นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Merger

ยุคแห่งการควบรวมกิจการ เปิดดีลใหญ่ในวงการธุรกิจ ผูกขาดหรือแข่งขัน

ในโลกของการทำธุรกิจ ไม่ว่าอุตสาหกรรมไหนก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภค การเข้ามาดิสรัปต์ของเทคโนโลยีต่างๆ หรือแม้แต่การถือกำเนิดของคู่แข่งทางธุรกิจรายใหม่ที่พร้อมจะเข้ามาแทนที่และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ในปัจจุบันธุรกิจที่อยู่รอดได้ต้องปรับตัวเก่ง จับกระแสสถานการณ์ต่างๆ ให้ไว 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เราจึงคงได้เห็นการปรับตัวในรูปแบบของ ‘การควบรวมกิจการ’ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีธุรกิจค่อนข้างเยอะ ถ้าต้องการควบรวมกิจการเพื่อโค่นล้มเบอร์หนึ่งในตลาด จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมหาศาล มีสรรพกำลังครบพร้อม การควบรวมกิจการจะช่วยเสริมเรื่องการแข่งขันแน่นอน

กลยุทธ์การควบรวมกิจการที่ได้รับความนิยมอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ การควบรวมกิจการแนวราบ (Horizontal Integration) และการควบรวมกิจการแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีรูปแบบและผลลัพธ์แตกต่างกัน

การควบรวมกิจการแนวราบ (Horizontal Integration) คือการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเป็นคู่แข่งกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจุดประสงค์ของการควบรวมกิจการแบบแนวราบ เป็นการซื้อเพื่อเพิ่มขนาดกิจการ เพิ่มตลาดในการขายสินค้า หรือเพื่อทำลายคู่แข่ง ข้อดีของการควบรวมกิจการแนวราบอยู่ที่การขยายตลาดออกไปได้กว้างและเร็วขึ้น อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการเปิดกิจการหรือสาขาใหม่ 

ในต่างประเทศการควบรวมลักษณะนี้มักจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นการผูกขาดตลาด ที่ทำให้มีผู้เล่นแค่หนึ่งหรือสองราย ถ้าเป็นการควบรวมในอุตสาหกรรมเดียวกันที่อาจส่งผลเสียต่อลูกค้า เพราะการแข่งขันลดลง ความกระตือรือร้นในการพัฒนาสินค้าก็ลดลงไปด้วย 

อย่างไรก็ตาม การควบรวมกิจการแนวราบ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องการวางแผนดำเนินงาน แม้ว่าลักษณะของกิจการจะมีสินค้า/บริการที่เหมือนกัน แต่โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรย่อมแตกต่างกัน หากไม่มีการวางแผนที่ดี อาจทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนในบางครั้งไม่ก่อให้เกิดผลกำไร หรือกิจการอ่อนแอลงกว่าเดิม

หนึ่งในเคสที่ถูกหยิบยกมาเล่าเมื่อเกิดการควบรวมแบบแนวราบคือ True และ  DTAC ที่ทุกคนต่างทราบดีว่า การแข่งขันของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทยมีผู้เล่นเพียงไม่กี่ราย คือ AIS, TRUE และ DTAC ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 100% และเมื่อ True ควบรวมกับ Dtac ที่ต่างก็เป็นผู้เล่นรายใหญ่กันทั้งคู่ ทำให้การแข่งขันในไทยเหลือผู้ให้บริการเพียง 2 รายเท่านั้น ถือเป็นการควบรวมกิจการแนวราบที่ผูกขาดตลาด และส่งผลเสียต่อผู้บริโภคทันที

การควบรวมกิจการแนวดิ่ง (Vertical Integration) คือการควบรวมกิจการที่เกี่ยวข้องและอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น ธุรกิจผลิตแป้งสาลีสำหรับทำขนมปัง เข้าซื้อกิจการร้านเบเกอรี หรือธุรกิจขนส่งเพื่อกระจายสินค้า เป็นต้น โดยข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ การช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะกิจการที่ซื้อมีความเกี่ยวข้องกันจึงทำให้ได้ราคาต้นทุนถูกกว่า

‘วงการพลังงานขยับ บางจากซื้อเอสโซ่’

ช่วงเดือนที่ผ่านมาหลายคนคงเห็นโพสต์อำลาพี่เสือแห่งปั๊มเอสโซ่ ปิดตำนาน 129 ปี หลังบางจากทุ่มงบกว่า 22,000 ล้านบาท ซื้อหุ้น 65.99% ของเอสโซ่ในประเทศไทยทั้งหมดที่มีกว่า 830 สาขา

ดีลนี้ทำให้บางจากมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 75% และกลายเป็นผู้เล่นที่มีโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในไทย อยู่ที่ 294,000 บาร์เรลต่อวัน และมีจำนวนปั๊มน้ำมันรวมกันอยู่ที่ 2,200 สาขา ขึ้นแท่นเบอร์ 2 ในตลาดค้าปลีกน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันทันที แซงหน้าปั๊มพีที ที่มี 2,181 สาขา ส่วนอันดับ 1 ยังเป็นปตท.อยู่เหมือนเดิม 2,473 สาขา แต่เมื่อดูจำนวนสาขาของบางจากและ ปตท.นั้นต่างกันแค่เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในไม่ช้าเราอาจเห็นตัวเลขสาขาของบางจากตีตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ 

การควบรวมลักษณะนี้ทำให้บางจากเติบโตขึ้นทั้งในแง่ของกำลังการผลิตและจำนวนปั๊มทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อขยายสาขาด้วยตัวเอง และที่สำคัญบางจากยังได้ฐานลูกค้ามากขึ้นโดยที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์

‘ปิดตำนาน Family Mart ในไทย’

เราเห็นสัญญาณการปลดป้าย Family Mart ในประเทศไทยมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ไม่มีการเปิดสาขาเพิ่มขึ้น และลดจำนวนสาขาลงทุกปี โดยในปี 2565 มีเพียง 415 สาขาเท่านั้น ซึ่งสวนทางกับร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ที่ตั้งเป้าเพิ่มสาขา ทำให้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เซ็นทรัล รีเทล ทยอยเปลี่ยนป้ายร้าน FamilyMart เป็น Tops daily

ซึ่งก่อนหน้านี้ FamilyMart เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยโดยเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด จนกระทั่งเซ็นทรัล รีเทลได้เข้ามาซื้อหุ้นในสัดส่วน 50.29% พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น Central FamilyMart จากนั้นในปี 2563 บริษัทย่อยของเซ็นทรัล รีเทลได้ทำการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มอีก 49% นั่นเท่ากับว่าเกือบ 100% เป็นหุ้นของเซ็นทรัล รีเทล แต่ยังใช้ชื่อ FamilyMart อยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน การแข่งขันของธุรกิจร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้เซ็นทรัล รีเทลต้องตัดสินใจครั้งใหญ่

ส่วนสำคัญที่ทำให้เซ็นทรัล รีเทล ตัดสินใจรีแบรนด์ FamilyMart อยู่ที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ร้านค้าปลีกที่มีขนาดเล็ก 1-2 ห้อง ไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคนี้ที่ต้องการร้านสะดวกซื้อที่มีขนาดใหญ่ มีสินค้าครบครันทั้งของสดของแห้ง ทำให้บริษัทตัดสินใจปลดป้าย FamilyMart ในไทยเพราะมองไม่เห็นวี่แววการเติบโต บวกกับสัญญาการบริหารของเซ็นทรัล รีเทลก็กำลังจะหมดลงในปีนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นการยกเครื่องครั้งใหญ่จาก FamilyMart สู่ Tops daily 

อย่างไรก็ตาม ชื่อของ Tops daily ก็ไม่ใช่แบรนด์ใหม่แต่อย่างใด Tops daily เป็นร้านค้าปลีกในรูปแบบของซูเปอร์มาร์เก็ตที่กระจายอยู่ในไทย มีสาขากว่า 100 แห่ง และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้น

จากกรณีศึกษาที่เรานำมาเล่านี้ ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าทำไมบริษัทใหญ่ๆ ถึงตัดสินใจขยายธุรกิจด้วยกลยุทธ์การควบรวมกิจการ เพราะในมิติของการลงทุน การตลาด และโอกาสทางการขาย การควบรวมกิจการสามารถเสริมศักยภาพความแข็งแกร่งให้ธุรกิจได้ทั้งหมด

อ้างอิง

  • thewindustry.com/columnist/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C%20%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20(Pich%20Rodpai)/detail/5444w

Writer

นักเขียนที่สนใจเรื่องธุรกิจ การตลาด และความเป็นไปในสังคม

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com