นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

รู้จัก pitch fee ระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เอเจนซีคิดงานฟรี ที่ 3 สมาคมโฆษณาไทยลุกขึ้นมาปรับใหม่ในรอบเกือบ 20 ปี

‘พิตช์งาน’ เป็นคำที่หลายคนเคยได้ยินกันบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนในวงการโฆษณา ซึ่งความหมายของคำนี้ก็คือเมื่อแบรนด์ต้องการจะทำแคมเปญหรือโฆษณาอะไรสักอย่าง ก็มักจะเรียกเอเจนซีโฆษณาหลายๆ เอเจนซีมารับโจทย์เพื่อให้นำกลับไปคิด แล้วนำมาเสนอกับแบรนด์ใหม่ เอเจนซีไหนชนะใจแบรนด์ก็พิตช์งานนั้นไปได้

ซึ่งภายใต้การพิตช์งานแต่ละครั้งจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘pitch fee’ ที่หมายถึงค่าธรรมเนียมในการแข่งขันเพื่อนำเสนองาน โดยอัตราของค่าธรรมเนียมมีตั้งแต่ 50,000 ไปจนถึง 100,000 บาท ที่ฝั่งแบรนด์ต้องจ่ายให้กับเอเจนซีที่เรียกเข้าไปนำเสนองาน

ถามว่าทำไมถึงต้องมี pitch fee?

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ สมมติเวลาแบรนด์มีโปรเจกต์ที่อยากจะทำสามารถเรียกเอเจนซีโฆษณาเข้ามานำเสนองานกี่เจ้าก็ได้ แต่สุดท้ายก็เลือกแค่เพียงเจ้าเดียว ทว่าขั้นตอนของการคิดงานเพื่อไปพิตชิ่งแต่ละครั้งล้วนแต่ต้องอาศัยต้นทุนมากมาย ทั้งเรื่องของคน ความคิด เวลา ค่ารีเสิร์ช ซึ่งการไปพิตช์แต่ละครั้งเฉลี่ยแล้วใช้เวลาเตรียมตัวนานร่วมเดือนเลยทีเดียว

ดังนั้นเพื่อความยุติธรรมกับคนทำงานและไม่ให้เป็นการบั่นทอนการทำงานของคนวงการโฆษณา สมาคมโฆษณาไทยจึงมีการกำหนดสิ่งที่เรียกว่า ‘pitch fee’ ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์เรียกเอเจนซีเข้าไปนำเสนอมากจนเกินไปจนอาจกลายเป็นผลเสียต่อวงการโฆษณาในระยะยาวได้ โดย ‘pitch fee’ เป็นสิ่งที่เริ่มทำมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547

จนกระทั่งวันนี้ (29 กรกฎาคม 2565) สมาคมโฆษณาทั้ง 3 ของไทยคือ 1. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย 2. สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) 3. สมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ได้มาจับมือกันประกาศปรับเกณฑ์ pitch fee ครั้งใหม่ ซึ่งต้องบอกว่าเรตราคาของค่าธรรมเนียมในปัจจุบันนั้นไม่แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีก่อนหน้า คืออยู่ที่ราวๆ 50,000-100,000 บาท เหมือนเดิม

แต่ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือการปรับรายละเอียดและเงื่อนไขบางอย่างให้เข้ากับยุคสมัย เพราะเมื่อก่อนการทำโฆษณาหลักๆ แล้วก็มีเพียงแค่การรับบรีฟ ครีเอตแคมเปญ แล้ว execute ไอเดีย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าโฆษณาดิจิทัล มีเรื่องดาต้า มีสื่อออนไลน์มากมาย ดังนั้นแล้วการปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ก็เพื่อทำให้รายละเอียดต่างๆ เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปขึ้น

แล้วพิตช์แบบไหน ต้องจ่าย pitch fee เท่าไหร่ หากเป็นเรตของสมาคมโฆษณาประเทศไทย รายละเอียดคือ 
พิตช์ด้วยการเสนอประวัติและงานที่ผ่านมา : ไม่มีค่าธรรมเนียม
พิตช์กลยุทธ์ : มีค่าธรรมเนียม 50,000 บาท / 1 เอเจนซี
พิตช์แบบนำเสนอแคมเปญใหญ่และงานครีเอทีฟต่างๆ : มีค่าธรรมเนียม 100,000 บาท / 1 เอเจนซี

และหากเป็นเรต pitch fee ของสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย
พิตช์งานแบบเต็มรูปแบบ (วางแผนไปถึง journey การซื้อของลูกค้า) ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 100,000 บาท
พิตช์งานแบบไม่เต็มรูปแบบ ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 50,000 บาท

แม้รายละเอียด pitch fee ของแต่ละสมาคมจะต่างกันออกไปตามรูปแบบโฆษณาที่ไม่เหมือนกัน แต่หลักการในการเรียกเก็บนั้นแทบไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ คือเมื่อเอเจนซีได้รับการติดต่อจากแบรนด์ให้เข้าไปพิตช์งาน ตัวเอเจนซีจะต้องแจ้งให้สมาคมฯ รู้ว่าเดี๋ยวจะมีการพิตช์งานเกิดขึ้นนะ จากนั้นทางสมาคมจะไปเรียกเก็บค่า pitch fee จากทางแบรนด์ เมื่อเก็บเงินได้สมาคมก็จะบอกให้เอเจนซีดำเนินการพิตช์งานต่อไป

ถ้าหากเอเจนซีไหนที่พิตช์งานได้ สมาคมจะนำเงินค่า pitch fee ส่งคืนลูกค้าเพราะถือว่าเอเจนซีได้ประโยชน์จากการได้งานนั้นแล้ว ต้นทุนต่างๆ ที่ใช้ในการคิดงานมาก็ถือว่าคุ้มค่ากับการที่ได้โปรเจกต์จากแบรนด์นั้นกลับไป

ส่วนเอเจนซีไหนไม่ได้งาน สมาคมก็จะส่งค่า pitch fee ให้กับเอเจนซี แม้เงินจำนวน 50,000 หรือ 100,000 จะไม่ได้ครอบคลุมกับต้นทุนที่ทางเอเจนซีลงทุนเพื่อมาพิตช์งาน แต่ก็ถือเป็นการป้องกันไม่ให้แบรนด์เรียกเอเจนซีเข้ามาพิตช์งานแบบตามใจชอบจนเกินไป

โดยตั้งแต่มีการกำหนด pitch fee ขึ้นมาค่าเฉลี่ยในการที่แบรนด์เรียกเอเจนซีไปพิตช์แต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 เจ้า ต่างจากตอนก่อนที่จะกำหนดเกณฑ์นี้ที่แต่ละครั้งแบรนด์เรียกเอเจนซีไปพิตช์งานราว 6-7 เจ้าต่อโปรเจกต์เลยทีเดียว

รติ พันธุ​ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยบอกว่าความตั้งใจหลักๆ ของการลุกขึ้นมาปรับหลักเกณฑ์ของ pitch fee ในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องของกำไร เพราะอย่างไรแล้วเงิน 100,000 บาทก็ไม่ครอบคลุมกับต้นทุนของคน เวลา และความคิดที่ใช้ในการพิตชิ่งอยู่ดี แต่ที่ต้องทำเพราะลูกค้าหลายๆ แบรนด์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ยังไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า pitch fee จึงไม่ได้มีการแพลนงบรายปีเผื่อค่า pitch fee เอาไว้ และหัวใจหลักสำคัญก็เพื่อความเป็นธรรมและไม่เป็นการบั่นทอนการทำงานของคนในอุตสาหกรรมโฆษณาในระยะยาว

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like