นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Think In-N-Out of the Box

ทำไมขายแค่ 4 ชั่วโมง? คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังและฟังเรื่องราวกว่าจะมาเป็น In-N-Out Burger

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องกินนั้นอยู่ในสายเลือดนักชิมชาวไทย โดยเฉพาะกับความพยายามในการลิ้มลองรสชาติของกินแบรนด์ใหม่ๆ ตัวอย่างที่ผ่านมาก็มีทั้งโดนัทแบรนด์ดังจากอเมริกาอย่าง Krispy Kreme หรือขนมปังอบสัญชาติมาเลเซียอย่าง Rotiboy ก็เคยสร้างความสั่นสะเทือนและพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าคนไทยไม่ลดราวาศอกให้ใครทั้งสิ้นถ้าเป็นเรื่องการต่อคิวเพื่อซื้อของอร่อย

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ที่ชั้น G ของห้าง Siam Discovery เราได้เห็นปรากฏการณ์การต่อคิวแบบนั้นอีกครั้ง กับการเปิดป๊อปอัพสโตร์ของ ‘In-N-Out Burger’ แบรนด์เบอร์เกอร์ชื่อดังจากฝั่งเวสต์โคสต์ของอเมริกา

การเปิดป๊อปอัพสโตร์คราวนี้ของ In-N-Out Burger นั้นไม่ธรรมดา เพราะพวกเขาเลือกเปิดในวันและเวลาที่ถือว่าปราบเซียน โดยเปิดในวันธรรมดาช่วงกลางสัปดาห์และเปิดเพียงแค่ 4 ชั่วโมง ตั้งแต่ 12:00-16:00 น. เท่านั้น

เราไปถึงที่หน้าร้านประมาณ 14:00 น. แต่ปรากฏว่าเบอร์เกอร์ทั้งหมดที่เตรียมมาขายหมดเสียแล้ว เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ข้อสันนิษฐานที่ว่า วงการการต่อคิวซื้อของกินของคนไทยไม่แพ้ชาติใดจริงๆ  

เท่ากับว่า In-N-Out Burger ขายหมดเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง แถมยังมีผู้เดินทางมายังหน้าร้านอย่างไม่ขาดสาย แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะนำเชือกกั้นมากั้นทางเข้าร้านแล้วก็ตาม

ถึงจะผิดหวังจากการได้ชิมเบอร์เกอร์ แต่อย่างน้อยวันนี้เราก็ได้พบกับชาวแคลิฟอร์เนียน ลูอิส เออร์นานเดซ (Luis Hernandez) ผู้จัดการฝ่ายอีเวนต์ต่างประเทศของ In-N-Out Burger อีกหนึ่งผู้อยู่เบื้องหลังป๊อปอัพสโตร์ที่เราเห็น

หลายคำถามที่ค้างคาใจจากปรากฏการณ์ตรงหน้าจึงคลี่คลายเมื่อเราได้สนทนากับเขา ซึ่งหลายคำถามเราเชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนสงสัยเช่นกัน

ลูกค้าชาวไทยมากันมากมาย อยากรู้ว่าทำไมตัดสินใจเปิดขายแค่ 4 ชั่วโมง

คือเราคิดว่ามันน่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วนะ (ยิ้ม)

ความจริงก็คือว่า จำนวนคนที่เราพามาจากแคลิฟอร์เนียค่อนข้างจำกัด เราพามาได้เพียงแค่บางคนและบางส่วนเท่านั้น แถมวัตถุดิบบางอย่าง เช่น พวกขนมปัง ชีส พริกดอง และซอสต่างๆ เราก็ส่งตรงมาจากแคลิฟอร์เนีย ดังนั้นเราคำนวณแล้วว่าจากจำนวนคนที่เราพามาและจำนวนวัตถุดิบที่เรานำมา 4 ชั่วโมงน่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสม และคุณลองดูสิ มันเป็นป๊อปอัพที่สวยงามและประสบความสำเร็จมากเลยนะวันนี้ คนเป็นร้อยๆ คนมาต่อคิวเพื่อรอกินเบอร์เกอร์เรา มันเป็นภาพที่งดงามมากนะ

หมายความว่าคนที่อยู่ในครัวในร้านป๊อปอัพวันนี้ล้วนมาจากแคลิฟอร์เนีย

ใช่ พวกเขาถูกส่งตรงมาจากแคลิฟอร์เนีย เราเอาคนที่มีประสบการณ์สูงและสามารถทำเบอร์เกอร์ได้อย่างยอดเยี่ยมมาเพื่อวันนี้วันเดียวเลย

กำลังคนและวัตถุดิบที่เตรียมมาวันนี้ผลิตเบอร์เกอร์ได้มากแค่ไหน

เราเตรียมมาสำหรับผลิตเบอร์เกอร์ประมาณ 600 ชิ้น ทั้งเฟรนช์ฟรายส์ก็เช่นกัน ประมาณ 600 ชุด

แล้วทำไมเลือกเปิดวันธรรมดาซึ่งคนส่วนใหญ่ทำงาน

ผมว่าผลลัพธ์มันออกมาสวยงามนะ กับการมาเปิดวันธรรมดา ผมคิดว่าถ้ามาเปิดวันหยุดนี่สงสัยคนคงจะมากมายมหาศาลกว่านี้แน่เลย (ยิ้มกว้าง)

อะไรทำให้คุณตัดสินใจเลือกมาเปิดป๊อปอัพสโตร์ที่กรุงเทพ

แล้วทำไมเราจะไม่มาล่ะ (หัวเราะ) คือจริงๆ แล้วเราอยากออกไปท่องโลกกว้างอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ แล้วกรุงเทพก็เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยมทั้งอาหาร ทั้งผู้คน ดังนั้นเราแฮปปี้ที่จะมาที่นี่อยู่แล้ว

จากภาพที่เห็น คุณคิดยังไงกับลูกค้าชาวไทย

จากจำนวนคนวันนี้ ผมว่าพวกเขาดูรักเบอร์เกอร์ของเรานะ พวกเขาดูแฮปปี้มาก ยิ้มกว้างกันทุกคนเลยหลังกินเสร็จ ผมคิดว่าพวกเขาคงจะรู้สึกยอดเยี่ยม และนั่นคือความสำเร็จของผมและทีมแล้ว ผมนี่ซึ้งใจเลยตอนเห็นคนเป็นร้อยๆ มาต่อแถวเพื่อรอกิน Double Double 

สุดท้าย In-N-Out Burger มีแผนจะมาเปิดร้านที่เมืองไทยบ้างไหม

ณ ตอนนี้เรายังไม่มีแผนแน่นอนว่าจะมาเปิดร้านที่ไทยเมื่อไหร่ แต่วันนี้ที่เรามานี่เราลองมาทดลองตลาดดูก่อน ถือเป็นการวิจัยตลาดไปด้วย ซึ่งก็อย่างที่เห็นเลย การตอบรับดีมากเลยในวันนี้

หลังจบบทสนทนาสั้นๆ ทำให้เรานึกถึงการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเป็นหลักหลายพันไมล์จากอเมริกามาถึงประเทศไทยเพื่อมาเปิดป๊อปอัพสโตร์ 

การที่ร้านเบอร์เกอร์จากแคลิฟอร์เนียนี้ได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามหาใช่ความบังเอิญ หากแต่มันเกิดจากการใส่ความตั้งใจในรายละเอียดและพิถีพิถันทุกขั้นตอนในการทำเบอร์เกอร์แต่ละชิ้น ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งแบรนด์

California Burger

ปี 1948, บอลด์วินปาร์ก, แคลิฟอร์เนีย

จุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดมาจาก แฮร์รี่ สไนเดอร์ (Harry Snyder) ชายหนุ่มเชื้อสายแคนาเดียนวัย 35 ที่ย้ายถิ่นที่อยู่จากซีแอตเทิลมาอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย หลังแต่งงานกับภรรยา เอสเทอร์ จอห์นสัน (Esther Johnson) เขาหวังว่าวิชาความรู้ที่เขาเคยมีติดตัวมาจากการทำงานร้านเบอร์เกอร์ที่ซีแอตเทิลจะช่วยให้เขาสามารถเปิดร้านเบอร์เกอร์และเริ่มต้นชีวิตใหม่กับคนรักของเขาได้ที่นี่–แคลิฟอร์เนีย

ทุกๆ เช้าแฮร์รี่จะเดินไปจ่ายตลาดเพื่อเลือกซื้อเนื้อและผักด้วยตัวเอง เขาหยิบจับผักกาดทุกต้น พลิกมันไปมาเพื่อดูว่ามันสวยพอหรือยัง ยังสดดีอยู่ใช่ไหม ก่อนจะจ่ายเงินให้เจ้าของร้าน แฮร์รี่ทำแบบเดียวกันนี้เมื่อเดินเข้าไปในร้านขายเนื้อเช่นกัน แฮร์รี่พลิกดูเนื้อทีละชิ้นๆ ว่าสดที่สุดหรือเปล่า คุณภาพของเนื้อมันดีพอที่เขาจะเอามาทำเบอร์เกอร์ในร้านแล้วใช่ไหม ก่อนเขาจะหยิบแบงก์ดอลลาร์จ่ายเงินซื้อเนื้อกับพ่อค้า 

เมื่อกลับมาถึงที่ร้านแฮร์รี่จะเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมที่จะขายเบอร์เกอร์เองทุกอย่าง เนื้อทุกชิ้นที่ถูกปั้นจนเป็นก้อนก่อนย่างลงบนเตาก็มาจากการปั้นมือของแฮร์รี่ทั้งสิ้น ในขณะที่เอสเทอร์ ผู้เป็นภรรยาก็ขะมักเขม้นในการดูแลบัญชีค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับสามี 

อาจเพราะเงินทุนของแฮร์รี่ที่ยังมีไม่มากในตอนนั้น ด้วยทุนที่มีอย่างจำกัดและเขาเพิ่งเริ่มต้นชีวิตครอบครัว แฮร์รี่จึงต้องเปิดร้านขายเบอร์เกอร์ในพื้นที่เพียงแค่ประมาณ 10 ตารางฟุตในบอลด์วินปาร์ก แคลิฟอร์เนีย พื้นที่เพียงแค่ประมาณ 10 ตารางฟุตเท่านั้น หากจินตนาการตามคงนึกไม่ออกว่าพื้นที่เพียงเท่านั้นจะสามารถเปิดร้านอาหารได้ยังไง

การขายเบอร์เกอร์ในร้านที่มีพื้นที่จำกัดขนาดนี้จึงไม่สามารถมีโต๊ะอาหารบริการลูกค้าให้ลูกค้านั่งกินในร้านได้ เพราะด้วยลำพังส่วนหลังบ้าน ส่วนครัว ส่วนเคาน์เตอร์ของร้านก็กินพื้นที่ไปมากแล้ว แฮร์รี่จึงทำได้เพียงแค่ขายเบอร์เกอร์แบบ take away ก็คือลูกค้าต้องขับรถมาที่ร้าน จอดรถ แล้วเดินมาที่ร้านเพื่อซื้อเบอร์เกอร์ 

in-n-out.com

10 ตารางฟุต แห่งความท้าทาย

ด้วยหัวใจความเป็นนักธุรกิจและความเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ หรือถ้าเป็นศัพท์สมัยนี้ เราคงเรียกว่าแฮร์รี่เป็นคนที่มี growth mindset คือเชื่อในการทำงานหนัก ใส่ใจรายละเอียดและไม่ยอมแพ้ต่อปัญหา ในเมื่อปัญหาที่เขาเผชิญอยู่คือพื้นที่อันจำกัด ทำให้ลูกค้าไม่มีที่นั่งกินในร้าน ไหนลูกค้าจะต้องจอดรถเพื่อเดินลงมาซื้อเบอร์เกอร์อีก มันดูเหมือนกับว่าลูกค้าต้องใช้ความพยายามหลายขยักเพื่อซื้อของของเขาเสียเหลือเกิน

ทีนี้ เขาจะทำยังไงเพื่อให้ลูกค้าสะดวกและสบายกว่านี้ ในพื้นที่ที่ยังมีจำกัดอยู่เพียงแค่ 10 ตารางฟุต

แฮร์รี่ใช้เวลาในตอนเช้าไปจ่ายตลาด ตอนกลางวันทำเบอร์เกอร์ และตอนกลางคืนในโรงรถ สิ่งที่แฮร์รี่ทำในทุกค่ำคืนคือ เขาพยายามที่จะพัฒนาลำโพงให้เป็นลำโพงที่สามารถสื่อสารได้สองทาง พูดง่ายๆ คือลำโพงจะต้องทำหน้าที่ส่งเสียงออกมาได้เมื่อเขาพูด และลำโพงตัวเดิมนั้นเองจะต้องทำหน้าที่เป็นไมโครโฟนส่งเสียงกลับไปหาคนอีกฝั่งได้ด้วย

และแฮร์รี่ก็ทำสำเร็จ!

ใครจะไปคิดว่าชายหนุ่มที่หลงรักการทำเบอร์เกอร์จนเปิดร้านของตัวเอง จะสามารถดัดแปลงอุปกรณ์ในโรงรถให้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ต่อมากลายเป็นสิ่งที่พลิกโฉมหน้าวงการอาหารฟาสต์ฟู้ดและวงการ drive-thru ได้ไปตลอดกาล

in-n-out.com

เปลี่ยนข้อจำกัดให้เป็น drive-thru

สิ่งที่แฮร์รี่คิดค้นในวันนั้นมันอนุญาตให้เขาสามารถติดตั้งเจ้าลำโพงตัวนี้ไว้ที่บริเวณร้าน และปลายสายอีกข้างติดตั้งอยู่ในครัว ลูกค้าไม่จำเป็นที่จะต้องลงจากรถแต่สามารถสั่งเบอร์เกอร์จากคนในครัวได้ทันที ทั้งๆ ที่ยังนั่งอยู่บนรถ ลูกค้าเพียงแค่ลดกระจกลงเพื่อสั่งเบอร์เกอร์ จ่ายเงินและรับเบอร์เกอร์ไปกินอย่างอร่อยได้ ทั้งหมดนี้ลูกค้าไม่แม้แต่กระทั่งต้องดับเครื่องและลงจากรถเลย การขายแบบ drive-thru อาจจะเป็นเรื่องธรรมดาในโลกยุคนี้แต่ย้อนกลับไปเมื่อ 74 ปีที่แล้ว นี่คือเทคโนโลยีที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจของแฮร์รี่เลยทีเดียว

เราอาจพูดได้ว่า แฮร์รี่กำลังหาช่องทางเปลี่ยนวิกฤตของร้านเขาที่มีพื้นที่น้อย ไม่มีโต๊ะนั่งกิน ให้กลายเป็นโอกาส คือ ลูกค้าไม่ต้องนั่งกินในร้านก็ได้แต่คุณจะสะดวกสบายเมื่อขับรถมาซื้อเบอร์เกอร์ที่ร้านเรา

ด้วยความพิถีพิถันในการทำเบอร์เกอร์ของแฮร์รี่ที่ใส่ใจในรายละเอียด ด้วยนวัตกรรมลำโพงสื่อสาร 2 ทางที่ทำให้แฮร์รี่สามารถขายแบบ drive-thru ได้ และด้วยยุคนั้นที่สหรัฐอเมริกาเริ่มมีทางหลวงเกิดขึ้นมากมายในประเทศ นั่นหมายความว่า เหล่าอเมริกันชนสามารถเดินทางท่องเที่ยวข้ามเมืองข้ามรัฐกันได้อย่างสะดวกสบาย

ด้วยทุกเหตุที่ว่า ทำให้ผลของมันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ In-N-Out Burger 

ในยุคนั้นเองที่ธุรกิจ In-N-Out Burger กลายเป็นจุดพักผ่อนและพักรถของเหล่าบรรดาผู้ใช้ถนนและทางหลวง ด้วยเทคโนโลยีลำโพงสื่อสารสองทางและการสร้างช่องทางการซื้อ- ขายแบบ drive-thru ของแฮร์รี่

in-n-out.com

Double-Double ทุกอย่างต้องคิดแบบดับเบิล

แฮร์รี่และเอสเทอร์สามารถขยายธุรกิจ In-N-Out ได้เรื่อยๆ อย่างเนิบช้า อาจเป็นเพราะว่าสองสามีภรรยาพยายามทำให้ In-N-Out Burger เป็นธุรกิจที่บริหารกันเองและจัดการกันเองในครัวเรือนมากที่สุด ตั้งแต่วันแรกๆ หรือแม้ในวันที่สามารถขยายสาขาออกไปได้หลายต่อหลายสาขา ทั้งแฮร์รี่และเอสเทอร์ก็ยังคงตั้งใจและใส่ใจกับคุณภาพของเบอร์เกอร์อยู่เสมอ เพราะพวกเขาถือว่านี่คือหัวใจหลักของธุรกิจ In-N-Out Burger

และเบอร์เกอร์ที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้านที่ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1963 และยังคงขายดีในปัจจุบันทั้งในอเมริกาและทั้งป๊อปอัพสโตร์ที่เปิดที่ไทย คือ Double-Double 

เจ้าเบอร์เกอร์ Double-Double มีลักษณะตามชื่อแบบตรงไปตรงมา คือประกอบไปด้วยเนื้อสองก้อน อเมริกันชีสสองแผ่น ผักกาดแก้ว มะเขือเทศ หอมใหญ่ และซอส ทุกวัตถุดิบถูกจัดหนักจัดเต็มดับเบิลแบบคูณสองสมชื่อ

ถ้าตอนที่แฮร์รี่สร้างลำโพงสื่อสารสองทางในปี 1948 ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่เปิดทางให้ธุรกิจ In-N-Out Burger สามารถเปิดตลาดกับกลุ่มคนที่ขับรถมาซื้อเบอร์เกอร์และเป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้าแล้ว อีก 23 ปี ต่อมา ในขณะที่ In-N-Out เริ่มมีฐานแฟนเบอร์เกอร์มากมาย In-N-Out Burger สามารถขยายสาขาไปได้นับสิบสาขา แถม In-N-Out ได้กลายเป็นแบรนด์เบอร์เกอร์ที่สามารถแย่งชิงพื้นที่ในใจคอเบอร์เกอร์ในฝั่งเวสต์โคสต์ แฮร์รี่เองยังคงไม่หยุดความคิดสร้างสรรค์ของเขา

in-n-out.com

เมื่อเขารู้ดีแก่ใจว่าธุรกิจของเขาเกิดมาจากการขายแบบ drive-thru นั่นหมายความว่าลูกค้าของเขาจำนวนไม่น้อยคือลูกค้าที่ขับรถ ไม่ว่าจะขับมาจากพื้นที่ใกล้ๆ ร้าน In-N-Out Burger หรือลูกค้าที่มาจากต่างเมืองแล้วขับรถมาเที่ยว จึงจอดแวะพักผ่อนที่ In-N-Out Burger เพื่อกินเบอร์เกอร์

แฮร์รี่จึงมีไอเดียว่า มันคงจะดีไม่น้อยถ้ากระดาษที่เสิร์ฟบนถาดรองจะเป็นมากกว่ากระดาษรองถาดเพียงเพื่อกันถาดเลอะ แฮร์รี่จึงตัดสินใจเปลี่ยนลายพิมพ์บนกระดาษรองถาดให้เป็นแผนที่ หมายความว่า หากลูกค้าคนไหนขับรถมาจากต่างเมืองแล้วมองหาแผนที่คุณสามารถหยิบกระดาษรองถาดไปเป็นแผนที่เที่ยวเมืองที่คุณไปอุดหนุน In-N-Out Burger ได้เลย

แฮร์รี่เสียชีวิตในปี 1976 ในขณะที่แฮร์รี่เสียชีวิต In-N-Out Burger สามารถขยายสาขาไปได้ถึง 18 สาขา หลังจากนั้น ริช สไนเดอร์ (Rich Snyder) ลูกชายคนเล็กของเขาก็ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สืบทอดกิจการและสามารถขยาย In-N-Out Burger ออกไปได้จนถึง 93 สาขาในปี 1993 แต่ริชก็ต้องมาเสียชีวิตลงด้วยอุบัติเหตุทางเครื่องบิน 

ต่อมาทั้งเอสเทอร์และกาย (Guy Snyder) พี่ชายของริช จึงเข้ามาบริหารกิจการแทนและนำพา In-N-Out Burger ขยายสาขาได้ถึง 140 สาขา และมีมูลค่ามากกว่า 200 ล้านดอลลาร์

ต่อมาเมื่อทั้ง 2 เสียชีวิต กิจการทั้งหมดจึงถูกส่งต่อไปยังมาร์ก เทย์เลอร์ (Mark Taylor) ผู้มีศักดิ์เป็นญาติของตระกูลสไนเดอร์ จนกระทั่งปี 2010 ลินซี สไนเดอร์ (Lynsi Snyder) หลานแท้ๆ ของแฮร์รี่จึงมารับหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของ In-N-Out Burger ด้วยวัย 27 ปี ในขณะนั้น In-N-Out Burger มีอยู่ทั้งหมด 251 สาขาและมียอดขายอยู่ที่ประมาณ 550 ล้านดอลลาร์ และลินซียังคงดูแล In-N-Out Burger อยู่จนถึงปัจจุบัน

in-n-out.com

เบอร์เกอร์และเงินเฟ้อ

คำถามสำคัญที่ทุกคนสงสัยเกี่ยวกับ In-N-Out Burger คงหนีไม่พ้นเรื่องราคาขายของเบอร์เกอร์ที่ดูไม่สัมพันธ์กับค่าเงินเฟ้อเอาเสียเลย

ในขณะที่เงินเฟ้อมากขึ้นทุกปี และราคาเบอร์เกอร์จากแบรนด์อื่นปรับตัวสูงขึ้นตามค่าเงินเฟ้อ แต่ In-N-Out Burger กลับปรับราคาขึ้นเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเงินเฟ้อในประเทศ

คำถามสำคัญคือ In-N-Out Burger ยังคงรักษามาร์จินกำไรไว้ได้ยังไง?

Forbes เคยวิเคราะห์คำตอบของคำถามนี้เอาไว้ว่า น่าจะเกิดจากการขายเมนูอันจำกัดของ In-N-Out Burger เมื่อ In-N-Out Burger มีเมนูไม่มาก นั่นหมายความว่าแบรนด์สามารถซื้อวัตถุดิบล็อตใหญ่มากๆ ในราคาต่ำได้ แถม In-N-Out Burger ยังทำการหาวัตถุดิบและดูแลการขนส่งวัตถุดิบไปยังสาขาต่างๆ ด้วยตนเอง ตรงนี้เองที่ค่าใช้จ่ายน่าจะลดลงประมาณ 3-5% ต่อปี ต่อมาคือเรื่องสถานที่ที่ In-N-Out Burger ไปตั้งร้านอยู่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ที่ In-N-Out Burger เป็นเจ้าของเอง ตรงนี้ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายรายปีไปได้อีกประมาณ 6-10% ต่อปี

ทั้งหลายทั้งมวลที่เกิดจากการวิเคราะห์คงไม่สู้การได้ฟังปากคำจากปากของคนที่นั่งแท่นบริหารสูงสุดของ In-N-Out Burger ว่าเธอมีมุมมองยังไงในการนำพา In-N-Out Burger ให้เดินไปข้างหน้าในสมรภูมิธุรกิจฟาสต์ฟู้ด

“ฉันคิดว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับการคิดโปรดักต์ใหม่ๆ นะ…เราทำเบอร์เกอร์แบบเดิม สูตรเดิม เฟรนช์ฟรายส์ก็สูตรเดิม…แต่เราดูแลทุกอย่างแบบละเอียดยิบ และเรามีกลยุทธ์ เราไม่ประนีประนอมในเรื่องนี้”

ลินซี สไนเดอร์ หลานสาวแท้ๆ ของแฮร์รี่ผู้สืบทอดเจตนาของคุณปู่ให้สัมภาษณ์กับ Forbes ถึงการบริหารบริษัทมูลค่า 30,000 ล้านในยุคที่การแข่งขันธุรกิจอาหารช่างเข้มข้น

In-N-Out คือหนึ่งในชาวฮอลลีวูด

นอกจากการเป็นแบรนด์เบอร์เกอร์ขวัญใจชาวเวสต์โคสต์แล้ว In-N-Out Burger ยังอาจถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของแคลิฟอร์เนีย จนหลายต่อหลายปีที่ In-N-Out Burger ได้ถูกนำไปเสิร์ฟให้กับเหล่าคนดัง ดารา ทีมงานที่ได้เข้าขิงรางวัลออสการ์และเข้าร่วมงานประกาศผล

เช่นในปี 2014 Vanity Fair บันทึกสถิติไว้เลยว่ามีการเสิร์ฟ In-N-Out Burger ถึง 1,424 ชิ้นในงานปาร์ตี้หลังประกาศผลรางวัลออสการ์ หรือจะในปี 2022 ที่ In-N-Out Burger ยังคงได้รับเชิญให้ไปเสิร์ฟเบอร์เกอร์ในงานปาร์ตี้หลังประกาศรางวัลจนนักแสดงชื่อดังชาวออสเตรเลีย Rebel Wilson ถึงกับเอ่ยปากว่า

“ฉันว่างานปีนี้ที่น่าสนใจนี่เพราะว่ามี In-N-Out Burger มาเสิร์ฟในงานเลยนะ…ฉันรัก In-N-Out เพราะมันช่างแคลิฟอร์เนีย และมันช่างฮอลลีวูดเอาเสียเหลือเกิน”

นอกจากจะเป็นแบรนด์เบอร์เกอร์ขวัญใจชาวเวสต์โคสต์ของอเมริกา ดูเหมือนกับว่าวันนี้ In-N-Out Burger ได้กลายเป็นตัวแทนฝั่งอาหารจากรัฐแคลิฟอร์เนีย 

คิดถึงแคลิฟอร์เนีย คิดถึง In-N-Out Burger

ถือเป็นแบรนด์เบอร์เกอร์ที่สร้างทั้งรอยยิ้มและความอิ่มเอมในหัวใจและในกระเพาะของชาวฮอลลีวูด ชาวเวสต์โคสต์ รวมถึงวันนี้ที่ In-N-Out Burger เดินทางมาเสิร์ฟรอยยิ้มไกลถึงใจชาวกรุงเทพฯ 

แม้จะเป็นช่วงเวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้นก็ตาม

อ้างอิง

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

Illustrator

บรรณาธิการศิลปกรรม Email: y.pongtorn@gmail.com

You Might Also Like