 คนได้ทำความเข้าใจนั้นกว้างกว่านั้นมาก ตั้งแต่ประเภทของขยะ ไปจนถึงวิธีการรีไซเคิลพลาสติกที่มีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่ได้ชื่อว่าการจัดการขยะทางทะเลก็เพราะถ้าหากเราไม่หยิบจับขยะมารีไซเคิลหรืออัพไซเคิล สุดท้ายแล้วขยะเหล่านั้นจะถูกนำไปฝังกลบ และเมื่อเวลาผ่านไปก็จะถูกชะลงทะเลไปหาเต่า ปลา ปะการัง และสารพัดสัตว์ทะเลอยู่ดี

“ท้ายที่สุด ทุกคนจะต้องทำโปรเจกต์จบหนึ่งชิ้น ซึ่ง Wastic Thailand ก็เริ่มต้นจากโปรเจกต์ของพี่โบนี่แหละ” หมิวบอก

จุดกึ่งกลางระหว่างธุรกิจที่ดีและธุรกิจที่เติบโต

แรกเริ่มโบตั้งใจทำกรอบแว่นเพื่อนำไปให้ผู้ด้อยโอกาส เพราะมีคนจำนวนมากที่ขาดแคลนแว่นสายตาเพราะงบประมาณไม่ถึง ขณะเดียวกัน ขยะจากอุตสาหกรรมการผลิตแว่นก็มีมหาศาล แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง เมื่อคิดจะพัฒนาเป็นธุรกิจจริงจัง โปรเจกต์ของโบจึงต้องปรับเปลี่ยน

หมิวเล่าว่ากรอบแว่นในโปรเจกต์ของโบนั้นหลอมขึ้นจากฝาขวดน้ำซึ่งเป็นพลาสติกประเภท HDPE ที่พอทำออกมาแล้วไม่ค่อยเวิร์ก เนื่องจากแว่นตัวอย่างนั้นค่อนข้างคมและไม่เหมาะกับการใช้งาน สุดท้าย พวกเธอจึงคิดผลิตกรอบแว่นจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลประเภท rPET ซึ่งเป็นพลาสติกประเภทเดียวกับขวดน้ำดื่ม โดยแว่น 1 อันเทียบเท่ากับการลดขยะขวดพลาสติกไปได้ถึง 2 ขวด

“อีกอย่าง ตอนแรกพี่โบตั้งใจทำกรอบแว่นสายตาให้ผู้ด้อยโอกาสใช่ไหม แต่มันค่อนข้างซับซ้อนเพราะเราต้องไปโคฯ กับร้านแว่นหลายร้าน ทั้งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยของการทำแว่นอีกมาก เราจึงเปลี่ยนมาทำเป็นแว่นกันแดดที่มันเข้าถึงคนได้หลากหลายกลุ่มมากกว่า 

“จริงอยู่ที่ความเชื่อของเราคือธุรกิจจะต้องสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจก็ต้องอยู่ได้และเติบโตด้วย เพราะถ้าเราอยู่ไม่ได้เราก็ไม่สามารถที่จะส่งต่อความตั้งใจนั้นต่อไปได้เลย” หมิวอธิบาย

แว่นตากันแดดจากพลาสติกรีไซเคิลของ Wastic Thailand จึงออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ความน่าสนใจคือแว่นตากันแดดของพวกเธอยังผลิตจากวัสดุชนิดเดียวซึ่งง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลมากกว่า เพราะปัญหาของการรีไซเคิลขยะในปัจจุบันคือขยะ 1 ชิ้นนั้นมีวัสดุหลากหลายแบบจนนำไปรีไซเคิลได้ยากนั่นเอง

ธุรกิจ eco-friendly ที่ต้องดีไซน์สวย

“ก่อนพัฒนาเป็น Wastic Thailand พวกเรารีเสิร์ชกันมาและพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่คำนึงถึงเรื่องดีไซน์ ฟังก์ชั่น และราคาเป็นอันดับแรกๆ ส่วนเรื่องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นอยู่อันดับท้ายๆ”  

เพราะข้อมูลนั้นเอง ความตั้งใจของทั้ง 4 คนจึงไม่ใช่การทำ Wastic Thailand ให้ดูเป็นมิตรกับโลกขั้นสุด แต่พวกเธอต้องนำเสนอภาพของ Wastic Thailand ให้สวยงามน่าใช้

“เราออกแบบกันเอง ก่อนที่จะให้โรงงานผลิตแว่นช่วยปรับดีไซน์เล็กน้อยเพื่อให้ได้มาตรฐาน ส่วนเรื่องสีสันก็คำนึงถึงความสวยงามเป็นอย่างแรก เพราะที่จริงเราก็อยากทำแว่นสีใส แต่ด้วยความที่แว่นของเราผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล แว่นแต่ละชิ้นเลยอาจจะไม่เหมือนกัน และบางชิ้นก็ดูไม่สวยงาม เราเลยเลือกทำเป็น 3 สีที่ได้แรงบันดาลใจจากท้องทะเล”

คอลเลกชั่นแว่นกันแดดคอลเลกชั่นแรกของ Wastic Thailand ได้ชื่อว่า On Board ประกอบด้วยแว่นสีน้ำตาลส้มอย่าง Surf & Sand สื่อถึงฟองคลื่นทะเลที่ซัดบนหาดทรายสีขาวไร้ขยะ สี Endless Blue ที่สื่อถึงน้ำทะเล และสี Stunning Sunset ที่สื่อถึงทะเลยามอาทิตย์ตก สีเหล่านี้เป็นสียูนิเซ็กซ์ที่ทั้งสี่คนต้องการให้ใส่ได้ทุกเพศทุกวัย และแมตช์ได้หลายลุค 

“เราไม่ค่อยอยากโปรโมตแบรนด์ไปในทางสิ่งแวดล้อมมากขนาดนั้น เพราะเราคิดว่าเรื่องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมันเป็นสิ่งพื้นฐานอยู่แล้ว เราจึงอยากให้ Wastic Thailand เป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นทางเลือกให้คนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมก็มีของสวยๆ ให้เลือกใช้ และคนทั่วไปก็เข้าถึงสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้ด้วย”

ราคาเข้าถึงได้และสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม 

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ลองทายดูว่าแว่นกันแดดจาก Wastic Thailand นั้นสนนราคาอยู่ที่เท่าไหร่

คำตอบคือ 990 บาท! ซึ่งถ้าเทียบกับแว่นกันแดดตามร้านแว่นสายตา รวมถึงร้านแว่นสายแฟชั่นทั่วไป ถือว่าราคา 990 บาทนั้นเป็นราคาที่เข้าถึงได้ และถ้าเทียบกับแว่นกันแดดที่ใช้วัสดุรีไซเคิลที่วางขายในต่างประเทศก็ถือว่าถูกยิ่งกว่า

“ราคาแว่นกันแดดจากวัสดุรีไซเคิลในต่างประเทศอยู่ที่ 3,000-5,000 บาท เพราะสินค้าจากวัสดุรีไซเคิลนั้นเป็นสินค้าที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อน ทั้งยังต้องคิดค้นวิจัยให้สินค้ามันสวยงามและแข็งแรงเพราะบางครั้ง วัสดุเหล่านี้ก็อาจไม่ทนทานเท่าวัสดุมือหนึ่ง แต่ความตั้งใจของเราสี่คนคือ Wastic Thailand ต้องราคาเข้าถึงได้ เราจึงพยายามทำราคาให้ดีที่สุด”

ราคาที่เข้าถึงได้ตรงนี้เองถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างธุรกิจที่ดีต่อสังคม แต่ทั้งสี่คนยังไปสุดกว่านั้น ด้วยการทำงานโดยคำนึงถึงกลุ่มบุคคลต่างๆ  

กลุ่มแรกคือกลุ่มชุมชน โดย Wastic Thailand ร่วมมือกับชุมชนต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนำวัสดุธรรมชาติมาผลิตกล่องแว่น แม้จะทำให้ต้นทุนของ Wastic Thailand เพิ่มขึ้น แต่ทั้งสี่คนก็เห็นพ้องต้องกันว่าการกระจายรายได้สู่ชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ 

ส่วนกลุ่มที่สอง หมิวเล่าว่าพวกเธอยังตั้งใจให้ลูกค้านำแว่นตาแบรนด์ต่างๆ รวมถึงแว่นของพวกเธอเองที่ลูกค้าไม่ต้องการแล้วมาส่งต่อให้กับ Wastic Thailand เพื่อที่แบรนด์จะนำแว่นเหล่านั้นส่งมอบให้โครงการแว่นปันสุขของร้านแว่น IWear Optical Outlet ที่จะนำแว่นไปบริจาคให้กับผู้ด้อยโอกาสอีกต่อหนึ่ง

แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ที่ชุบชีวิตพลาสติกให้กลับมามีคุณค่า

แม้พวกเธอจะเข้าใจอย่างถ่องแท้จากการร่ำเรียนเกี่ยวกับการจัดการขยะว่าการทำธุรกิจที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีกระบวนการที่ซับซ้อนและต้นทุนที่สูงกว่า แต่พวกเธอก็ยังเดินหน้าต่อด้วยเหตุผลที่ว่า

“ธุรกิจที่ดีในมุมมองของเราคือธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมและสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนั้น ถ้าธุรกิจนั้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ก็จะถือว่าเป็น first mover ที่สร้างสิ่งดีๆ ให้วงการได้” 

ดังนั้น แว่นกันแดดคอลเลกชั่นแรกซึ่งป้องกันรังสี UVA, UVB และ UVC ได้สูงสุด 400 นาโนเมตร แถมยังเบาเพียง 23 กรัม จึงถือเป็นจุดสตาร์ทในฐานะสตาร์ทอัพด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เพราะในอนาคต พวกเธอยังตั้งใจสร้างสรรค์สินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้ได้จริงอีกหลากหลายแบบเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าทุกกลุ่มด้วย  

“เราเห็นโอกาสว่าตอนนี้ ในประเทศไทย ยังไม่ค่อยมีร้านหรือแบรนด์ที่ผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิลที่ราคาเข้าถึงได้ ใช้ได้จริง และดีไซน์ดี เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ลูกค้าหลายๆ กลุ่ม เราจึงตั้งเป้าหมายว่า Wastic Thailand จะต้องเป็นแบรนด์แรกๆ ที่ทำสิ่งนั้นให้ได้”

ฟังแล้วก็ได้แต่ตื่นเต้นว่าสินค้าชิ้นต่อๆ ไปจาก Wastic Thailand จะคืนชีวิตให้พลาสติกไร้ค่ากลับมามีค่าในรูปแบบไหนบ้าง

What I’ve Learned
1. “ถ้าอยากมีธุรกิจของตัวเอง ต้องพยายามหาธุรกิจที่ตอบความต้องการของตัวเองด้วย และจะต้องไม่ใช่แค่คิดว่าอยากมีเฉยๆ แล้วนั่งทำงานต่อไป แต่จะต้องลองพยายามค้นหาธุรกิจที่ใช่ไปด้วย”
2. “กลุ่มลูกค้าของธุรกิจแวดวงสิ่งแวดล้อมนั้นมีอยู่จริงและพร้อมจะซัพพอร์ตเราเสมอ หากเราทำอย่างตั้งใจและจริงจัง”
3. “service mind เป็นสิ่งสำคัญ เหมือนกับที่ร้านกาแฟก็เกิดขึ้นมากมาย แต่สตาร์บัคส์ก็ยังอยู่ได้ด้วยองค์ประกอบรอบข้าง”

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like