นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ขอให้ 1 ปี มีวันหยุด 365 วันได้ไหม

New Year’s Blues อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นหลังวันหยุดเทศกาล

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 – Happy New Year 🎉

เพียงเสียงพลุดังสนั่นหายไป เพียงฟื้นเข้าสู่วันใหม่ หลายคนอาจรู้สึกเฟรชเพราะจะได้เป็น New Year, New Me สักที แต่อีกหลายคนกลับรู้สึกเศร้าซึมและเกิดคำถามมากมายในหัว หากใครเป็นคนจำพวกแรก เราขอแสดงความยินดีด้วย แต่หากใครยกมือว่าเป็นคนจำพวกที่สอง คุณอาจมีภาวะ New Year’s Blues

ความหมายของ New Year’s Blues

คำว่า New Year’s Blue หรือ ‘อาการซึมเศร้าในช่วงปีใหม่’ เกิดขึ้นหลังวันหยุดเทศกาล มักรู้สึกเศร้าซึม เหนื่อยล้า กังวล หงุดหงิด รู้สึกผิด และมีปัญหาในการโฟกัส

สาเหตุของ New Year’s Blues

  1. ในเมืองหนาวมักสัมพันธ์กับช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นและแสงอาทิตย์น้อยนิด
  2. แต่ถ้าไม่ใช่เพราะสภาพอากาศ เช่นไทยแลนด์แดนพระอาทิตย์นั้น ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกผิดหวังที่ตัวเองไม่สามารถเป็น new me ได้อย่างที่ตั้งใจ บางคนก็เครียดจากการที่ใช้เงินไปจำนวนมากในช่วงเทศกาลแห่งความอบอุ่นซึ่งยิงยาวตั้งแต่ต้นธันวาคม
  3. เชื่อว่าอีกเหตุผลที่หลายคนรู้สึกเศร้าซึมไม่ไหว โดยเฉพาะพนักงานเงินเดือนทั้งหลาย ก็เพราะช่วงเวลาแห่งความสุขเหมือนฝันนั้นหมดไป ช่วงเวลาที่ได้อยู่พร้อมหน้ากับครอบครัว ได้ไปเที่ยวที่ที่ตั้งเป้าไว้กำลังหมดลง เหลือเพียงหัวหน้าที่เอาแต่บ่น เพื่อนร่วมงานสุดท็อกซิกที่ไม่อาจหนีให้พ้น จากวันนี้จะมีเรา เรา และงานเท่านั้น

ถ้าดูข้อมูลทางสถิติโดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกันพบว่าผู้คนมากถึง 56% เผชิญกับความเครียดในที่ทำงานมากที่สุดในช่วงเวลานี้ เพราะเป็นช่วงที่เหลือเพียงงานที่รอเรากลับไปสะสาง ทั้งยังเป็นช่วงที่ไม่มีอะไรให้ตั้งตารอแล้ว คล้ายกับ Post-Vacation Blues หรืออาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวนั่นเอง แต่ความรู้สึกนี้อาจยิงยาวไปจนถึงปลายมกราคมจนบางคนก็เรียกว่าเป็น January Blues ไปเลยก็มี

พนักงาน เหล่า HR และผู้บริหารจะจัดการอาการ New Year’s Blues ได้ยังไงบ้าง?

  1. สำหรับเหล่าพนักงานทั้งหลายอาจจะเริ่มจากการตั้งเป้าหมายเล็กๆ ระหว่างสัปดาห์ เพื่อให้มีอะไรให้เราตั้งตารอ เช่น หลังทำงานเสร็จจะออกไปซื้อกาแฟ หลังเลิกงานจะออกไปเดินห้าง
  2. กองทัพต้องเดินด้วยท้อง สมองขาดอาหารไม่ด๊าย! Harvard Medical School บอกว่าสมองของเราต้องการเชื้อเพลิงในการสร้างแรงขับเคลื่อน บริษัทจึงอาจจัดหาของอร่อยๆ ให้พนักงานทานแก้เครียดระหว่างวัน
  3. การวิจัยจาก Redbooth พบว่าเดือนมกราคม ตามด้วยกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่งานไม่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพราะสองเดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีอะไรให้ตั้งตารอ ผู้นำจึงควรจัดประชุมเพื่อพูดถึงความสำเร็จในปีที่ผ่านมา รวมถึงปัญหา วิธีแก้ และแผนงานใหม่ๆ เพื่อให้มีอะไรให้ตั้งเป้าหมาย ทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว
  4. ทางออกนี้อาจใช้งบประมาณ แต่เชื่อเถอะว่าหลายบริษัทระดับโลกให้ความสำคัญ นั่นคือการมีบริการด้านสุขภาพกายและใจให้พนักงาน รวมถึงสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ทำให้พนักงานกล้าปรึกษาปัญหาที่เผชิญ

อย่างสุขภาพกาย การวิจัยจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกันแสดงให้เห็นว่าคนที่ออกกำลังกายก่อนทำงานจะมีประสิทธิผลมากขึ้น 15% ตลอดทั้งวัน และมีโอกาสน้อยที่จะรู้สึกซึมเศร้าจากงาน บางบริษัทจึงมียิมภายในอาคาร บางแห่งมีคลาสออกกำลังกายให้พนักงานเล่นโดยไม่เสียเงิน และอีกหลายแห่งก็จัดกิจกรรมแข่งกีฬา

เรื่องสุขภาพใจ ขอยกตัวอย่าง โปรแกรม Microsoft Cares จาก Microsoft ที่ให้พนักงานปรึกษาสุขภาพจิตได้ฟรีๆ หรือ Unilever ที่มุ่งเน้นที่สุขภาพโดยรวมของพนักงาน มีการอบรมเรื่องจิตใจ มีแอพพลิเคชั่นให้ข้อมูลด้านสุขภาพซึ่งพนักงานสามารถขอความช่วยเหลือเร่งด่วนได้ ทำให้พนักงานกล้าปรึกษาโดยไม่กลัวการถูกตีตรา

ตอนนี้หลายคนคงกำลังรู้สึกแบบนี้อยู่แน่ๆ เชื่อเถอะว่าภาวะนี้จะหายไปในที่สุดแต่ถ้ายังเป็นนานข้ามเดือนก็ต้องรีบไปปรึกษานักจิตวิทยาแล้วล่ะ ส่วนผู้ บ.ทั้งหลายก็อย่าลืมเตรียมการเพื่อให้พนักงานรู้สึกรีเฟรชก่อนเริ่มงานนะ

อ้างอิง

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

Illustrator

แล้วแต่จะคิด ชีวิตคนละแบบ

You Might Also Like