นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

The Kajitsu Playlist

‘Kajitsu’ ร้านมังสวิรัติญี่ปุ่นในนิวยอร์กที่อร่อยจน Ryuichi Sakamoto มาจัดเพลย์ลิสต์เพลงในร้านให้ฟรี

เสียงที่ทำให้กินอร่อยขึ้น

สิ่งที่แตกต่างระหว่างการนั่งกินข้าวที่บ้านกับการนั่งกินข้าวในร้านคือประสบการณ์ที่คุณจะได้รับ Kajitsu

เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณสบายตัวสบายใจ คุณพิมพ์งานไป กินไป ดูเน็ตฟลิกซ์ไป ก็เป็นเรื่องธรรมดา อาณาจักรของคุณ คุณจะทำอะไร เมื่อไหร่ก็ได้

เมื่อคุณนั่งกินข้าวที่ร้านอาหาร เจ้าของร้านทุกคนอยากให้คุณกินเสร็จแล้วกลับมากินอีก พวกเขาจึงทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในร้านอาหารให้กับคุณ

มีงานวิจัยมากมายหลายหลากจากทั่วทุกมุมโลกสนใจเรื่องผลกระทบของเสียงเพลงที่บรรเลงในร้านอาหารว่ามีผลต่อลูกค้าและประสบการณ์ในการนั่งรับประทานอาหารในร้านมากน้อยแค่ไหน เช่น มีแนวโน้มว่าลูกค้าจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในร้านอาหารที่เปิดเพลงคลาสสิก, ร้านอาหารที่เปิดเพลงในจังหวะรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะเร่งเร้าให้ลูกค้ารับประทานอาหารเร็วขึ้น ทำให้รอบในการ turnover หรือรอบในการรับประทานอาหารจนเสร็จของลูกค้าแต่ละโต๊ะดูจะรวดเร็วขึ้น, เพลงแจ๊ส สไตล์เพลงที่เราคุ้นหูกันอยู่บ่อยๆ เมื่อเดินเข้าร้านอาหาร เป็นสไตล์เพลงที่ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะรู้สึก ‘ชอบ’ อาหารที่รับประทานมากกว่าแนวเพลงอื่นๆ

เมื่อเสียงเพลงดูมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความรื่นรมย์ให้ลูกค้าในร้านอาหาร จึงมีหลายแพลตฟอร์มทั้ง YouTube, Spotify, หรือ SoundCloud ที่รวบรวมรายชื่อเพลง หรือที่เรียกกันว่า เพลย์ลิสต์ เอาไว้สำหรับเปิดในร้านอาหาร พูดง่ายๆ คือ คิดมาให้แล้วว่านี่คือคือรายชื่อเพลงที่ดีที่คุณใช้เปิดในร้านอาหาร แล้วจะทำให้ลูกค้าอารมณ์ดี

แต่ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนจะชื่นชมกับเพลย์ลิสต์ที่มีให้หยิบหาได้ทั่วไปบนแพลตฟอร์มเหล่านี้น่ะสิ

ร้านมังสวิรัติญี่ปุ่นในนิวยอร์ก

Kajitsu ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่ถนน 39 ใกล้ๆ กับถนนเลกซิงตันของมหานครนิวยอร์กที่ขายอาหารแบบ Shojin ซึ่งก็คืออาหารมังสวิรัติที่ถือกำเนิดมาจากลิทธิเซนในศาสนาพุทธ ตัวอย่างอาหารที่เสิร์ฟที่นี่ก็อย่างเช่น ซุปมิโสะสีแดงกับเทมปุระเห็ดไมตาเกะ, ปอเปี๊ยะทอดสอดไส้มันฝรั่งที่เพิ่งเก็บสดๆ กับถั่วปากอ้า

ว่ากันว่าแต่ละเมนูที่เสิร์ฟที่นี่เป็นเมนูที่เรียบง่ายแต่งดงาม ผสมผสานความเป็นธรรมชาติของวัตถุดิบและวิถีชีวิตออกมาจนเป็นรสที่กลมกล่อม รสไม่เข้มเกิน กลิ่นไม่ฉุนไป เป็นความพอดีที่หาเจอไม่ได้ง่ายๆ ในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหลับใหลแห่งนี้

อาจจะเพราะความเรียบง่ายที่ลงตัวพร้อมสรรพทั้งอาหาร การบริการและการตกแต่งของร้านทำให้ Kajitsu ได้รับ 1 ดาวมิชลิน เป็นร้านอาหารเพียงร้านเดียวในนิวยอร์กที่ขายอาหารมังสวิรัติแล้วได้ดาวมิชลิน ทำให้ที่นี่กลายเป็นหมุดหมายที่นักกินทั้งหลายในมหานครแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นชาววีแกนหรือไม่ ต่างพากันจดขึ้นในลิสต์ของตัวเองว่าจะต้องแวะมาลองเป็นชาววีแกนแบบญี่ปุ่นสักครั้งที่นี่

ริวอิจิ ซากาโมโตะ (Ryuichi Sakamoto) นักดนตรีและนักแต่งเพลงชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์กเป็นหนึ่งในนั้น แต่เขาไม่ได้เป็นเพียงแค่ลูกค้าขาจร เขาเป็นลูกค้าขาประจำของร้านนี้

สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้จัก ผลงานที่ผ่านมาของริวอิจิก็เช่น เพลงที่ใช้ในพิธีเปิดโอลิมปิกปี 1992 ที่บาเซโลนา, เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor (1987) และอีกหนึ่งผลงานการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ของริวอิจิที่อาจจะถือเป็นการเปิดประตูความสำเร็จของการเป็นนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ให้กับเขา คือเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Merry Christmas Mr. Lawrance (1983) ที่เขาได้รางวัล BAFTA มาครองอีกด้วย

นอกจากนั้นริวอิจิยังเคยได้รางวัลจากการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ทั้ง Oscar, BAFTA, Grammy, และ Golden Globe Awards สรุปคือเขาเป็นนักดนตรีคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เราจะเรียกเขาว่าเป็นคนที่มีดนตรีในหัวใจ เป็นคนที่ชื่นชอบในเสียงเพลง และเป็น ‘ตัวจริง’ คนหนึ่งในวงการเพลงก็คงไม่ผิดนัก

นั่นอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขารู้สึกรำคาญใจกับเพลย์ลิสต์ที่เปิดที่ร้าน

“นี่มันเพลงอะไรกันครับเนี่ย

“ผมคิดว่าเพลย์ลิสต์เพลงที่เปิดที่นี่มันแย่มาก แย่มากๆ เลยครับ ที่เปิดอยู่นี่มันเพลงอะไรกันเนี่ย ทำไมเขาเปิดเพลงผสมกันระหว่างป็อปบราซิลเลียน อเมริกันโฟล์กซอง แถมมีบางเพลงเป็นแจ๊สสลับกัน”  ริวอิจิพูดไปซี้ดปากไป ราวกับว่าเขาไม่อาจพรรณนาถึงความรู้สึกที่ท่วมท้นนั้นออกมาได้มากพอ ระหว่างพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเพลย์ลิสต์ของร้านนี้กับคอลัมนิสต์ของ The New York Times

พรสวรรค์หรือคำสาป

พรสวรรค์ในการเป็นนักดนตรี ความเป็นเฟอร์เฟกชันนิสต์ สถานะนักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จของริวอิจิ ดูเหมือนกับว่าจะมาพร้อมกับคำสาปที่ทำให้เขาไม่สามารถทานทนกับรายการเพลงที่เขารู้สึกว่ามันไม่เข้าที่เข้าทางได้ เหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นกับเขาบ่อยๆ เขารู้สึกว่าเสียงดนตรีที่เปิดในร้านอาหารหลายๆ แห่ง ช่างไม่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันหรือ ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันกับร้านอาหารเอาเสียเลย

หลายต่อหลายครั้งที่ริวอิจิรู้สึกเช่นนั้น แต่เขาเลือกที่จะเก็บงำมันเอาไว้ แล้วเดินออกจากร้านไปแบบเงียบๆ ไม่พูดบ่นอะไรกับพนักงาน แต่ก็ไม่กลับไปที่ร้านนั้นอีก

“ผมทนไม่ได้เลยครับ แต่กับร้านนี้ มันเป็นร้านที่พิเศษจริงๆ และผมให้ความนับถือเชฟโอโดะ ซึ่งเป็นเชฟของที่นี่มากๆ”

ช่วงบ่ายวันหนึ่งท่ามกลางถนนที่ทั้งรถติดและแสนวุ่นวาย ริวอิจิแวะมาที่ร้าน Kajitsu เหมือนเคย แต่เขาก็ต้องรีบกินรีบออกจากร้านไป ไม่ใช่เพราะเขามีธุระที่ไหนต่อ หรือเพราะว่าอาหารไม่อร่อย แต่เขาทนนั่งฟังเพลงที่เปิดในร้านต่อไม่ไหวจริงๆ

อย่างไรก็ตาม เพราะความอร่อยของอาหารในร้าน เป็นพลังมากพอที่ผลักให้เขาอยากจะสะสางสิ่งที่เขามองว่าคือปัญหาของร้านนี้ บ่ายวันนั้นริวอิจิกลับบ้านไปเขียนอีเมลถึง คุณโอโดะ หนึ่งในเชฟที่ดูแลร้านในช่วงนั้น

“ผมรักอาหารของคุณ ผมเคารพคุณและผมรักร้านอาหารร้านนี้ แต่ผมเกลียดเพลงที่เปิดที่นี่ครับ ใครเป็นคนเลือกเพลงเหล่านี้ครับ ใครเป็นคนตัดสินใจที่จะผสมเพลงพวกนี้เข้าด้วยกันครับ ให้ผมเป็นคนเลือกเพลงเถอะครับ เพราะอาหารของคุณมันช่างงดงามราวกับพระตำหนักคัตสึระ แต่เพลงที่เปิดในร้านคุณมันเหมือนกับตึกทรัมป์ทาวเวอร์เลยครับ”

ริวอิจิพร่ำพรรณนาถึงความรู้สึกรำคาญใจอย่างล้นหลามของเขาต่อเพลย์ลิสต์ของร้าน พร้อมเสนอตัวเองเป็นผู้เลือกสรรเพลงที่จะเปิดในร้านอาหาร 1 ดาวมิชลินแห่งนี้ แถมการเลือกสรรเพลงเพื่อเปิดในร้านแห่งนี้ ริวอิจิเสนอตัวทำให้ ‘ฟรี’ ไม่คิดเงินเลยแม้แต่สตางค์แดงเดียว

เพราะความอร่อยคำเดียวที่พาให้มนุษย์เฟอร์เฟกชันนิสต์ อย่างริวอิจิมาถึงจุดนี้

เมื่อทางร้านได้รับอีเมลจากริวอิจิ ก็คงจะประหนึ่งเหมือนมีประโยคคลาสสิกจากภาพยนตร์เรื่อง Godfather ลอยเข้ามา 

ข้อเสนอของคุณริวอิจินั้น “เป็นข้อเสนอที่คุณไม่อาจปฏิเสธได้”

Kajitsu

เพลย์ลิสต์ของริวอิจิที่ไม่มีเพลงของริวอิจิ

เราต่างทราบกันดีว่าเราอาศัยอยู่ในยุคที่บริษัทสตรีมมิงเพลงสามารถวัดความนิยมในตัวศิลปินได้จากยอดการดาวน์โหลด และการกดเข้าไปฟังเพลงของคุณผู้ฟัง พูดแบบง่ายๆ คือ ยิ่งมีคนกดเล่นเพลงคุณมากเท่าไหร่ คุณยิ่งถูกนับว่าเป็นคนที่มีความนิยมมากขึ้นเท่านั้น แถมมันอาจจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นส่วนแบ่งลิขสิทธิ์อีกด้วย ฉะนั้นศิลปินทุกคนน่าจะอยากให้เพลงของตัวเองถูกกดฟัง หรือกดดาวน์โหลดเป็นจำนวนมากครั้งมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่แน่ใจว่าริวอิจิคำนึงถึงผลประโยชน์การกดฟังซ้ำบ่อยๆ ตรงนี้หรือไม่ แต่เมื่อเขาได้โอกาสในการจัดเพลย์ลิสต์ให้กับร้าน Kajitsu แห่งนี้ เขาน่าจะต้องรู้ดีอยู่แก่ใจว่า เพลย์ลิสต์นี้จะถูกกดเล่นซ้ำไปซ้ำมาวนไปวนมาอีกเป็นร้อยเป็นพันรอบ อย่างน้อยๆ ก็จากพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเปิดเพลงในร้านนี้นี่แหละ แต่ปรากฏว่าเพลย์ลิสต์ที่เขาจัดให้ร้าน กลับไม่มีเพลงของเขาเลยแม้แต่เพลงเดียว

แล้วเขาใช้เกณฑ์ใดในการเลือกเพลงที่จะมาเปิดในร้านโปรดแห่งนี้กัน?

ตามปกติวิสัย เวลาเราจัดเพลย์ลิสต์เพลงคนมักจะเลือกเอาเพลงที่ตนเองชอบ ฟังแล้วรู้สึกถูกจริตกับรสนิยมของตัวเอง แต่กับริวอิจิแล้ว เขามีความคิดที่ต่างออกไปในการจัดเพลย์ลิสต์ให้กับร้าน Kajitsu

“ผมต้องการสร้างคอลเลกชั่นของเพลง ที่สร้างบรรยากาศให้กับร้านนี้ครับ” 

ริวอิจิใส่ความตั้งใจในการสร้างเพลย์ลิสต์ครั้งนี้มาก ใจหนึ่งเขาอาจจะกลัวว่าเขาจะมีใจลำเอียงจนเกินไปในการเอาบรรทัดฐานของตัวเองเพียงคนเดียวมาตัดสินว่าเพลงไหนเหมาะควรพอที่จะมาอยู่ในร้านมิชิลิน 1 ดาวแห่งนี้ เขาจึงชวน ริว ทาคาฮาชิ (Ryu Takahashi) เพื่อนนักดนตรี นักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในนิวยอร์กอีกคนมาช่วยกันรังสรรค์รายชื่อเพลง

Kajitsu

กลายร่างมา 5 ครั้งจนกว่าจะมาเป็นเพลย์ลิสต์ที่ ‘ใช่’

เริ่มขั้นตอนการสร้างเพลย์ลิสต์ด้วยใจที่อยากสร้างบรรยากาศให้กับร้านโปรดของเขาแห่งนี้ เขาสร้าง ‘ร่าง’ เพลย์ลิสต์อยู่ 5 ร่าง แล้วนำมาเปิดในร้าน ในขณะที่เปิดเขากับภรรยาก็นั่งกินข้าวในร้านไปด้วย เป็นการจำลองเหตุการณ์เสมือนหนึ่งว่าเขาเป็นหนึ่งในลูกค้า แล้วเขากับภรรยาก็เห็นตรงกันว่า เพลงที่ถูกเลือกมาส่วนใหญ่ให้ความรู้สึกมืดหม่นเกินไปไม่รับกับบรรยากาศของร้านเอาเสียเลย

ด้วยแสงไฟในร้าน สีของกำแพง สีของเฟอร์นิเจอร์ในร้าน ทุกอย่างดูส่องสว่าง แต่เพลงที่เขาเลือกมามันกลับมืดหม่น ริวอิจิเริ่มการคิดเพลย์ลิสต์ใหม่ให้กับร้านไปเรื่อยๆ 

“ผมไม่ได้คิดถึงเพียงแต่แค่อาหารหรือชั่วโมงยามของวัน แต่ผมคิดถึงโทนสีของร้าน บรรยากาศ และการตกแต่งของร้านด้วยครับ”

หลังจากที่คัดสรรกันมาจนเป็นร่างที่ 6 ซึ่งเรียกกันว่าเป็นร่างเพลย์ลิสต์ที่ไม่สว่างไป ไม่มืดไป ไม่แจ๊สไป ไม่โดดเด่นเกินไป ริวและริวอิจิก็ตกลงใจว่าร่างนี้แหละ คือเพลย์ลิสต์เพลงที่เหมาะและสมศักดิ์ศรีกับการเปิดในร้านอาหารมังสวิรัติญี่ปุ่นที่งดงามแห่งนี้ 

และเพลย์ลิสต์นั้นปัจจุบันมีให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปเปิดฟังกันได้ทั้งใน Apple Music, YouTube, Spotify และ SoundCloud ภายใต้ชื่อ Kajitsu Playlist

ซึ่งหากคุณลองเปิดเข้าไปฟังดูคุณอาจจะรู้สึกแบบเดียวกันกับที่ริวอิจิ , ริว และผู้เขียนรู้สึก เช่น จังหวะเนิบช้าจากเสียงบรรเลงของเปียโนจากเพลง Threnody ของ Goldmund ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และเรียบง่ายงดงาม, เสียงวงดนตรีออร์เคสตร้าผสมผสานกับเสียงทรัมเป็ตพลิ้วไหวอ่อนโยนจาก Chet Baker ในเพลง Promenade sentimentale ของ Vladimir Cosma แสดงถึงความไพเราะของดนตรีแบบเรียบง่าย ไม่เอะอะ ไม่เรียกร้องความสนใจแต่เพราะแบบเป็นธรรมชาติ

ลองคิดดูว่าหากเปิดเพลงทั้ง 44 เพลง ใน Kajitsu Playlist พร้อมๆ กับการได้จิบชา และรับประทานอาหารญี่ปุ่นมังสวิรัติ 1 ดาวมิชลิน ทั้งลิ้นสัมผัส หูสัมผัส และกายสัมผัส ถึงบรรยากาศและความรื่นรมย์ทั้งรูปรส กลิ่นเสียง มันจะช่วยทำให้ประสบการณ์ในร้านอาหารของคุณงดงามมากขึ้นขนาดไหน

Kajitsu

อาจจะเป็นเพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในแต่ละฤดู หรือความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ในนิวยอร์กที่ไม่เท่ากันของฤดูร้อนกับฤดูใบไม้ผลิ เมื่อสร้างเพลย์ลิสต์เรียบร้อยแล้ว ริวอิจิจึงตั้งใจเอาไว้ว่า เขาจะจัดเพลย์ลิสต์ให้กับร้านใหม่ในทุกฤดูเพื่อให้คนที่เดินย่างเข้ามาในร้านที่งดงามแห่งนี้ รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับความสงบ และความเป็นธรรมชาติของร้าน

กลับมาที่คุณโอโดะ เชฟของร้าน Kajitsu แห่งนี้ผู้เป็นที่นับถืออย่างยิ่งของคุณริวอิจิ ดูเหมือนว่าเชฟโอโดะ จะพอใจเป็นอย่างมากกับผลงานศิลปะทางดนตรีที่คุณริวอิจิใส่ใจสร้างมันขึ้นมาให้กับร้าน จนเมื่อเชฟโอโดะเปิดบาร์หรือร้านอาหารแห่งใหม่ เขาจึงได้มอบตำแหน่งงานหนึ่งที่เขาคำนึงแล้วว่ามีความสำคัญในการสร้างสรรค์ความงามของร้านให้กับคุณริวอิจิ 

นั่นคือตำแหน่ง ‘เชฟเพลย์ลิสต์’

เพราะอร่อยแค่ลิ้นคงไม่พอ เปิดร้านอาหารทั้งทีต้องคิดถึงความอร่อยจมูก (อาหารหอมน่ากิน), อร่อยผิว (อาหารอุ่นร้อนหรือเย็นจัดในอุณหภูมิที่กำลังอร่อยสำหรับอาหารนั้นๆ), อร่อยตา (ตกแต่งร้านสวย ดูดี) 

และต้องปิดท้ายด้วยอร่อยหู จากการจัดเพลย์ลิสต์เพลงเพราะ ๆ ด้วยสิ

ถึงจะเรียกได้ว่าสะสมแต้มความอร่อยเพื่อบำเรอให้กับลูกค้าได้ครบองค์ประกอบ

Kajitsu

ที่มา:

nytimes.com/2018/07/23/dining/restaurant-music-playlists-ryuichi-sakamoto.html

researchgate.net/publication/315800050_The_impact_of_music_in_restaurants

journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0013916503254749

cloudcovermusic.com/music-for-business/jazzgothammag.com/michelin-star-restaurants-nyc

Tagged:

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

You Might Also Like