นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

copycat layoffs

เมื่อบริษัทเพื่อนบ้านไล่คนออกมหาศาล หรือเราต้องทำตามบ้าง (แต่มันคุ้มค่าจริงไหม? ใครบอกได้บ้าง?)

พอมีบริษัทยักษ์ใหญ่เลย์ออฟคนมหาศาล ทำไมอีกหลายบริษัทถึงแห่ไล่คนออกอีกจำนวนมาก? จริงไหมที่เศรษฐกิจส่งผลให้ผู้บริหารอยากประหยัดงบ?

หรือที่จริงแล้วมันคือปรากฏการณ์​ copycat layoffs ที่ Jeffrey Pfeffer ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรของ Thomas D. Dee II แห่ง Stanford Graduate School of Business อธิบายว่าเป็นการลอกเลียนแบบมากกว่า คำพูดเหล่านี้สรุปจากการศึกษาเรื่องการจ้างและเลิกจ้างมานานกว่า 40 ปี

ความหมายของ copycat layoffs

copycat layoffs หรือการเลิกจ้างพนักงานจากการเลียนแบบ คือการเลิกจ้างคนจำนวนมากเพียงเพราะเห็นบริษัทในแวดวงเดียวกันเลิกจ้างคนโดยที่ไม่ได้ดูคุณหรือโทษของการเลิกจ้างจริงๆ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับแวดวงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสื่อในช่วงปี 2022-2023 หลังจากที่บริษัทเหล่านี้จ้างคนจำนวนมหาศาลในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา

สาเหตุที่ต้องเลิกจ้างตามคนอื่นเขา

  1. บางบริษัทต้องการลดสเกลองค์กร เลยเลือกเลิกจ้างคนเพื่อเป็นฉากบังหน้า ซึ่ง Annie Lowrey ระบุใน The Atlantic ว่าถ้ารีบเลิกจ้างคนในช่วงที่คนอื่นเลิกจ้างติดต่อกัน ผู้คนก็อาจจะไม่ได้สังเกตหรือมองว่าข่าวการเลิกจ้างของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่อะไร
  2. การเลิกจ้างในช่วงที่บริษัทอื่นๆ ก็ทำกัน ยังทำให้ผู้บริหารเลือกตัดพนักงานบางคนที่ไม่ถูกใจได้โดยไม่ถูกผู้ถือหุ้นหรือคนทั่วไปมองว่าเลือกปฏิบัติ เพราะใครๆ ก็เลิกจ้างคนในช่วงเวลานี้

เศรษฐกิจตกต่ำเกี่ยวข้องมากแค่ไหน?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพเศรษฐกิจมีผลต่อการเลิกจ้างพนักงาน แต่ Pfeffer เชื่อว่าการจ้างงานจำนวนมากในช่วงขาขึ้นของวงการ และการเลิกจ้างงานในข่วงขาลงถือเป็นการลอกเลียนแบบที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ เขายังบอกกับ Stanford News ว่า Meta มีเงินมหาศาล เพราะบริษัทเหล่านี้ล้วนทำเงิน ดังนั้นการที่บริษัทเหล่านี้แห่กันเลิกจ้างคนนั้นอาจมาจากการที่เห็นว่าบริษัทอื่นทำ

copycat layoffs ดีหรือโทษ?

Jeffrey Pfeffer มองว่าการเลย์ออฟไม่ส่งผลดีกับใครทั้งสิ้น แม้บริษัทจะได้ประหยัดต้นทุนในระยะสั้น แต่การเลิกจ้างเมื่อเศรษฐกิจผันผวน และกลับมาจ้างงานใหม่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวนั้นเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น

เพราะบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานจำนวนมหาศาล ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ จากการเทรนพนักงานใหม่อยู่เสมอด้วย และหลายๆ ครั้งบริษัทเหล่านี้ก็ยังหันกลับมาจ้างพนักงานที่เคยถูกเลิกจ้างด้วยซ้ำ นอกจากนั้นประสิทธิภาพของพนักงานที่ยังอยู่ก็จะถดถอย เพราะเงินชดเชยจำนวนหนึ่งอาจทำให้คนที่ยังอยู่รู้สึกว่าทำไมฉันไม่ถูกเลือก

Stephen McMurtry วิศวกรซอฟต์แวร์และประธานฝ่ายสื่อสารของสหภาพพนักงาน Google ที่ชื่อ Alphabet

  1. บอกว่า “การเลิกจ้างทำให้เกิดความวุ่นวายในที่ทำงาน คนที่เหลือยังมีภาระงานเพิ่มขึ้น และทีมที่เหลือยังรู้สึกวิตกกังวลว่าทีมไหนจะเป็นรายต่อไป”
  2. การเลิกจ้างยังอาจทำให้หุ้นบริษัทตกลงด้วยซ้ำ เพราะนั่นคือสัญญาณบางอย่างว่าบริษัทกำลังเผชิญปัญหา
  3. การเลิกจ้างยังทำให้ประชากรจำนวนมากไม่มีงานแบบกะทันหัน แน่นอนว่าเงินชดเชยที่ได้ก็อาจไม่สามารถนำมาใช้จ่ายได้เพียงพอในชีวิตประจำวันหรือหนี้ที่มีอยู่ หมายความว่ากำลังซื้อในตลาดก็จะลดลง และนั่นคือหนทางสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยิ่งกว่าเดิม
  4. The Week ยังอ้างอิงว่า Sandra Sucher และ Marilyn Morgan Westner กล่าวใน Harvard Business Review ว่าคนที่ถูกเลย์ออฟเหล่านี้ต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ย 2 ปีจึงจะฟื้นตัวจากบาดแผลทางจิตใจ ทำให้ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 1.3-3 เท่า ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 2 เท่า และความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น 4 เท่าทีเดียว

ถ้าไม่เลย์ออฟ มีทางเลือกอื่นสำหรับบริษัทบ้างไหม

  1. แทนที่จะจ้างและเลิกจ้างวนไปเหมือนกับวงโคจรของหนอนผีเสื้อ บริษัทควรวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อดูว่าในตลาดของตนเองนั้น ต้องการพนักงานแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าไหร่เพื่อประหยัดต้นทุนในระยะยาว
  2. แทนที่จะเลิกจ้างคน ให้เลือกรับพนักงานที่จะสามารถพลิกเกมบริษัทได้ นอกจากจะไม่ทำร้ายใจใคร ก็ยังอาจได้กลยุทธ์ใหม่สำหรับองค์กร
  3. Pfeffer ยังยกตัวอย่างกับ Stanford ว่าหลังเหตุโจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 สายการบินต่างๆ ได้เลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ยกเว้นสายการบิน Southwest Airlines และนั่นทำให้ Southwest Airlines ได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น
  4. Pfeffer ยังบอกความลับของอดีต CEO ของ Procter & Gamble (P&G) อย่าง A.G. Lafley ว่าเวลาที่ดีที่สุดในการเอาชนะคู่แข่งคือตอนที่พวกเขากำลังถอย ส่วน James Goodnight ซีอีโอของ SAS Institute บริษัทซอฟต์แวร์ก็ไม่เคยเลิกจ้างใครเลยเพราะเขาบอกว่าช่วงที่ยากลำบากนี้ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการคัดเลือกคนเก่งและคนที่มีความสามารถ
  5. แต่ถ้าต้องการลดต้นทุนจริงๆ Lincoln Electric ผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมโลหะแนะนำว่าแทนที่จะเลิกจ้างพนักงาน 10% ให้เลือกลดค่าจ้าง 10% พูดให้เห็นภาพคือแทนที่จะมอบความเจ็บปวด 100% ให้กับคนเพียง 10% พวกเขามอบความเจ็บปวด 10% ให้กับคนกว่า 100%

น่าสนใจว่าสถานการณ์การเลย์ออฟคนอย่างต่อเนื่องที่น่าจะเกิดขึ้นในปีนี้มีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจตกต่ำมากแค่ไหน และพนักงานอีกกี่เปอร์เซ็นต์ที่ถูกไล่ออกไปจะเป็นเหยื่อของปรากฏการณ์ copycat layoffs กัน

Writer

พิลาทิสและแมว

Illustrator

แล้วแต่จะคิด ชีวิตคนละแบบ

You Might Also Like