นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

วนศาสตร์

‘Won (วน)’ โปรเจกต์รีไซเคิลพลาสติกที่พยายามหาทางออกให้กับสิ่งที่ผู้คนมองว่าเป็นผู้ร้าย

ในวันที่ผู้คนและแบรนด์ตระหนักถึงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น–และยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวัน ผ่านการ reduce, reuse หรือ recycle ที่ลดปริมาณการใช้ นำมาใช้ซ้ำ และนำมาแปรรูปเป็นสิ่งใหม่

‘Won (วน)’ เป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มหลังนั่นคือการ recycle ที่นำเอาขยะมาแปรรูป จนกลายเป็นโมเดลธุรกิจที่ทำให้สิ่งแวดล้อมและองค์กรเติบโตไปด้วยกันได้ 

อธิบายให้เข้าใจอย่างกระชับ Won คือโปรเจกต์ที่จะไปเก็บรวบรวมขยะพลาสติกเหลือใช้ของผู้คนตามจุดต่างๆ จากนั้นจะนำมันมาคัดแยก ทำความสะอาดเพื่อที่จะนำไปเข้าเครื่องที่ผ่านความร้อน จนถุงใบเก่าถูกหลอมละลายกลายมาเป็นเม็ดพลาสติกสีขาว ก่อนจะนำไปเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตพลาสติกขึ้นมาใหม่ที่เอามาใช้ ‘วน’ ไปได้อีกครั้ง

ฟังเผินๆ เหมือนทุกอย่างจะดูดี แต่พอได้มานั่งคิดดีๆ อีกทีทำให้เราเกิดคำถามขึ้นในใจว่า แล้วแบบนี้ต้นทุนของการนำพลาสติกเก่ามาทำใหม่นั้นแพงกว่าการผลิตใหม่หรือไม่ หากแพงกว่าในเชิงธุรกิจมันจะเป็นสิ่งที่ทำวนไปได้ในระยะยาวจริงหรือ หรือนี่เป็นเพียงโครงการ CSR ระยะสั้นหรือเปล่า และคำถามอีกมากมายที่เกิดขึ้นในหัว 

ซึ่งคงจะไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ดีไปกว่า กมล บริสุทธนะกุล ผู้ก่อตั้งโครงการ Won ขึ้นมา

เท้าความให้ฟังว่า ก่อนมาเป็นผู้ก่อตั้งโครงการ Won กมลรับหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารการเงินและทายาทธุรกิจเจเนอเรชั่นที่สองของ TPBI  บริษัทที่เน้นผลิตถุงพลาสติกซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 

ด้วยความเป็นธุรกิจแบบ B2B หลายคนอาจยังไม่คุ้นชื่อ TPBI มากนัก แต่ความจริงแล้วสินค้าของ TPBI นั้นอยู่ใกล้ตัวผู้คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นถุงที่ใช้ตามห้าง ถุงก๊อบแก๊บ ถุงบางๆ ที่ม้วนเป็นโรลสำหรับใส่ผลไม้ในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือแม้กระทั่งถุงขยะก็ตาม 

ไม่ใช่แค่ในไทย แต่ถุงพลาสติกจาก TPBI ยังถูกส่งออกไปขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังในต่างประเทศด้วยเช่นกัน 

ด้วยความเป็นบริษัทผลิตพลาสติกรายใหญ่ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงแรกที่ปล่อยโครงการ Won ออกไป หลายคนมองว่ามันเป็นเพียงแค่โปรเจกต์ที่ทำมาเพื่อตอบสนองการเป็น CSR ของ TPBI ซึ่งกมลบอกว่าความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น 

เริ่มต้นจากความเชี่ยวชาญเดิม มาต่อยอดเป็นสิ่งใหม่ 

จุดเริ่มต้นของ Won เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วโดยกมลและกลุ่มคนเล็กๆ อีกไม่กี่คนที่เขาเรียกว่า ‘ทีม Innovation’ งานของทีมนี้ก็ตามชื่อที่ตั้ง คือเป็นการมารวมกลุ่มกันเพื่อทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ

หนึ่งในผลลัพธ์ของการทดลองก็คือ การนำสิ่งที่ TPBI ถนัดอยู่แล้วนั่นคือการรีไซเคิลพลาสติก มาต่อยอดจนเป็น Won

ที่ใช้คำว่า ‘ถนัดอยู่แล้ว’ นั่นเพราะว่าในรายได้ทุก 100 บาทของ TPBI มาจากการผลิตถุงพลาสติกประมาณ 70 บาท  แล้วในตัวเลข 70 บาทนั้น ราว 70 เปอร์เซ็นต์เป็นถุงที่ผลิตมาจากพลาสติกแบบ Post-Industrial Recycled (PIR) หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ มันคือการนำเศษพลาสติกที่เหลือจากกระบวน ‘การผลิต’ มารีไซเคิลและผลิตซ้ำจนกลายเป็นถุงใหม่ที่นำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง

แล้ว Won จะแตกต่างจากสิ่งที่ TPBI ทำอยู่แล้วยังไง

กมลอธิบายว่า ด้วยเทรนด์ที่เปลี่ยนไป คนให้ความสำคัญในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น–และยิ่งมากขึ้นทุกวัน เขาจำต้องขยับปรับอะไรบางอย่างให้เข้ากับผู้คนมากขึ้นด้วยเช่นกัน

“TPBI จะคอยรับเศษพลาสติกแบบ PIR เป็นหลัก ส่วน Won ถูกออกแบบมาให้แตกต่างด้วยการรับพลาสติกที่เป็น Post Consumer Recycled (PCR) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ มันก็คือพลาสติกเหลือใช้จากผู้บริโภคทั่วไปนี่แหละ

“ซึ่งหากนำถุงหนึ่งใบมารีไซเคิลใหม่ ผลที่ได้ก็จะออกมาเป็นถุงใบใหม่ที่มีมวลเท่ากัน โดย 99 เปอร์เซ็นต์ในนั้นมาจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ส่วนอีก 1 เปอร์เซ็นต์คือพลาสติกใหม่ที่ต้องใส่มาเพื่อประคองให้มันสามารถขึ้นรูปมาเป็นถุงได้อีกครั้ง”

ในปัจจุบัน สายตาของใครหลายคนพลาสติกคือผู้ร้าย แต่สำหรับกมล พลาสติกในมุมมองของเขานั้นต่างออกไป 

“คงเป็นเพราะเราอยู่กับมันมาแต่เด็ก แล้วสิ่งที่ทำให้ผมเป็นตัวเป็นตนมาได้จนถึงตอนนี้ส่วนหนึ่งก็คือรายได้จากครอบครัวที่มาจากธุรกิจพลาสติก

“ผมคิดว่าจริงๆ แล้วเรามีวิธีดีลกับมันได้ เพราะ 20-30 ปีที่ผ่านมาก็เห็นว่าจริงๆ แล้วมันคือสิ่งที่รีไซเคิลมาได้อยู่ตลอด”

ฟังสิ่งที่กมลพูดทำให้เรานึกถึงเหตุผลในการเกิดขึ้นของถุงพลาสติก ที่ผู้คิดค้นอย่าง Sten Gustaf Thulin ตั้งใจว่าอยากจะให้มันเป็นสิ่งที่ใช้ซ้ำได้หลายๆ ครั้ง เพื่อจะได้ช่วยลดการใช้ถุงกระดาษ เและนำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่าที่ลดลงได้

แพลตฟอร์มที่ช่วยหาทางออกให้กับขยะพลาสติก

ในฐานะที่อยู่กับการรีไซเคิลพลาสติกมานาน กมลอธิบายว่า ยังมีหลายคนคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลนั้นจะต้องมีราคาถูกกว่าพลาสติกใหม่ เหมือนกับของมือสองหลายๆ อย่างที่มีราคาถูกกว่าสินค้ามือหนึ่ง

ทว่าในมุมของ Won ต้นทุนที่สูงไม่ได้อยู่ตรงขั้นตอนของการเอาพลาสติกเหลือใช้มาเข้าเครื่องจักร เพราะกระบวนการในการแปรรูปให้ถุงเก่าออกมาเป็นเม็ดพลาสติกนั้นใช้เวลาเพียงแค่วันกว่า ส่วนการนำเม็ดพลาสติกมาขึ้นรูปเป็นถุงอีกครั้งก็ใช้เวลาหลักชั่วโมงเท่านั้น 

“สิ่งที่นานคือขั้นตอนก่อนหน้าที่กว่าจะรวบรวม ขนย้าย คัดแยกเพื่อที่จะเอามันมารีไซเคิลได้ เป็นเรื่องที่ใช้ทั้งต้นทุนของเงิน คน และเวลาไม่ใช่น้อยเลย เพราะมันคือการเก็บรวบรวมพลาสติกแบบ PCR จากครัวเรือนต่างๆ ที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย และไม่ใช่ว่าพลาสติกทุกชนิดจะสามารถเอามารีไซเคิลได้ทั้งหมด เราก็เลยต้องใช้แรงมือของคนในการช่วยคัดเลือกมันก่อน”

แม้ในช่วงเริ่มต้น Won จะได้รับเงินสนับสนุนจาก TPBI ในการก่อร่างสร้างโปรเจกต์ให้เกิดขึ้นมา ทว่าการจะทำให้โปรเจกต์ที่ตั้งใจทำเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ได้อย่างยั่งยืน CSR อาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้

นั่นจึงจำเป็นต้องมีการหารายได้มาเพื่อประคองให้ Won สามารถอยู่วนไปได้ด้วยตัวมันเอง อย่างในตอนนี้ก็มีถุงพลาสติกจาก Won ส่งไปขายตามที่ต่างๆ รวมถึงการไปคอลแล็บกับหลายๆ แบรนด์เพื่อผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมออกมาจำหน่าย 

กมลไม่ได้มองว่า Won จะทำหน้าที่แค่รวบรวมขยะ นำมารีไซเคิล แล้วทำของออกมาขายเท่านั้น แต่ความคาดหวังของเขาคือการผลักดันให้ Won กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยหาทางออกให้กับขยะพลาสติก ผ่านการไปจับมือกับแบรนด์หรือองค์กรต่างๆ ใครมีปัญหาก็มาร่วมหาทางออกกับ Won ได้ เพราะมี know-how ในการแก้ไขปัญหาพร้อมสรรพ

“เพราะการจะทำเรื่องสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ลำพังแล้วการขับเคลื่อนของ Won เพียงคนเดียวก็คงไม่อาจทำให้มันกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ ทว่าต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก องค์กรใหญ่ รวมถึงผู้คนด้วยเช่นกัน เหมือนอย่างตอนนี้ที่ awareness ของการใช้ถุงพลาสติกนั้นเริ่มดีขึ้น ก็เพราะมาจากความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย ทั้งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่หันมาให้ความสนใจและออกมา take action บางอย่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม” 

เมื่อแบรนด์เดินมาถึงทางแยกที่ต้องตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง

ในเชิงสิ่งแวดล้อม แม้ว่าต้นทุนของพลาสติกรีไซเคิลจะแพงกว่า แต่มันก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในวันที่ภาวะโลกร้อนเขยิบใกล้ตัวเราขึ้นมาทุกวัน 

คำถามที่น่าสนใจและหลายคนอาจสงสัยคือ ในโลกของธุรกิจหากต้นทุนของถุงสูงขึ้น มันจะเป็นวิธีการที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับโลกในระยะยาวหรือไม่ 

“ตอนนี้กระแสสังคมเริ่มบีบให้แบรนด์เดินมาถึงทางแยกที่ต้องตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เพราะการทำธุรกิจให้อยู่รอดในยุคนี้และอยู่ต่อไปในอนาคตได้มันไม่ได้มีแค่เรื่องของกำไร แต่ยังต้องเอาเรื่องสิ่งแวดล้อมมาคิดคำนวณในการทำธุรกิจด้วยเช่นกัน เป็นเหมือนการจ่าย environment tax ทางอ้อม และในอีกแง่มุมหนึ่งการลงทุนหันมาใช้ถุงรีไซเคิลก็สะท้อนความรับผิดชอบบางอย่างของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเหมือนกัน”

เมื่อฟังที่กมลพูดก็ทำให้เรานึกถึงข่าวคราวในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ที่หลายแบรนด์ระดับโลกต่างออกมาให้คำสัญญาที่จะลดการใช้พลาสติกแบบ single-use ภายในปี 2025 และเมื่อแบรนด์ใหญ่ขยับก็มักจะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้อีกหลายๆ ธุรกิจต้องปรับตัวตามอยู่เสมอ 

“ผมคิดว่าถ้าธุรกิจเอาแต่ผลิต มุ่งเน้นแต่กำไร โดยไม่ได้คิดถึงคนอื่นที่อยู่รอบข้าง สุดท้ายผู้บริโภคก็จะไม่เลือก แล้วแบบนี้แบรนด์จะอยู่ต่อไปได้ยังไง” กมลทิ้งท้าย 

Writer

บรรณาธิการธุรกิจ มีความสนใจเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ-การตลาด และชื่นชอบการเข้าโรงงานเพื่อดูเบื้องหลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง

You Might Also Like