นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

PETSUMER 

กลยุทธ์ PETSUMER และอินไซต์ของทาสสัตว์เลี้ยงโอกาสในธุรกิจนี้อยู่ตรงไหนบ้าง

ท่ามกลางการถดถอยของหลายธุรกิจทั่วโลกจากสถานการณ์โควิด ทว่ากลับมีอยู่หนึ่งธุรกิจที่สามารถเติบโตสวนกระแสของโรคระบาด นั่นคือธุรกิจ ‘สัตว์เลี้ยง’

โดยมีการคาดกันว่าภายในปี 2021-2026 มูลค่าของตลาดสัตว์เลี้ยงทั่วโลกจะมีการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้นเฉลี่ยปีละ 7.2% จนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 217,651 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนของไทยเราเองก็คาดว่าตั้งแต่ปี 2021-2026 ตลาดสัตว์เลี้ยงจะมีการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้นเฉลี่ยปีละ 8.4% และทำให้ภายในอีก 3 ปีข้างหน้าตลาดสัตว์เลี้ยงในไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ 66,748 ล้านบาท 

ตัวเลขนี้สะท้อนถึง ‘โอกาส’ ในการทำธุรกิจกับเหล่าทาสสัตว์เลี้ยง 

จากงานวิจัยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU ที่ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คนพบว่ากลุ่มคนที่เป็นทาสสัตว์เลี้ยงมากที่สุดคือเพศหญิงอยู่ที่ 66.8% รองลงมาคือเพศชายอยู่ที่ 22.3% ส่วนที่เหลืออีก 10.9% เป็นเพศทางเลือก 

โดยเหตุผลที่คนกลุ่มนี้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นมีอยู่ 3 ข้อหลักๆ ด้วยกัน คือ 1. เลี้ยงเพื่อเป็นลูก 49% 2. เลี้ยงเพื่อสถานะทางสังคม 33% และ 3. เลี้ยงเอาไว้เพื่อช่วยเหลือช่วยบำบัดรักษาอีก 18% 

  1. Pet Parant : เลี้ยงไว้เพื่อเป็นลูก

คนกลุ่มนี้ไม่ได้มองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นแค่สัตว์เลี้ยง แต่เป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว โดยกว่า 80% ของคนเลี้ยงสัตว์คือคนโสด และความโสดก็ส่งผลต่อความเหงาจนทำให้ต้องมีน้องๆ เข้ามาเติมเต็มชีวิตมากยิ่งขึ้น 

  1. Pet Prestige : เลี้ยงเพื่อสถานะทางสังคม

อาจเป็นเหตุผลที่ฟังแล้วรู้สึกเซอร์ไพรส์ แต่คนกลุ่มนี้มีมากถึง 33% เลยทีเดียว โดยการเลี้ยงแบบ Pet Prestige ที่เอาไว้เสริมภาพลักษณ์ทางสังคมนั้นไม่ได้หมายความว่าเจ้าของไม่รักสัตว์เลี้ยง แต่ในมุมหนึ่งก็เป็นการเลี้ยงเพื่อสะท้อนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของตัวผู้เลี้ยงอีกด้วย อย่างเช่นคนเลี้ยงสิงโตก็สะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ความหรูหราที่ได้เลี้ยงสัตว์หายากราคาแพง  หรือการที่เหล่าเซเลบเลี้ยงสัตว์ก็กลายเป็นการสร้างกระแสให้คนอื่นๆ อยากเลี้ยงตามด้วยเช่นกัน 

หนึ่งในกลุ่มตัวอย่างของผลสำรวจบอกว่า “เลี้ยงครับ เลี้ยงนกหงษ์หยก สีเขียวมินต์ เพราะเห็นใน TikTok มีคนเลี้ยงเยอะแล้วน่ารักดี เลยเลี้ยงตาม และพอดีซื้อบ้านใหม่อยู่สองคนกับแฟนเลยซื้อมาเลี้ยง”

  1. Pet Healing : เลี้ยงเอาไว้เพื่อช่วยเหลือช่วยบำบัดรักษา

คนกลุ่มนี้จะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเอาไว้เพื่อคอยช่วยดูแลญาติผู้ใหญ่ หรือเลี้ยงเอาไว้คลายเหงาคลายความเครียด ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศก็บอกว่าการที่เราใช้เวลาว่างในการเล่นหรือดูแลสัตว์เลี้ยง ร่างกายของเราก็จะเกิดกลไกบำบัดทางด้านอารมณ์ ทำให้ร่างกายหลั่งสารความสุขออกมา และนั่นก็ทำให้ช่วยคลายเครียดและคลายเหงาได้

ซึ่งนอกจากน้องหมาและน้องแมว สัตว์เลี้ยงอีกประเภทที่คนนิยมเลี้ยงกันคือสัตว์ exotic ไม่ว่าจะเป็นนก กิ้งก่า ชูการ์ไกลเดอร์ แมงมุม กระต่าย ไก่สวยงาม เต่า หรือหนูก็ตาม โดยนอกจากความสวยงามของมันแล้วอีกเหตุผลหนึ่งที่คนนิยมเลี้ยงสัตว์ exotic เพราะสัตว์เหล่านี้ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยและยังไม่ส่งเสียงดังรบกวน

รู้จักกลุ่มผู้เลี้ยงกันไปแล้วว่าเป็นใครบ้าง ทีนี้เรามาดูกันต่อว่าแล้วเหล่าทาสมีพฤติกรรมการเปย์ยังไง จ่ายกันหนักแค่ไหน แล้วเหล่าธุรกิจควรจะเข้าไปจับตลาดนี้ยังไงบ้าง 

โดยคนเลี้ยงสัตว์จะรับข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสัตว์เลี้ยงผ่าน 4 ช่องทางหลักๆ ด้วยกันคือโซเชียลมีเดีย 39.8% เพื่อนและครอบครัว 28% ค้นหาจากทางอินเทอร์เน็ต 22.3% และดูจากโฆษณาทีวีอีก 9.9%  

ส่วนช่องทางการซื้ออาหารสัตว์อันดับแรกคือซื้อจากร้านขายสินค้าสัตว์เลี้ยง 34.8% ซื้อทาง e-Commerce 22.2% ซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ต 12.4% ซื้อจากไฮเปอร์มาร์เก็ต 11.8% และอีก 8.2% ที่เหลือซื้อจากคลินิกรักษาสัตว์ 

น่าสนใจว่าในยุคที่ออนไลน์เติบโต ทว่าเหล่าทาสทั้งหลายก็ยังคงซื้ออาหารผ่านช่องทางที่เป็นหน้าร้านมากที่สุด ซึ่งมากกว่า 50% มีการซื้อมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือนอีกด้วย โดยส่วนใหญ่เหล่าทาสจะคำนึงเรื่องสุขภาพของสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก มักไม่ซื้ออาหารตุนเอาไว้เนื่องจากกังวลถึงคุณภาพอาหารที่ลดลงหากเก็บไว้นานเกินไป และกว่า 62.6% มักจะไม่เปลี่ยนแบรนด์อาหารเพราะกลัวสัตว์เลี้ยงจะท้องเสีย ไม่คุ้นกลิ่นอาหาร และไม่คุ้นกับเม็ดอาหาร โดยในเดือนนึงจะจ่ายค่าอาหารสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 บาท 

นอกจากค่าอาหาร คนเลี้ยงสัตว์ยังใช้จ่ายไปกับค่าดูแลสัตว์เลี้ยงด้านอื่นไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำตัดขน รับฝากเลี้ยง ทำสปา ทำเล็บ โดยในเดือนๆ นึงมักจะจ่ายค่าดูแลสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000-3,000 บาท แม้จะใช้บริการประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน แต่ส่วนใหญ่มักกลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นแล้วเรื่องคุณภาพ การบริการที่ประทับใจ จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก 

เห็นข้อมูลที่น่าสนใจและโอกาสการเติบโตของตลาดนี้แล้ว สำหรับคนที่กำลังทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงอยู่ หรือใครที่อยากจะกระโดดลงมาทำธุรกิจนี้บ้าง ทาง CMMU ก็ได้แนะนำกลยุทธ์ที่เรียกว่า Petsumer ซึ่งเป็นกลยุทธ์เอาไว้มัดใจทาสสายเปย์ทั้งในแง่ของสินค้า บริการ รวมไปถึงการสื่อสารให้ตรงใจเหล่าทาสสัตว์เลี้ยง ซึ่งเรามองว่ากลยุทธ์นี้เป็นเหมือนเช็กลิสต์ในการทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่น่าสนใจไม่น้อยเลย 

Personalization : มีสินค้าที่ customize ตามชนิดหรือสายพันธุ์ เช่นอาหารสำหรับสัตว์ที่ป่วยในบางโรค 

Easy Access : การเข้าถึงง่ายคือหัวใจสำคัญของธุรกิจบริหารสัตว์เลี้ยง มีทำเลที่สะดวกต่อทั้งคนและสัตว์ มีบริการเดลิเวอรีให้ถึงที่ 

Trustworthiness : มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจ เพราะเมื่อเรารักสัตว์เลี้ยงเหมือนคนในครอบครัว เราก็อยากให้พวกเขาได้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอ

Social Influence : คนเลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน สายพันธุ์เดียวกันมักมีคอมมิวนิตี้เอาไว้แชร์เรื่องราวแลกเปลี่ยนข้อมูลสัตว์เลี้ยง และข้อมูลจากผู้คนในคอมมิวนิตี้มักมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ดังนั้นการที่แบรนด์ผลิตสินค้าที่สร้างความประทับใจและทำให้คนไปบอกต่อ ก็จะเป็นประโยชน์กับแบรนด์อย่างมาก 

Uniqueness : สร้างเอกลักษณ์ให้เป็นที่จดจำ ซึ่งการเอาสัตว์เลี้ยงมาใช้ในการโฆษณาก็จะช่วยสร้างการน่าจดจำที่มากขึ้นได้

Mental Support : สื่อสารไปยังเหล่าทาสผ่านคอนเทนต์ที่ดูผ่อนคลาย มีความสุข และต้องสื่อสารได้ถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความรัก ระหว่างผู้คนกับสัตว์เลี้ยง 

Engagement : การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะตลาดนี้มีลักษณะเป็น One Chance, One Shot คือมีเพียงโอกาสเดียวที่จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า เพราะลูกค้ามักจะซื้อแบรนด์เดิมอยู่เป็นประจำ แบรนด์ที่ดีต่อสัตว์เลี้ยงของพวกเขาอยู่แล้ว และมักจะเปลี่ยนใจได้ยาก 

Right : แบรนด์ต้องทำคอนเทนต์อย่างเหมาะสมและคำนึงสิทธิของสัตว์เลี้ยงด้วย เพราะถ้าพลาด ละเมิดสิทธิของสัตว์เลี้ยงไปนั่นอาจตามมาด้วยดราม่าและวิกฤตของแบรนด์ได้

และไม่ใช่เพียงธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่แบรนด์อื่นๆ ก็สามารถใช้ความน่ารักของเหล่าสัตว์เลี้ยงมาช่วยในการทำโฆษณา ทำคอนเทนต์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้เช่นกัน โดยจากผลสำรวจว่าภาพโฆษณาแบบไหนที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามากที่สุด ก็พบว่าภาพโฆษณาที่มีคนสัตว์เลี้ยงและสินค้าทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ 19.10% ส่วนภาพโฆษณาที่มีตัวสินค้าอย่างเดียวนั้นทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ 37.08% แต่หากเป็นภาพโฆษณาที่มีแค่สัตว์เลี้ยงและสินค้านั่นทำให้คนตัดสินใจซื้อได้มากถึง 43.82% เลยทีเดียว

จากการเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงจึงทำให้เราได้เห็นผู้เล่นหน้าใหม่ทั้งรายเล็กรายใหญ่กระโดดลงมาในตลาดนี้กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเฮียฮ้อจาก RS ที่ได้ส่งแบรนด์อาหารสัตว์อย่าง Lifemate ลงมาตีตลาด หรือทางฝั่งเซ็นทรัลเองก็ได้เปิด Specialty Store อย่าง PET ‘N ME ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะที่ตั้งเป้าจะขยายร้านไปอีกกว่า 50 สาขาทั่วประเทศไทยใน 3-5 ปีนี้ด้วย ส่วน Grab เองก็ได้ทำ GrabPet สำหรับรับส่งสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ หรือแม้แต่ธุรกิจประกันเองก็ยังออกประกันสำหรับสัตว์เลี้ยงออกมาด้วยเช่นกัน 

จึงเป็นที่น่าจับตามองกันต่อไป ว่าธุรกิจสัตว์เลี้ยงจะคึกคักอีกมากแค่ไหน หรือจะมีอะไรใหม่ๆ มามัดใจและคว้าเงินจากกระเป๋าของเหล่าทาสสายเปย์ไปได้อีกบ้าง

อ้างอิง

  • Petsumer Marketing เจาะลึกอินไซต์โดนใจทาสสายเปย์ โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล(CMMU)

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like