นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No(stal)kia

ไม่ต้องเป็นที่หนึ่ง ขอแค่ลูกค้าเฉพาะกลุ่มก็พอ กลยุทธ์การกลับสู่ตลาดมือถือของ Nokia

‘Nokia’ ชื่อนี้สำหรับกลุ่มเด็กยุคใหม่เจนฯ Z อายุตั้งแต่ 25 ลงไปอาจไม่ได้มีความหมายอะไรมาก แต่เชื่อว่าสำหรับกลุ่มเจนฯ X, เจนฯ Y และรุ่นใหญ่กว่านั้นมันคือชื่อที่นำมาซึ่ง ‘อดีตของวันวานที่คิดถึง’ ถือเป็นช่วงเวลาที่หลายคนได้มีมือถือเครื่องแรกในชีวิต มันคือเพื่อนคู่ใจที่ถึก ทน และมอบอิสรภาพในการติดต่อสื่อสารให้ชีวิตโดยไม่ต้องยึดติดกับโทรศัพท์บ้านหรือออฟฟิศอีกต่อไป

แต่น่าเสียดายที่โนเกียไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของตลาดสมาร์ตโฟนได้ เหลือไว้เพียงความทรงจำในอดีตของบริษัทมือถือยักษ์ใหญ่ที่ล้มเหลวจนกลายเป็นกรณีศึกษาของเคสธุรกิจมากมายในเวลาต่อมา

ในช่วงพีคที่สุดของบริษัทช่วงยุค 90s ถึงต้น 00s โนเกียเป็นบริษัทมือถือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ครอบครองส่วนแบ่งของตลาดมากถึง 51% ลองเปรียบเทียบกับตอนนี้ที่ Apple ครองตลาดสมาร์ตโฟนแค่ 22% นั้นถือว่าโนเกียครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่มากทีเดียว

ความผิดพลาดอย่างแรกที่ Nokia ทำคือการหันไปใช้ Windows OS สำหรับสมาร์ตโฟนของบริษัท ซึ่งอย่างที่เรารู้ว่าบริษัทที่เหลือรอดอยู่ในปัจจุบันนั้นถ้าไม่ใช่ Apple iOS ก็ต้องใช้ Google Android ในสมาร์ตโฟนเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรการโทษว่าเป็นความผิดของ Nokia เลยก็อาจไม่แฟร์สักเท่าไหร่ เพราะเมื่อย้อนกลับไปในช่วงแรกๆ ที่อุตสาหกรรมสมาร์ตโฟนกำลังเริ่มต้น มันเป็นพื้นที่ใหม่และไม่มีใครทราบหรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้น มันเป็นความเสี่ยงที่โนเกียชั่งแล้วว่าอยากร่วมมือกับ Microsoft และอีกเหตุผลใหญ่อีกอันหนึ่งคือการสร้างความแตกต่างให้กับตัวสมาร์ตโฟนของตัวเองด้วย สตีเฟน อีลอป (Stephen Elop) อดีต CEO ของโนเกียกล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า

“คำเดียวที่สำคัญที่สุดคือ ‘ความแตกต่าง’ เราทราบดีว่าการเข้าสู่ระบบนิเวศของ Android ช้าไปนั้นทำให้เราสร้างความแตกต่างได้ยากยิ่งขึ้น”

มันเป็นหลักแนวคิดที่ฟังดูมีเหตุผล เพียงแต่โชคร้ายที่ตัว Windows OS บนสมาร์ตโฟนนั้นใช้งานยากมาก มีกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งลองใช้ดู (ผู้เขียนเองก็เคยลองเล่นดูแต่ก็ขอยอมแพ้) แต่สุดท้ายก็สู้ของเจ้าอื่นที่ตอบโจทย์มากกว่าไม่ได้ สุดท้ายทำให้สมาร์ตโฟนของโนเกียได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ จนหลุดออกนอกกระแสไป จากที่เคยครองตลาดมือถือกว่า 51% ลดลงเหลือน้อยกว่า 2% ในปี 2013 และสุดท้ายตัดสินใจขายส่วนที่เป็นธุรกิจสมาร์ตโฟนให้กับไมโครซอฟต์ (Microsoft) ในปี 2014 อีลอปกล่าวด้วยความเสียใจในการแถลงข่าวครั้งสุดท้ายว่า

“เราไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แต่สุดท้ายเราก็กลายเป็นผู้แพ้”

ต่อจากนั้นอีกสองปีไมโครซอฟต์ได้พยายามปลุกชีวิตให้กับแบรนด์โนเกียฟื้นกลับมาหลายต่อหลายครั้งโดยใช้ Windows OS อีกนั่นแหละ แต่ก็ไม่รอด จนกระทั่งปี 2016 บริษัท HMD Global ได้เข้ามาซื้อสิทธิ์การผลิตโทรศัพท์โนเกียจากไมโครซอฟต์ ต่อจากนั้นเราก็เริ่มเห็นโนเกียที่ใช้ Android เข้าสู่ตลาดตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา 

แต่เส้นทางต่อจากนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมสมาร์ตโฟนแม้จะใหญ่ แต่ก็มีผู้เล่นรายหลักๆ ที่ครองตลาดและมีฐานแฟนคลับของตัวเองอยู่แล้วพอสมควร อย่าง Apple, Samsung, Huawei หรือ Xiaomi 

ถึงอย่างไรก็ตาม ท่ามกลางพายุของการแข่งขันของตลาดมือถือ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะมีแสงแห่งความหวังที่ปลายทางขึ้นมาเล็กน้อย แม้จะริบหรี่แต่ก็ดูเป็นแสงนำทางเพื่อให้ธุรกิจพอจะมีทางเดินต่อไปได้หลังจากเคว้งคว้างมานานเกือบสองทศวรรษ

ระหว่างที่บริษัทสมาร์ตโฟนในตลาดส่วนใหญ่ขับเคี่ยวเพื่อเป็นที่หนึ่งทางเทคโนโลยี โนเกียมองต่างออกไป ในเมื่อเป็นที่หนึ่งในทางนั้นไม่ได้ พวกเขาย้อนกลับมาดูจุดแข็งที่ตัวเองเชี่ยวชาญและสิ่งที่ผู้ใช้งานคุ้นเคย ใช้การตลาดที่เรียกว่า ‘nostalgia marketing’ แล้วปล่อยมือถือรุ่นคลาสสิกหลายรุ่น (ที่ได้รับการอัพเดตให้ทำงานได้ดีมากขึ้น) เพื่อดึงเอาความคิดถึงวันวานในอดีตของลูกค้ามาดึงดูดลูกค้าให้กลับมาหา ซึ่งดูเหมือนว่ามันจะได้ผลด้วย

สองสามปีที่ผ่านมาเราได้เห็นโนเกียหันกลับมาโฟกัสกับตลาด ‘Feature Phone’ หรือ ‘Dumb Phone’ มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายอีกหน่อยมันคือตลาดของโทรศัพท์มือถือที่ไม่มีฟังก์ชั่นหรูหราเหมือนอย่างสมาร์ตโฟนเจ้าใหญ่ๆ แต่เป็นมือถือปุ่มกดที่เราคุ้นเคยกันในอดีตอย่างพวก Nokia 3310 (รุ่นตำนาน) และ Nokia 8110 (รุ่นกล้วยหอม) ที่ออกมาในปี 2017 และตอนนี้กำลังจะออกอีกสามรุ่นใหม่คือ Nokia 8210, Nokia 5710 และ Nokia 2660 ที่วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2022

เหตุผลที่โนเกียหันกลับมาให้ความสนใจกับตลาดนี้เพราะมันเหมือนเป็นตลาด niche ที่เฉพาะเจาะจง ยังคงเป็นที่ต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มของคนสูงอายุ คนที่ต้องการเครื่องสำรองที่แบตเตอรี่อยู่ได้นานๆ อึด ทน หรือลูกค้าองค์กรในหลายประเทศเลยรวมถึงบ้านเราเองด้วย ข้อได้เปรียบของโนเกียคือชื่อแบรนด์ที่คุ้นหูอยู่แล้วกับประสบการณ์ในการสร้างโทรศัพท์มือถือในตลาดแบบนี้มาก่อนอยู่แล้ว ด้วยการเสนอโทรศัพท์ที่มีคุณภาพดีและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าจึงทำให้โทรศัพท์ปุ่มกดของโนเกียได้รับความนิยมไม่น้อย

ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2021 โนเกียขายโทรศัพท์แบบปุ่มกดนี้ไปกว่า 10 ล้านเครื่อง เป็นเจ้าที่สองในตลาดที่มีส่วนแบ่งมากถึง 18% ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่ง

ภราดร รามบุตร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอชเอ็มดี โกลบอล (HMD) กล่าวว่า “ภาพรวมตลาดทั่วโลกในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีความต้องการถึง 157 ล้านเครื่อง มีมูลค่าราว 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดไทยก็ยังมีความต้องการเป็นหลักล้านเครื่องเลย”

ในรายงานของเว็บไซต์ข่าว BBC บอกว่าโทรศัพท์แบบปุ่มกดนั้นมียอดขายกว่า 1 พันล้านเครื่องทั่วโลกในปี 2021 เติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2019 ที่ขายได้ราวๆ 400 ล้านเครื่อง (ซึ่งที่จริงต้องเทียบกับยอดขายสมาร์ตโฟนที่ 1,400 ล้านเครื่องในปีเดียวกันด้วย เพราะตัวเลขเริ่มมีความใกล้เคียงกันและยอดขายสมาร์ตโฟนก็ลดลงไป 12.5% จากปีก่อนหน้าด้วย) และจากการศึกษาชิ้นหนึ่งโดยกลุ่มนักบัญชี Deloitte กล่าวว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 1 ใน 10 ในสหราชอาณาจักรมีโทรศัพท์แบบปุ่มกดเอาไว้ใช้งานด้วย

เออร์เนสต์ โดคุ (Ernest Doku) ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรศัพท์มือถือจากเว็บไซต์เปรียบเทียบราคา Uswitch.com กล่าวกับ BBC ว่า

“ดูเหมือนว่าแฟชั่น ความคิดถึง และการปรากฏตัวของมันในวิดีโอบน TikTok มีส่วนช่วยทำให้โทรศัพท์ปุ่มกดฟื้นคืนชีพกลับมา พวกเราหลายคนมีโทรศัพท์แบบนี้เป็นโทรศัพท์มือถือเครื่องแรก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกคิดถึงโทรศัพท์รุ่นคลาสสิกเหล่านี้”

นอกจากนั้นแล้วโดคุยังกล่าวถึงอีกเหตุผลหนึ่งนั่นก็คือการกลับมาของ Nokia 3310 ในปี 2017 ที่เป็นรุ่นในตำนาน หนึ่งในมือถือที่ขายดีที่สุดตลอดกาล จุดประกายความคิดถึงวันเก่าเหล่านั้นให้กลับมาในใจของใครหลายๆ คน “Nokia ผลักดัน 3310 ให้เป็นทางเลือกที่ราคาไม่แพงในโลกที่เต็มไปด้วยโทรศัพท์มือถือสเปกสูง”

เหตุผลที่คนเลือกใช้โทรศัพท์แบบปุ่มกดนอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้วเกี่ยวกับฟังก์ชั่นการทำงานที่ตอบโจทย์การใช้งานแล้ว ยังมีเรื่องของไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่เรียกว่า ‘Digital Detox’ (การหลบหลีกการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปจนทำให้ชีวิตเสียสมดุล) เข้ามาช่วยเสริมด้วย หลายคนเลือกหันกลับมาใช้โทรศัพท์มีปุ่มแล้วทิ้งโลกของสมาร์ตโฟนไว้ข้างหลังอย่างเต็มตัว ยกตัวอย่าง Robin West) วัยรุ่นอายุ 17 ปีที่ตัดสินใจไม่ใช้สมาร์ตโฟนเหมือนกับเพื่อนๆ ของเธอตั้งแต่สองปีก่อน

“ฉันไม่เห็นเลยว่าสมาร์ตโฟนมันกลืนกินชีวิตของฉันไปมากขนาดไหนจนกระทั่งซื้อโทรศัพท์ปุ่มกดมาใช้ ฉันมีแอพฯ โซเชียลมีเดียเยอะมากๆ ใช้มือถืออยู่ตลอดเวลาและทำงานไม่เคยเสร็จ ตอนนี้ฉันมีความสุขมากกับมือถือธรรมดาอันนี้ ไม่คิดว่ามันทำให้ลำบาก และรู้สึกว่ากระตือรือร้นมากขึ้นด้วย” โรบิน เวสต์ อธิบายถึงผลของการเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ฟังก์ชั่นเรียบง่าย

สถิติจากคำค้นหาของกูเกิลบ่งบอกไปในทิศทางเดียวกันว่ายอดการค้นหา ‘Dumb Phone’ หรือ ‘Feature Phone’ นั้นเพิ่มขึ้นกว่า 89% ระหว่างปี 2018-2021

นอกจากโนเกียแล้วก็มีเจ้าอื่นๆ ที่หันกลับมาให้ความสนใจกับตลาดนี้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างบริษัทมือถือน้องใหม่จากนิวยอร์กชื่อว่า ‘Light Phone’ ที่เป็นมือถือที่ใช้หน้าจอแบบ e-Ink แตะหน้าจอได้ ฟังเพลงได้ ฟังพ็อดแคสต์ได้ แต่ไม่มีโซเชียลมีเดีย ไม่มีอีเมล ข่าว หรือเบราเซอร์เลย เป็นเพียงโทรศัพท์ที่คุณพกเพื่อให้คุณติดต่อกับคนอื่นๆ ได้เท่านั้น

ทางบริษัทรายงานว่าในปี 2021 ยอดขายของพวกเขาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 150% นั่นแสดงให้เห็นว่าคนหันมาให้ความสนใจกับเทรนด์การใช้ชีวิตแบบแอนะล็อกมากขึ้นจริงๆ เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อคือกลุ่มคนอายุ 25-35 ปี เป็นส่วนใหญ่

แทนที่โนเกียจะพยายามสร้างนวัตกรรมสมาร์ตโฟนใหม่ ๆ เข้ามาท้าต่อยกับเจ้าใหญ่ พวกเขาเปลี่ยนเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ใช้งานเบื้องต้น คนที่ไม่ใช่เป้าหมายหลักของบริษัทอื่น กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยหรือต้องการโทรศัพท์ที่มีฟีเจอร์ไม่ได้มากมาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิต และมันก็ดูจะสำเร็จดีด้วย ส่วนสมาร์ตโฟนของโนเกียก็ไปแข่งกับตลาดล่างๆ อย่าง Realme หรือ Motorola แทน ไม่ใช่ไปท้าสู้กับ Apple หรือ Samsung ที่นอกจากจะมีโอกาสชนะเพียงน้อยนิดแล้ว ยังจะเจ็บตัวซ้ำไปกว่าเดิมอีกด้วย

เป็นการเดินหมากที่ถือว่าฉลาดไม่น้อยของโนเกียเลย

ถามว่าโนเกียจะกลับมายิ่งใหญ่เหมือนเดิม กินส่วนแบ่งของตลาดมือถือเกินครึ่งไหม คงเป็นไปได้ยาก (ถ้าทำได้มันจะกลายเป็น comeback story ที่น่าทึ่งมาก)​ แต่ถามว่าโนเกียกำลังมาถูกทางไหม ก็อาจจะใช่ โอกาสเติบโตกว่านี้ก็คงเป็นไปได้ แต่ก็ต้องดูว่าตลาดที่โหยหาอดีตอันหอมหวนจะยั่งยืนขนาดไหน เพราะมันอาจจะเป็นเพียงครู่หนึ่งของการคิดถึงแล้วก็หายไป เหมือนการคิดถึงใครบางคนในอดีต แต่สุดท้ายก็ต้องมูฟออนก็เป็นไปได้

อ้างอิง

Writer

คุณพ่อลูกหนึ่งจากเชียงใหม่ที่รักการเขียน การอ่าน และการดองหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายการทำงานที่เป็นมากกว่าแค่ผลกำไรและทำงานหนักจนลืมความหมายของการมีชีวิตอยู่

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like