นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Keep Calm and Recycle

Recycle Day Thailand ระบบจัดการขยะแบบครบวงจรที่ช่วยให้แยกขยะได้สนุกและท้าทายเหมือนเล่นเกม

หลายคนคงรู้ดีว่าการแยกขยะไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าขั้นตอนการแยกขยะนั้นซับซ้อน แถมเมื่อแยกแล้วก็ไม่รู้จะไปส่งขยะที่ไหน เรียกซาเล้งมารับก็มาบ้างไม่มาบ้าง ครั้นจะขนออกไปส่งที่โรงรับซื้อด้วยตัวเองก็ดูไม่คุ้มทุนและยุ่งยาก 

สารพันปัญหาที่เกิดขึ้นตรงนี้เองที่หลายคนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างเพื่อให้การแยกขยะไม่ยากจนเกินไป เช่น สอนแยกขยะอย่างง่าย รวมรายชื่อโรงงานรับขยะให้คนรู้ว่าต้องส่งขยะที่ไหน กระทั่งการสร้างระบบสอนแยกและรับขยะแบบครบวงจร เช่น Recycle Day Thailand ที่ทำให้การแยกขยะดูไม่ยากจนอยากล้มเลิกความตั้งใจ

ว่ากันง่ายๆ Recycle Day Thailand คือระบบเรียกรถจัดการขยะแบบครบวงจรที่มีคู่มือสอนแยกขยะอย่างง่าย มีแอพพลิเคชั่นให้เรากดเรียกรถมารับขยะถึงบ้าน หรือถ้าไม่อยู่ในพื้นที่ที่รถจะเดิน ก็ยังมีจุดดร็อปขยะใกล้ๆ ให้เราไปส่ง ในแอพพลิเคชั่นยังบันทึกว่าเราแยกขยะไปแล้วเท่าไหร่ ขยะเหล่านั้นได้พอยต์สำหรับแลกของรางวัลหรือได้เงินคืนอีกแค่ไหน

เรียกว่าไม่เพียงช่วยอำนวยความสะดวกให้คนที่แยกขยะอยู่แล้วรู้ว่าขยะที่แยกจะเดินทางไปไหน แต่ยังสร้างเกมขนาดย่อมไว้ดึงดูดให้คนที่ไม่ได้สนใจเริ่มหันกลับมามอง แต่ภายใต้ความง่ายนี้กลับแฝงไปด้วยความยากในแง่มุมคนทำธุรกิจเพราะไม่เพียงต้องใช้แรงใจมหาศาลแต่ยังต้องมีแรงเงินหมุนเวียนด้วย 

เราจึงชวน ‘ชนัมภ์ ชวนิชย์’ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด มาพูดคุยถึงเรื่องราวเบื้องหลัง Recycle Day Thailand และโมเดลธุรกิจที่แม้ปัจจุบันจะยังไม่คืนกำไรแบบเป็นกอบเป็นกำ แต่ระบบการจัดการและการพัฒนาของทีมงานก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีๆ 

Pain point ของคนแยกขยะ

ก่อนกระโดดเข้าสู่แวดวงขยะรีไซเคิล ชนัมภ์และผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นๆ เป็นพนักงานในบริษัทใหญ่ที่มีโครงการจัดการขยะและพลังงานอยู่แล้ว การคลุกคลีในโครงการเหล่านี้เองที่ทำให้พวกเขาเห็นช่องโหว่ในระบบการจัดการขยะของไทยที่ต่อให้รณรงค์เท่าไหร่ ก็ยากจะไปถึงฝั่งฝัน

“ประเทศที่เจริญแล้วเกือบทุกประเทศมีการแยกขยะอย่างชัดเจนเพื่อแปรรูปขยะให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ในประเทศไทย การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เมื่อ 5 ปีก่อน กระแสสตาร์ทอัพกำลังมาแรงในไทย ผมกับเพื่อนๆ ก็มองว่าเราควรจะทำอะไรสักอย่าง”

ด้วยองค์ความรู้ที่มี ชนัมภ์และผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นๆ ลงความเห็นว่าขยะที่จัดการได้ง่าย สื่อสารไม่ยาก ใกล้ตัวทุกคน และน่าจะมีโอกาสทางธุรกิจได้ด้วยคือขยะรีไซเคิล มากกว่าจะเป็นขยะอุตสาหกรรมหรือขยะชุมชน โมเดลแรกๆ ของ Recycle Day Thailand จึงค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจากการแชร์ pain point ของคนแยกขยะกันไปมา

“ตัวผมเองอยู่บ้าน ผมเจอปัญหาว่าผมแยกขยะไม่ได้เพราะแยกแล้วไม่รู้จะส่งไปที่ไหน จะเรียกซาเล้งมารับ บางหมู่บ้านก็ไม่ให้เข้า หรือบางทีซาเล้งก็ไม่มาเสียเองเพราะปริมาณขยะที่ได้รับมันไม่คุ้มทุน ขณะที่เพื่อนที่อยู่คอนโดกลับแยกขยะได้ง่ายเพราะจะมีคนมารับขยะจากลูกบ้านทุกวันเสาร์ 

“ผมจึงเริ่มหันไปดูการจัดการขยะในประเทศอื่นบ้างว่าเขาทำกันยังไง พบว่าแต่ละเทศบาลก็จะระบุวันชัดเจนไปเลยว่าวันไหนบ้างที่จะเข้ามารับขยะประเภทไหน ตรงนี้เองที่ทำให้คิดว่าถ้าเราทำแบบเดียวกันบ้างจะเป็นไปได้ไหม” ชนัมภ์เล่า 

ฟื้นขยะให้มีค่าด้วยระบบแบบครบวงจร

“ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจที่ทำงานกับคนจำนวนมาก ทั้งพนักงานของเราเองและกับทั้งลูกค้า การมีเครื่องมืออย่างแอพพลิเคชั่นและระบบการจัดเก็บขยะที่ดีจึงจำเป็นมากเพื่อให้การสื่อสารมันง่าย การเก็บข้อมูลก็ไม่ยาก การนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อและคุยกับโรงงานที่รับซื้อก็ไม่ซับซ้อน อีกอย่าง เราไม่ได้อยากเป็นซาเล้งที่มารับขยะแล้วซื้อมาขายไป แต่เราอยากค่อยๆ แก้ไขพฤติกรรมคนด้วย” ชนัมภ์เกริ่นถึงความตั้งใจในการเริ่มธุรกิจนี้ 

เพราะความตั้งใจนั้น Recycle Day Thailand จะต้องถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ส่วนของสมาชิกที่แยกขยะ ระบบที่ว่าจะประกอบด้วยแอพพลิเคชั่นที่มีคู่มือสอนแยกขยะ ระบบนัดรถมารับขยะ และระบบเก็บบันทึกปริมาณขยะที่ขายได้ซึ่งจะแปลงมาเป็นพอยต์เพื่อแลกของรางวัล  

“ทุกคนควรจะรู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ อีกอย่างถ้าการแยกขยะมันสนุกขึ้น คนก็น่าจะมีแรงจูงใจและกำลังใจในการแยกต่อไป เราจึงพัฒนาให้มีระบบพอยต์และของรางวัล เพราะราคาขยะรีไซเคิลนั้นขึ้น-ลงอยู่ตลอด แทนที่เขาจะเก็บขยะเพื่อแลกเงินไม่กี่บาท ก็ให้เขาเก็บสะสมพอยต์นั้นมาแลกของรางวัลที่น่าสนใจดีกว่า” ชนัมภ์อธิบายแนวคิด

จัดการระบบให้สมาชิกแล้ว ก็ต้องจัดการระบบเพื่ออำนวยความสะดวกคนทำงานด้วย การเก็บขยะของ Recycle Day Thailand นั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือรถเก็บขยะที่จะขับไปในโครงการหมู่บ้าน สำนักงาน หรือคอนโด โดยทีมงานและนักพัฒนาจะจัดเส้นทางรับขยะให้คุ้มค่ามากที่สุด 

ส่วนใครที่อยู่นอกเส้นทาง จำเป็นต้องแยกขยะให้ได้ 30 กิโลกรัมจึงจะเรียกรถเข้ารับได้ จึงนำมาสู่แบบที่สองอย่างจุดดร็อปขยะ ที่ชนัมภ์ร่วมกับห้างสรรพสินค้าต่างๆ เพื่อสร้างจุดดร็อปขยะให้สมาชิกที่อยู่นอกบริเวณรถผ่านมาส่งขยะได้อย่างสะดวก เพียงยื่นขยะให้พนักงาน จากนั้นก็สามารถไปทำธุระต่อได้เลย

“ที่ต้องทำระบบให้ครบวงจรขนาดนี้เพราะผมก็อยากจะเห็นว่าถ้าเราทำให้ขนาดนี้แล้ว คนจะแยกขยะกันไหม ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงว่าตลอดเวลาที่ทำมา พฤติกรรมคนนั้นเปลี่ยนยากมากๆ แต่เราก็เห็นอีกเหมือนกันว่ามันเปลี่ยนได้ หลายคนที่แยกขยะให้เราแต่แรกก็ยังแยกอยู่จนทุกวันนี้ บางคนที่เพิ่งเข้ามาใหม่ได้แค่ 2 เดือน การแยกขยะก็กลายเป็นกิจวัตรของเขาไปแล้ว” ชนัมภ์อธิบาย

ถ้าเลือกเอาเวอร์ชั่นของแอพพลิเคชั่นเป็นตัวมาร์กจุดของธุรกิจ ขยะที่ได้จากแอพพลิเคชั่นเวอร์ชั่น 2 นั้นรวมๆ แล้วประมาณ 900 ตัน แต่หากรวมขยะตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกสุด Recycle Day Thailand และสมาชิกร่วมกันคัดแยกขยะไปหมื่นกว่าตันแล้ว ตัวชี้วัดนี้เองที่ทำให้โครงการหมู่บ้านต่างๆ ก็เริ่มติดต่อเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ ส่วนห้างร้านต่างๆ ก็ให้ความร่วมมือกับการตั้งจุดดร็อปขยะเป็นอย่างดี

ธุรกิจที่ต้องแก้ไขปัญหาตลอดเวลาและใช้แรงใจสูง

ธุรกิจที่ทำงานกับพฤติกรรมของคน แถมยังเป็นธุรกิจค่อนข้างใหม่เช่น Recycle Day Thailand จำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่หมั่นปรับปรุงและแก้ไขปัญหาอยู่ตลอด ยิ่งในช่วงแรกที่ต้องพิสูจน์กับทั้งตัวเอง พนักงาน และสังคมว่าธุรกิจนี้จะไปได้ ก็ยิ่งต้องใช้ความอดทนและแรงใจในการทำงานสูง

กว่าระบบของ Recycle Day Thailand จะครอบคลุมขนาดนี้ ชนัมภ์บอกว่าใน 2-3 ปีแรก เขาและเพื่อนๆ จำเป็นต้องตั้งเป้าเดินหน้าทดลองระบบมากกว่าตั้งเป้าหากำไร ตั้งแต่การดูว่าขยะแบบไหนบ้างที่รับได้หรือไม่ได้ ทดลองวิธีการนัดรับขยะผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ หาวิธีจ่ายเงินให้ลูกค้า กระทั่งเดินแจกโบรชัวร์ตามหมู่บ้าน 

“ช่วงแรก เราพยายามเข้าไปชักชวนหลายๆ โซนของกรุงเทพฯ เลยนะ เราก็จะเห็นว่าบางโซนอาจจะเวิร์ก บางโซนก็ไม่เวิร์ก แต่ที่พยายามเสี่ยงเข้าไปหลายโซนขนาดนี้ก็เพราะเราอยากทดลองและเราเชื่อว่าถ้าไม่มีคนเริ่ม การจัดการขยะมันก็จะไม่เกิด

“เมื่อก่อนเราก็รับขยะหลายรูปแบบกว่านี้ เช่น โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่กลายเป็นว่าคนเขาอยากจะเคลียร์ของเหมือนเราเป็นร้านรับซื้อของเก่ามากกว่า ผมเลยเลือกที่จะปฏิเสธขยะบางประเภทออกไป เพราะเงินที่ได้ก็ไม่คุ้มกับลูกค้า เราก็จัดการขยะลำบาก แถมพฤติกรรมของเขาก็ไม่ได้เปลี่ยนแบบที่เราตั้งใจ”

นอกจากการปรับเปลี่ยนเหล่านี้แล้ว ชนัมภ์และทีมงานยังตั้งเป้าปรับเปลี่ยนวิธีการจัดหาของรางวัลให้จูงใจคนมากกว่านี้ สรรหาทีมงานเพื่อขยายการรับขยะในแต่ละพื้นที่ให้มากขึ้น และพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเชิญชวนให้คนเป็นส่วนหนึ่งของ Recycle Day Thailand 

ธุรกิจเพื่อสังคมที่ต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองและมีคนเป็นทุนสำคัญ

การแยกขยะเพื่อส่งต่อให้ Recycle Day Thailand นั้นเป็นเพียงเศษหนึ่งส่วนสามของระบบเท่านั้น เพราะ Recycle Day Thailand ยังต้องนำขยะไปแยกประเภทให้ละเอียด จัดเก็บ และขนส่งขยะไปยังโรงงานแปรรูปขยะอีก แน่นอนว่าในทุกๆ ขั้นตอน ย่อมแฝงค่าใช้จ่ายเรื่องคนและค่าขนส่งจำนวนมาก

คำถามที่เราสงสัยคือ Recycle Day Thailand จะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนจริงไหม ชนัมภ์ไม่ลังเลที่จะบอกกับเราว่าธุรกิจนี้มีโอกาสและคุ้มทุน เพียงแต่ต้องค่อยๆ พัฒนาโมเดลและปรับปรุงระบบให้สอดคล้องและครอบคลุมกับความต้องการให้ได้ รวมถึงบริหารจัดการคนทำงานให้ดีกว่าเดิม 

“ผมว่าผมได้ทีมงานที่ดีมากๆ แล้วผมก็ว่าเขาค่อนข้างภูมิใจในงานที่ทำ มันเหมือนเป็นงานบริการเหมือนกันนะ เพราะอย่างจุดดร็อปขยะบางแห่งที่เปิดทุกวัน ทีมงานเราก็ต้องไปสแตนด์บายเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า หรือบางทีดึกแล้ว เขาก็ยังเข้าไปตอบคำถามที่คนสงสัย เพราะแบบนี้เราจึงต้องให้ความมั่นใจกับพนักงานทุกคน 

“เป็นที่มาว่า Recycle Day Thailand จะต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ด้วยสปอนเซอร์ การมีสปอนเซอร์ช่วยสนับสนุนย่อมดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราสามารถควบคุมและจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ธุรกิจมันจะขยายต่อไปได้และเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ณ ตอนนี้ เราอาจจะยังไม่ได้คืนกำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่เราเห็นว่ามันมีความหวัง เห็นว่าเรากำลังจะทำอะไร และรายได้ในอนาคตจะเป็นยังไง”  

ความตั้งใจที่ว่าและแผนที่เขาเกริ่นว่าต้องพัฒนา Recycle Day Thailand ไปในทิศทางไหน ไม่ใช่แค่เพื่อให้ Recycle Day Thailand ทะลุเป้าเก็บขยะได้วันละ 10 ตัน จากที่ปัจจุบันทำได้ 4 ตันเท่านั้น แต่ยังเพื่อให้การจัดการขยะนั้นยั่งยืน และทำให้ธุรกิจนี้หล่อเลี้ยงทีมงานที่ตั้งใจด้วย 

Writer

กองบรรณาธิการไลฟ์สไตล์ที่มีแมวเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like