นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

วิธีการจัดระบบงานของ Sabina ที่ทำให้องค์กรยืนระยะมาจนถึงขวบปีที่ 52 ได้

The Productivity of Sabina

นอกจากความหลากหลายและความพิถีพิถันของชุดชั้นในที่มีให้เลือกมากมาย อีกสิ่งสำคัญที่ทำให้ Sabina กลายเป็นองค์กรที่ยืนระยะมาได้นานกว่า 50 ปีก็คือการ ‘ลีน’ องค์กร 

โดย Sabina ปักหมุดหมายในโรดแมปอีก 4 ปีข้างหน้าว่า Sabina จะเป็น ‘lean enterprise’

แม้เราจะคุ้นหูและเคยได้ยินคำว่าลีนองค์กรกันบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เห็นหลายบริษัทหลากองค์กรต่างลุกขึ้นมาลีนองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น แต่สำหรับ Sabina นั้น พวกเขาลีนองค์กรมาหลายสิบปีแล้ว

 ‘ลีน (lean)’ แปลว่าการกำจัดความสูญเปล่า การกำจัดความสูญเปล่าคือทำสิ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

แล้ว Sabina ลีนองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างไร

Kaizen in the workplace

ไคเซน (Kaizen) คือกลยุทธ์การบริหารงานแบบญี่ปุ่น อธิบายความหมายอย่างง่ายคือการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปรับปรุงไปในทางที่ดี ซึ่งเมื่อเอามาใช้เป็นหลักในการบริหารโรงงาน นั่นคือการลดกระบวนการทำงานให้น้อยลง แต่ตัวผลงานที่ได้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

วิธีการที่ Sabina ทำคือการไปพูดคุยกับพนักงานที่อยู่ในขั้นตอนนั้นๆ โดยตรง พนักงานแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะเสนอแนวทางการทำงานหรือไคเซนในแบบของตัวเอง เพราะเป็นคนที่เข้าใจและรู้ความสามารถของตัวเองได้มากที่สุด

ดวงดาว มหะนาวานนท์ CEO คนปัจจุบันของ Sabina บอกว่า “สิ่งเหล่านี้มันกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองสามารถพัฒนาได้ด้วย”

“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น อย่างพนักงานฝ่ายเย็บ ในหัวของเขาก็จะรู้เลยว่าการทำงานแนวไคเซนของเขานั้นเป็นแบบไหน แล้วก็จะรู้วิธีการปรับการเย็บให้สามารถทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น เย็บแบบเดิมชั่วโมงนึงได้จำนวน 20 ชิ้น พอปรับใหม่กลายเป็นว่า 1 ชั่วโมงเขาสามารถเย็บได้ 25 ชิ้น

“หรืออย่างพนักงานคลังสินค้า ปกติเขาต้องหยิบถุงแล้วเอาสินค้ามาจัดเรียงลงถุง จากนั้นเขาก็ต้องกลับมาหยิบถุงนั้นส่งต่อเอาไปใส่ลงกล่อง พอต้องเดินกลับไปมา หรือทำหลายขั้นตอนมากๆ บางคนเลยเสนอมูฟไปทำด้านหนึ่งของโรงงานเลยดีกว่า ใกล้ๆ กับจุดที่ต้องแพ็กหยิบใส่เลย เพราะจะได้โฟลว์การทำงานไปรอบเดียวเลย เร็วขึ้น ดีขึ้น

“เหล่านี้เป็นไคเซนที่พนักงานคิดกันเองทั้งนั้น”

Made some adjustments in the workplace

จากการนั่งเย็บ เปลี่ยนเป็นการยืนเย็บ แม้จะดูเป็นจุดเล็กๆ ในกระบวนการผลิต แต่กลับส่งผลต่อองค์กรอย่างยิ่งใหญ่และน่าสนใจ

เพราะนี่คือการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตเพื่อให้เกิดการไหลลื่นของงานอย่างต่อเนื่อง (continuous flow) การเปลี่ยนจากการนั่งเย็บเป็นการยืนเย็บเป็น turning point สำคัญที่ช่วยให้ Sabina ลีนองค์กรได้เป็นอย่างดีหลังจากที่เจอวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 

การเปลี่ยนระบบผลิตจากนั่งเป็นยืนช่วยให้ Sabina ลดระยะเวลาการส่งมอบสินค้า และใช้ทรัพยากรลดลงถึงครึ่งหนึ่ง โดยก่อนจะมีการปรับให้พนักงานยืนเย็บ 1 ไลน์การผลิตสินค้าจะใช้พนักงานเย็บประมาณ 40 คน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 20 คนเท่านั้น

“เมื่อเปลี่ยนจากนั่งเย็บมาเป็นยืนเย็บ ก็ทำให้โพรเซสในการทำงานลดน้อยลง เพราะเวลานั่งเย็บเมื่อจะหยิบของทีเราก็ต้องเสียเวลาลุกจากเก้าอี้ทีนึง แต่ถ้าเปลี่ยนมายืนปุ๊ป หากเย็บที่จักรแรกเสร็จก็สามารถหันข้างมาเย็บที่จักรข้างๆ ได้ต่อ เมื่อพนักงานคนนึงสามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งจักร ก็ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์การทำงาน จากเดิมหนึ่งไลน์ผลิตใช้คน 40 คน ปัจจุบันก็เหลือ 20 คน ส่วนคนที่เหลือก็เทรดไปทำไลน์ผลิตอื่นๆ แทน แล้วบริษัทก็ได้ชิ้นงานจากหลายไลน์ผลิตในจำนวนคนเท่าเดิม”

Team-based incentive in the workplace

หนึ่งกระบวนการที่ Sabina ใช้คือการปรับโมเดลการคิดค่าจ้าง จากงานโหลที่แข่งกันทำ พนักงานคนไหนทำได้มากชิ้น ก็จะได้เงินมาก มาเป็น team-based incentive ที่ในกระบวนการผลิตพนักงานในฝ่ายจะได้ incentive ที่เท่ากันเพื่อให้เกิดการช่วยกันทำงาน

“ย้อนไปในช่วงการปรับขึ้นค่าแรงเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 300 บาท แน่นอนว่าตอนนั้นส่งผลกับเรามาก เพราะต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบโดยตรงทันทีเราจึงต้องปรับโครงสร้างการคิดค่าจ้างใหม่ เราจะมีคำว่าการเย็บงานที่เป็นเหมือนงานโหล โดยพนักงานจะเย็บงานเป็นคูปองร้อยชิ้น ครบร้อยชิ้นถึงได้ค่า incentive 5 บาท เพราะฉะนั้นหากเขาอยากได้ 50 บาท เขาจะเย็บให้ได้ 1,000 ชิ้น โดยเขาไม่สนใจว่า 1,000 ชิ้น ที่เขาทำได้นั้นส่วนที่เหลือจะสามารถส่งต่อให้พนักงานคนต่อไปทำได้กี่ชิ้น

“ซึ่งนี่เป็นข้อเสียของระบบคูปอง สิ่งที่เราเปลี่ยนคือ เปลี่ยนจากการได้ incentive รายบุคคล เป็นการให้แบบ team-based incentive ทุกคนในทีมจะได้ incentive เท่ากันหมด กลายเป็นว่าพนักงานจะเกิดการช่วยกันทำทันที”

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆ องค์ประกอบทั้งในรูปแบบ cross-functional team ที่พนักงานคนหนึ่งสามารถทำได้หลายตำแหน่ง หรือ agile thinking ที่ทำให้เกิดความหลากหลายและสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

จากการ lean manufacturing ที่ทำมานานนับสิบๆ ปี ตอนนี้ Sabina กำลังทรานฟอร์มปรับสู่ความเป็น lean enterprise ที่มีจุดมุ่งหมายในการกำจัดความสูญเปล่าของทุกกระบวนการในห่วงโซอุปทาน

เพื่อเป็น From Supplier to Customer ตามพันธกิจที่ Sabina ได้วางเป้าหมายไว้

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst