นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Investor, It’s Heartbroken.

เพราะเป็นนักลงทุนจึงเจ็บปวด

ด้วยสถานการณ์วันนี้ เชื่อว่านักลงทุนหรือคนที่ตั้งใจเก็บออมเพื่อลงทุนในหุ้นหรือตราสารต่างๆ คงจะรับกับภาวะที่สั่นสะเทือนมาก ไม่ว่าจะด้วยบิตคอยน์หรือสิ่งที่เรียกว่าคริปโตที่ลงต่ำมาก หรือบรรยากาศตลาดหุ้นช่วง 2-3 วันนี้ก็กระชากรุนแรงมาก ถือเป็นการตกอย่างหนักที่สุดในรอบหลายๆ เดือนที่ผ่านมา คำถามคือเกิดอะไรขึ้น 

ทุกครั้งที่เราพูดถึงการลงทุน เราก็ยอมรับจริงๆ ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเรื่อยมา อย่างในตอนนี้ สิ่งที่เราเห็นกันหรือคนชอบพูดถึงภาวะเงินเฟ้อ เงินเฟ้อคืออะไร และเงินเฟ้อ 7-8% กระทบต่อชีวิตเราแค่ไหน อธิบายง่ายๆ เช่น เมื่อต้นปีใช้เงินซื้อของชิ้นนี้ 100 บาท ถ้าตอนนี้เงินเฟ้อ 8% แปลว่าต้องใช้เงิน 108 บาทถึงจะซื้อของชิ้นนี้ได้ เพราะของมันแพงขึ้น 

ขณะที่เราเงินเดือนก็ยังเท่าเดิม ทำงานก็เหมือนเดิม แต่ของมันแพงขึ้น เราอยู่ได้ยังไงใช่มั้ยคะ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อรุนแรงไปมากกว่านี้ ภาครัฐทั้งหมดจะหันมาใช้นโยบายดอกเบี้ยแพง หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้สูง เพื่อดึงเงินออกจากระบบ และเมื่อสภาพคล่องที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจลดลง จะนำไปสู่การปรับลดของราคาสินค้าและบริการ ส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง) ซึ่งเราไม่เคยเห็นเรื่องนี้มานานมากแล้ว ใช่มั้ยคะ สมัยก่อนคนเคยแต่ฝากเงินไม่สนใจลงทุนเพราะดอกเบี้ยแพงมาก สูงถึง 10-12% ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 10-30 สตางค์เท่านั้น

ไหนๆ ก็พูดเรื่องดอกเบี้ยแล้วขอทบทวนเรื่องดอกเบี้ยทบต้นกันสักเล็กน้อยนะคะ 

จากสูตรมหัศจรรย์ตัวเลข 72 

72 หาร 10 เท่ากับ 7.2 

72 หาร 20 เท่ากับ 3.6

72 หาร 2 เท่ากับ 36 

อย่าเพิ่งสงสัยว่ากำลังมาใบ้หวยอะไร แต่คือการลงทุนที่เรียกว่าดอกเบี้ยทบต้น หมายความว่า ถ้าเรามีเงิน 1 แสนบาทวันนี้ ลงทุนที่อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนประมาณ 10% เงินนี้จะกลายเป็น 2 แสนบาท คือเท่าตัวพอดีภายในระยะเวลา 7.2 ปี

ในขณะเดียวกัน ถ้ามีเงิน 1 แสนบาท ลงทุนในอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี เงินนี้จะกลายเป็น 2 แสนภายในระยะเวลา 3.6 ปี และถ้าเราลงทุนที่อัตราดอกเบี้ย 2% เงิน 1 แสนบาทของเราเนี่ยกว่าจะทบต้นเป็น 2 แสนใช้เวลา 36 ปี ทีนี้เริ่มเข้าใจผลลัพธ์ของดอกเบี้ยที่แตกต่างกันแล้วใช่มั้ยคะ 

สมมติวันนี้ผลตอบแทนลงทุนคือ 1% แปลว่าต้องใช้เวลา 72 ปี หรือถ้าลงทุนได้ 0.5% เงินฝาก 1 แสนบาท จะกลายเป็น 2 แสนบาท ในเวลา 144 ปี

นั่นคือที่มาว่าทำไมคนเราต้องขวนขวายหาที่ลงทุน หาดอกผลที่ดีกว่า 

แต่เมื่อลงวิ่งในสนามลงทุนแล้ว ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลาดคริปโต หรือตลาดหุ้นกู้ ตอนนี้สั่นสะเทือนกันไปหมดเพราะว่าเรากำลังเจอภาวะเงินเฟ้อและภาวะดอกเบี้ยแพง ซึ่งไม่เคยเจอเลยในรอบ 10 ปี เอาล่ะ วันนี้เราจะไม่พูดถึงเศรษฐกิจ แต่จะพูดถึงเรื่อง ถ้าการลงทุนไม่ประสบความสำเร็จเราทำอะไรได้บ้าง 

หนึ่ง–ทุกครั้งที่พูดถึงเรื่องการลงทุน จะขอเน้นย้ำเรื่องการมีวินัย ซึ่งก็คือความพยายามมอนิเตอร์อัตราผลตอบแทนให้ได้ 10% ต่อปี แต่สมมติปีนี้เราลงทุนไปแล้วปรากฏว่ามันไม่ได้ประสบความสำเร็จ สมมติว่าไม่ได้ผลตอบแทนเลย เท่ากับหายไป 10% เราจะทำยังไงถ้าอยู่ในหุ้น เราจะ recommend ให้เอาพอร์ตฯ มาดู ซึ่งวิธีแก้ไขพอร์ตฯ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดูว่าหุ้นตัวไหนที่ลงไปลึก ต้องบอกว่า บ่อยครั้งก็มีเหตุการณ์ที่ตลาดตกใจจนบางทีหุ้นที่ต่างชาติถือหรือหุ้นที่กองทุนถือราคาลงไปลึกมาก เช่น เป็นหุ้นพวก utility ต่างๆ หรือหุ้นธนาคาร เราก็ลองคิดดูว่าวันที่เราซื้อหุ้นตัวนี้มาเราใช้ logic ในการคิดยังไง ซึ่งวันนี้ราคาถูกกว่าวันที่เราซื้อมาอีก สิ่งที่ทำได้คือซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาต่ำกว่าเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน อันนี้คือวิธีการแรกเลยนะคะ ทีนี้การถัวเฉลี่ยต้นทุน เราก็ต้องมี target หรือเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งมีบทความ มีรีเสิร์ช ให้ศึกษามากมาย 

สอง–ต้องดูว่าการเปลี่ยนแปลงของราคานั้น หากเกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องเศรษฐกิจส่งผลให้ตัวบริษัทนั้นเปลี่ยนแปลง อย่างนี้ก็อาจจะต้องยอม หรือที่เรียกว่า cut loss คือขายก่อนเพื่อไม่ให้กระเทือนหรือลงไปลึกกว่านี้

สาม–ปรับทั้งพอร์ตฯ หมายถึงอะไร สมมติมีหุ้นอยู่ 5 ตัว ไม่มีเงินใหม่เข้ามาหรือไม่อยากถมเงินเข้าไป ให้ใช้วิธีการขาย 2 ตัวที่เราคิดว่าโอกาสราคาขึ้นน้อยกว่า และเราเอาเงินจากการขาย 2 ตัวนั้นมาซื้อ 3 ตัวที่เหลือในพอร์ตฯ เป็นการทำ complimentary ทั้งหมดในการแก้พอร์ตฯ 

นี่คือโครงสร้าง 3 เรื่องหลักๆ ในการที่จะมีพอร์ตลงทุนและแก้ไขพอร์ตลงทุน 

แต่สิ่งที่เรามักเจอคืออะไรคะ หนึ่ง–พอราคาหุ้นตก ก็ไม่กล้าขาย ด้วยความรู้สึกว่าไม่ขายไม่ขาดทุน สอง–พอตกลงไปเยอะกว่าเดิมก็ยิ่งใจไม่ดี และสาม–บางท่านใช้เงินร้อนมาลงทุน พอมีความจำเป็นต้องใช้เงินก็ต้องขายแล้วเอาเงินออกไป พอ exit ปั๊บเราไม่ได้ลงทุนต่อ มันก็เหมือน hit loss ทันที 

ต้องบอกว่าเวลาที่ลงทุนมันมีทั้งภาพโฟกัสตรงหน้าที่เขาเรียกว่า zoom in กับภาพระยะยาวคือ zoom out เศรษฐกิจของเราตอนนี้ต้องถามว่าหลังจากเริ่มเปิดประเทศแล้วมันจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในช่วงปีนี้หรือปีหน้ามันจะวิกฤตแน่ๆ ดังนั้นในเรื่องการลงทุนถ้าเราเจอแบบนี้ก็ต้องหันกลับมาดูตัวเราด้วยว่า ตัวเราหน้าที่การงานเป็นยังไง กระแสเงินสดหรือเขาเรียกว่า cash flow เป็นยังไง เงินเก็บเราเป็นยังไง เพื่อจะวางตัวเราให้เหมาะสมกับการลงทุน 

สมมติว่าตัวเรายังมีหน้าที่การงาน มีรายได้ประจำ ไม่แน่คุณอาจจะทิ้งพอร์ตไว้เฉยๆ ได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ก็เหมือนว่ารอไป เดี๋ยวอีก 2 ปีค่อยมาดูใหม่ หรืออีกทางหนึ่งถ้าลงทุนเองแล้วรู้สึกเหนื่อยก็มาโฟกัสลงทุนในหน่วยลงทุนที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้

เวลาที่เราเจอเหตุการณ์แบบนี้ หนึ่ง–มีสติ สอง–ตั้งรับ สาม –ก็ต้องลองดูว่าแผนที่เราเลือกได้มีกี่แผน สี่–ดูว่า consequence ของแต่ละแผนเป็นยังไง และห้าก็คือการ take action ตรงนี้คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากนะคะ 

แล้วก็ต้องบอกว่าในบรรดานักลงทุนทั้งหมดที่อยู่บนโลกนี้ไม่เคยมีใครไม่ขาดทุน ไม่เคยมีใครที่ประสบความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา ทุกคนที่เป็นนักลงทุนล้วนเจอทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งการลงทุนที่ได้มากและการลงทุนที่เสียหาย เมื่อเราเห็นดังนี้แล้ว ก็อย่าทุ่มจนเกินไปนะคะ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกกดดันจนเกินไป มันไม่มีอะไรที่เป็นความล้มเหลวหรอก มันก็แค่บทเรียนอีกบทหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้และก้าวผ่านไปให้ได้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่เป็นนักลงทุนในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนแบบนี้ แต่ความไม่แน่นอนมันก็มีโอกาส บางท่านที่ไม่เคยเข้าลงทุนเลย วันนี้ท่านก็ซื้อหุ้นถูกกว่าเพื่อนสักประมาณ 20% แล้วเมื่อเทียบกับ 3 อาทิตย์ที่แล้ว นี่ก็เป็นโอกาสเหมือนกัน แต่โอกาสนี้หลายคนก็ต้องระมัดระวังว่าคุณเข้าใจบริษัทนั้นๆ ดีมั้ย คุณรู้เรื่องของเขาจริงๆ หรือเปล่า 

ส่วนเรื่องคริปโต สำหรับเราถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีอะไรเป็นตัวแบ็กเลย เป็นความเชื่อล้วนๆ ซึ่งใน ecosystem ยังไม่สามารถใช้เป็นตราสารทางการเงินหรือ currency ได้นะคะ ถึงแม้จะมีการยอมรับในบางส่วนแต่ก็ยังยากอยู่ มันส่งผลให้เวลาที่ตลาดโดน attack มันถึงได้เปราะบางมาก 

สิ่งที่จะแนะนำได้ก็คือต้นทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน บางท่านความจำเป็นในการใช้เงินไม่เท่ากัน บางท่านอาจจะบอกว่ายินดีแบ่งเงินแสนบาทมาลงทุน เขาพร้อมจะขาดทุนกับแสนบาทนี้ ไม่เป็นไร เขาก็อยู่เฉยๆ ได้ แต่สำหรับบางคน เงินแสนบาทนั้นคือเงินที่เก็บมาทั้งชีวิต 

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลงทุนอยากให้คิดถึงจุด cut loss อยู่ประมาณ 20% สมมติลงทุนไปแสนบาท วันนี้ราคาตกมา 8 หมื่นบาท เรา recommend ให้ขายก่อน เพราะอีก 20% คุณหากลับมาได้ แต่ถ้าคุณไม่ทำ คุณมีโอกาสที่จากแสนจะกลายเป็น 5 หมื่น กลายเป็น 3 หมื่น กลายเป็น 1 หมื่น เหมือนบางตัวตอนนี้

การลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นบทเรียนบทหนึ่งให้เราเข้าใจว่า ต่อไปนี้ถ้าเราจะลงทุนอะไรต้องมีความเข้าใจ รู้เรื่องการเข้า-ออกหรือเรื่องราวของมันให้ชัดเจน อะไรที่คนอื่นว่าดีอาจจะไม่ได้ดีกับเรา แต่ในขณะเดียวกันอะไรที่เป็นจังหวะที่ไม่ดี อย่างใครที่จะรอซื้อบิตคอยน์ที่ตอนนี้ต่ำกว่า 2 หมื่นแล้ว เป็นครั้งแรก คุณอาจจะซื้อสะสมไว้เพื่อเรียนรู้ก็อาจจะเป็นทางของคุณเหมือนกัน บอกไม่ได้จริงๆ ค่ะ มันไม่มีใครคอนเฟิร์มได้ ถามว่าทำไม ไม่เหมือนกับหุ้น ซึ่งโอเคเรายังมีสิทธิ์เป็นเจ้าของธุรกิจ แล้วก็ไม่เหมือนหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ที่อย่างน้อยก็ยังมีสถานะเป็นเจ้าหนี้  แต่คริปโตนั้นไม่ได้ทำให้เรามีความเป็นเจ้าของใน asset อะไร เพียงแต่ว่ามันมี right บนคริปโตนั้นๆ right อันนี้ถูกเปลี่ยนมือได้ และการเปลี่ยนมือก็คือคนที่เปลี่ยนมือยอมรับในราคา 

เพราะฉะนั้นมันก็มีถ้าคนเข้ามาเยอะๆ เป็นกฎ demand-supply ถ้าคนอยากได้อยากขาย ราคาก็ขยับขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าเมื่อไหร่ที่มันไม่อยู่ใน demand-supply คนต้องการจะขายมากกว่าคนต้องการจะซื้อ ราคาก็ตก แล้วเป็นการตกแบบที่ไม่มีอะไรมารองรับเลย ถ้าชอบชีวิตแบบโรลเลอร์โคสเตอร์คริปโตสนุกแน่นอน 

ท้ายที่สุดแล้วการลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เราหาทางแก้ไขได้ ปรับปรุงได้ หาจังหวะอื่นได้ แต่กับเรื่องความรู้สึก เราจัดการอย่างไร

เมื่อผิดหวัง ย่อมเกิดความรู้สึกเสียใจหรือไม่สบายใจได้ แต่อย่าโทษตัวเอง 

เชื่อเถอะค่ะ การตัดสินใจแต่ละครั้งเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดแล้วนะคะ จากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น เราคงกลับไปแก้ไขการตัดสินใจนั้นไม่ได้ แต่เรายังมีวันนี้อยู่นะ เพราะฉะนั้นถ้ามีวันนี้เราก็ทำวันนี้ให้ดีที่สุดใช่มั้ยคะ ผิดพลาดแล้วก็ผิดพลาดไปเป็นบทเรียน เราก็ทำงานใหม่ เก็บเงินใหม่ หาช่องทางในการลงทุนใหม่ อย่าได้ลงโทษตัวเอง อย่าให้จิตใจเศร้าหมอง พอจิตใจเศร้าหมองก็ส่งผลให้ร่างกายหมดแรง ไม่มีแรงคิดทำอะไร กินข้าวก็ไม่อร่อย เจอใครก็ไม่อยากคุย ยิ่งทำให้แสงรอบตัวมืดๆ ยังไงบอกไม่ถูก

สิ่งที่อยากจะบอกทุกคนก็คือ ไม่ว่าคุณจะเรียงร้อยอะไร ความสุขที่แท้จริงก็คือคนรอบข้างมีความสุข และเราจะมีความสุข ในขณะเดียวกันเราก็เป็นคนรอบข้างของคนอื่น ถ้าเราไม่มีความสุขเราจะทำให้คนรอบข้างเราไม่มีความสุข แล้วมันก็จะกลับมาเป็นเราไม่มีความสุขหนักเข้าไปอีก

ความสุขของเรา เราสร้างได้นะคะ ความทุกข์ของเรา เราก็จัดการได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเอาความทุกข์ออกมากระจายให้คนรอบข้าง ไม่จำเป็นจะต้องโทษตัวเองจนเกินไป สิ่งที่เราเจอ ทุกคนก็เจอ มันคือเรื่องราวที่ทุกคนเจอร่วมกัน เมื่อเวลาผ่านไปหากได้มีโอกาสแชร์ความผิดพลาดอาจจะกลายเป็นเรื่องที่คุยกันเฮฮาด้วยซ้ำ เธอขาดทุนเท่าไหร่ ฉันขาดทุนเท่านี้นะ อย่างน้อยเราก็ยังได้ลองได้สัมผัส 

เมื่อเวลาผ่านไปและหันกลับมามอง จะเห็นว่า ไม่น่านั่งกลุ้ม นั่งคิดอะไรอยู่ได้เลย เห็นเงินหายไปก็ทำงานมากขึ้น เก็บเงินมากขึ้น คุยกับคนมากขึ้น มูฟออน วันนี้ไม่สบายใจก็ไปออกกำลังกายให้เหงื่อออก สดชื่น วันนี้มันกินอะไรไม่อร่อย ก็ลองเปลี่ยนของกินไปหาอะไรแซ่บๆ หาน้ำซุปร้อนๆ ซดให้รู้สึกผ่อนคลาย คิดเสียว่านี่คือวันหนึ่งในชีวิตและมันก็จะผ่านไป 

ว่าแล้วก็คิดถึงประสบการณ์ครั้งแรกที่เจอความผิดหวังจากการลงทุน 

ตอนนั้นเด็กมาก อายุน่าจะประมาณ 25-26 เงินลงทุนคือ เงินเก็บทั้งหมดเลย เราก็รู้สึกว่าขมขื่นมาก รอตั้งนานแล้ว ราคาก็ไม่ขึ้น มีแต่ตกลงทุกวัน เราทนรอไม่ไหว ก็ตัดสินใจขายหุ้นทิ้ง ยอมขายที่ขาดทุน ขายเสร็จราคาหุ้นมันก็ขึ้น เราได้แต่วนเวียนโทษตัวเองตลอด 

มองย้อนกลับไปก็พบว่า หนึ่ง–เราไม่หนักแน่นพอ สอง–คำว่าวินัยไปไหน สาม–พอเรียนรู้ปั๊บก็กลายเป็นว่าชิลล์มาก พูดตรงๆ ราคาตก 20-30% ไม่เป็นไรหรอก ถ้ามันเป็นบริษัทที่ดีเดี๋ยวมันก็กลับมา แถมใช้จังหวะนี้ซื้อและสะสม จากประสบการณ์พบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์เคยขึ้นไปสูงสุดในปี 2537 ประมาณ 1,700 จุดนะคะ ถ้าเอาตามดัชนีวันนี้ขึ้นไป 1,800 แล้ววันนี้อยู่ประมาณ 1,600 วันนี้ลงเหลือ 1,500 จุดแล้ว แสดงว่าถ้าเทรดดัชนีตั้งแต่ปี 2537 นับจนถึงปีนี้ก็จะประมาณเกือบ 30 ปี เหมือนว่าจะไม่ไปไหนเลย แต่ระหว่างทางมีบางบริษัทที่กำไรหรือราคาหุ้นสูงกว่าเมื่อปี 37 มหาศาล แสดงว่ามันมีเรื่องราวที่ศึกษาได้ 

ขอใช้คำนี้เลยนะคะ วันนั้นเราอาจจะสะบักสะบอม แต่พอผ่านตรงนี้มาได้ อยากบอกทุกท่านในฐานะนักลงทุนว่าลองให้กำลังใจตัวเอง ลองดูแลตัวเอง แล้วก็อย่าโทษตัวเองจนเกินไปนะคะ วิ่งหกล้มก็ลุกขึ้น ปัดขาวิ่งใหม่ ไม่ใช่วิ่งหกล้มแล้วเลิกเลย สมมติวันนั้นไม่ไปไหนแล้ว เลิกลงทุนเลย แล้ววันนี้ต้องติดอยู่กับดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งต่อให้ขึ้นมา 2% อย่างที่เล่าไปตอนต้น จากสูตรตัวเลข 72 ดอกเบี้ยทบต้น 2% แปลว่าคุณต้องรอ 36 ปีกว่าเงินที่เก็บจะทบต้น มันยากมาก เป็นเหตุผลว่าทำไมคนทำธุรกิจถึงรวยเร็ว เพราะว่าเขาเนี่ยส่วนต่างหรือ margin อยู่ที่ประมาณ 20% ทำธุรกิจ 3 ปีเขาก็ทบต้นแล้ว  ขณะที่คนทำงานตลอดเวลา ฝากเงินมาตลอด 36 ปียังไม่ทบต้นเลย 

เริ่มต้นเราเหมือนจะเท่ากัน แต่สักพักช่วงว่างมันจะเริ่มฉีกกว้างขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากวิธีคิดล้วนๆ เรามักจะพูดเสมอว่าเงินไม่ทำให้เกิดความคิด แต่ความคิดได้ต่างหากที่ทำให้เกิดเงิน


WEALTH DONE คอลัมน์ที่อยากผลักดันให้คนหันมาวางแผนการเงิน หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนที่เกิดขึ้นรอบตัวและสงสัยใคร่รู้เป็นพิเศษ ส่งมาบอกพวกเราได้ที่ hello@capitalread.co หรือทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ Capital แล้วรออ่านคำตอบพร้อมกันทุกวันพฤหัสบดี เว้นวันพฤหัสบดี ที่ capitalread.co

Writer

อุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย กรรมการอิสระ และที่ปรึกษาทางการเงินผู้อยากให้คนไทยหันมาวางแผนทางการเงิน ขณะเดียวกันเธอก็เชี่ยวชาญในการวางแผนอ่านหนังสือและดูซีรีส์อย่างไรให้จบภายในหนึ่งคืน