นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Cider Culture

วัฒนธรรมการดื่ม ‘ไซเดอร์’ จากโลกตะวันตกถึงไทย ทำไมวันนี้ไซเดอร์จึงเป็นเครื่องดื่มที่น่าจับตา

ถ้าพูดถึงผลไม้อะไรสักอย่างที่มีผลต่อวัฒนธรรมการกินอยู่ของชาวโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรฝั่งตะวันตก หลายคนน่าจะนึกถึง ‘แอปเปิล’ ขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ 

อาจเพราะแอปเปิลเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย สามารถปลูกขึ้นได้ในหลากหลายภูมิภาคบนโลกใบนี้ ทั้ง อังกฤษ โปแลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และจีน ตลอดไปจนถึงความนิยมในรสชาติของแอปเปิลที่คนหลงรักได้ไม่ยาก มีรสหวานกลมกล่อม มีเนื้อมาก รับประทานง่าย อยากจะกัดกินเข้าไปทั้งเปลือกเลยก็ยังทำได้ แอปเปิลจึงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตย้อนไปตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจนมาถึงยุคปัจจุบัน

นอกจากรสชาติและรูปลักษณ์ที่อำนวยให้กินง่าย เป็นผลไม้ที่ราคาจับต้องได้ไม่ว่าคุณจะอาศัยอยู่ตรงส่วนไหนของโลก แอปเปิลยังถือเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ในเชิงโภชนาการ เพราะถือเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์และวิตามินซีสูง คนสมัยก่อนจึงมีกุศโลบายในการสั่งสอนลูกหลานให้กินอาหารที่มีประโยชน์ด้วยการดัดแปลงเอาแนวคิดนี้ผูกรวมเข้าไว้กับภาษา เพื่อให้จดจำและเข้าใจไปโดยปริยายว่า แอปเปิลเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า เช่น ภาษาอังกฤษจะมีสำนวนที่ว่า ‘An apple a day keeps the doctor away’ แปลเป็นไทยแบบง่ายๆ คือ ‘กินแอปเปิลวันละผล เราก็จะไม่ต้องไปหาหมอ’ ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อของคนฝั่งตะวันตกที่สืบต่อกันมาในรูปประโยคสั้นๆ

หรืออีกสำนวนหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในเนื้อเพลง ในบทหนัง ในจดหมายรัก คือ ‘The apple of my eyes’ วลีที่เรียกคนที่คุณมีความรู้สึกรัก รู้สึกเสน่หา รู้สึกหวงแหน

นอกจากแอปเปิลจะเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายในการรับประทาน จึงเป็นธรรมดาของโลกใบนี้ที่มนุษย์มักจะสร้างสรรค์และดัดแปลงสิ่งที่ตัวเองชอบให้ไปปรากฏในเมนูอาหารที่หลากหลายเพื่อความวาไรตี้ของการใช้สอย เราจึงได้เห็นแอปเปิลเข้าไปอยู่ในเมนูอาหารต่างๆ มากมาย ทั้งพายแอปเปิล แซนด์วิชแอปเปิลกับไก่งวง บางคนชอบใส่แอปเปิลลงไปในสลัดเพื่อเพิ่มมิติในการกินให้จานผัก

หรือจะเป็นเครื่องดื่มที่ทำจากแอปเปิลอย่างน้ำแอปเปิลก็เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนชาวโลกไม่แพ้กัน ด้วยรสชาติที่กลมกล่อมครบรสในคราวเดียวกัน หากได้ดื่มกินน้ำแอปเปิลในวันที่อากาศร้อนๆ คงจะเย็นชื่นใจไม่น้อย แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่า การดัดแปลงพลิกแพลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ถือเป็นพรสวรรค์ที่มนุษย์มีอยู่ในสัญชาตญาณ 

นอกจากน้ำแอปเปิลแบบธรรมดาปกติ ยังมีเครื่องดื่มจากแอปเปิลที่เป็นที่นิยมและมาแรงในหมู่ชาวโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟากฝั่งตะวันตก 

นั่นคือ ‘ไซเดอร์’

ประเทศแถบเอเชียหรือในบ้านเราอาจจะยังไม่คุ้นชินกับเครื่องดื่มชนิดนี้นัก เนื่องด้วยเรายังคงคุ้นเคยกับแอลกอฮอล์ที่เราดื่มกินกันไม่กี่ชนิด เช่น เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความขมเป็นรสชาติพื้นหลัก และอาจตามด้วยรสชาติติดปลายลิ้นเป็นรสและกลิ่นต่างๆ ตามแต่จะดัดแปลง อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในสังคมไทยว่าเบียร์คือเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูง จนมีแบรนด์เบียร์ของประเทศไทยไปตีตลาดโลก ดังนั้นความนิยมในการดื่มเบียร์ของคนไทยคงไม่เป็นที่สงสัย แต่หากพูดถึง ไซเดอร์ในโลกฝั่งตะวันตกเป็นอันรู้กันดีว่า มันหมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ให้ความรู้สึกซาบซ่า สดชื่น ที่ส่วนใหญ่ทำมาจากแอปเปิล แต่ในบางกรณีก็ผลิตมาจากผลไม้ชนิดอื่นบ้าง เช่น แพร์

กระบวนการผลิตที่เป็นหัวใจของไซเดอร์นั้นว่ากันที่ ‘การหมัก’ ถ้าอยากจินตนาการตามแบบเรียบง่ายด้วยการเทียบเคียงถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยมโดยกว้างอย่างไวน์ เราคงนึกภาพออกว่าไวน์เกิดจากการใส่ยีสต์ลงไปหมักกับน้ำองุ่นจนเปลี่ยนน้ำตาลในองุ่นให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ ไซเดอร์ก็ใช้หลักการเดียวกัน นั่นคือการหมัก เพียงแต่เป็นการเอาน้ำแอปเปิลไปหมักและเติมยีสต์ลงไปหมักจนน้ำตาลในแอปเปิลเปลี่ยนแปลงไปเป็นแอลกอฮอล์

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการหมักน้ำองุ่นเพื่อมาทำเป็นไวน์ กับการหมักน้ำแอปเปิลเพื่อมาทำเป็นไซเดอร์ที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้คือ การหมักน้ำองุ่นจนกลายเป็นไวน์จำเป็นต้องนำองุ่นชนิดเดียวกัน สายพันธุ์เดียวกันมาหมักเพื่อให้ได้รสชาติที่คงที่ (แน่ล่ะ ต้องควบคุมตั้งแต่ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว การบ่มหมัก จนไปถึงการออกซิเดชั่น – ข้อมูลจาก American Journal of Enology and Viticulture) ส่วนการหมักแอปเปิลไซเดอร์ มีความเก๋ไก๋และหลากหลายในลูกเล่นมากกว่านั้น เพราะเราสามารถนำแอปเปิลหลายสายพันธุ์มาผสมผสานกันเพื่อหมักเป็นไซเดอร์ได้  สังเกตจากตอนที่เรากัดกินแอปเปิลแต่ละพันธุ์ เราทุกคนต่างคงสัมผัสได้ว่าแอปเปิลแต่ละสายพันธุ์มีความหวาน กลมกล่อม ละมุนแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อนำแอปเปิลที่มาจากหลายแหล่งเพาะปลูก และหลากหลายสายพันธุ์มาหมักรวมกัน และทำซ้ำจนเกิดรสชาติที่พึงใจ คุณก็จะได้แอปเปิลไซเดอร์ที่ไม่เหมือนใคร ที่ถูกใจคุณและเป็นความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์แอปเปิลไซเดอร์ของคุณเองได้ และนี่คือความเปิดกว้างที่แอปเปิลไซเดอร์อนุญาตให้คุณมีความคิดสรางสรรค์ได้อย่างไม่จำกัด 

ส่วนของระยะเวลาในการหมักไซเดอร์ก็แล้วแต่ความสมัครใจของผู้ผลิตและรสชาติที่ปรารถนา คุณสามารถพบเห็นไซเดอร์ที่มีช่วงอายุของการหมักตั้งแต่หลักเดือน นานไปจนถึงหลักหลายปี นอกจากหมักแล้วการอัดแก๊สเข้าไปในไซเดอร์เพื่อให้เป็นเครื่องดื่มที่มีความซาบซ่าประกอบกันกับรสชาติที่หวานละมุนออกปลายฝาดเล็กๆ ก็เป็นการเพิ่มความบันเทิงในการดื่มให้กับผู้บริโภคเข้าไปอีกทาง

ย้อนกลับไปตรงจุดเริ่มต้นของต้นกำเนิดไซเดอร์ บางแหล่งข้อมูลบอกว่าไซเดอร์เกิดขึ้นมาบนโลกแล้วกว่า 2,000 ปี บ้างก็บอกว่าไซเดอร์เกิดขึ้นมาบนโลกกว่า 3,000 ปีแล้วต่างหาก ถึงแม้ว่าตัวเลขจะมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่จุดร่วมสำคัญที่ทุกแหล่งข้อมูลอ้างถึงจุดกำเนิดของไซเดอร์ คือไซเดอร์เป็นเครื่องดื่มโบราณที่มีมาช้านานตั้งแต่ยุคก่อนคริสต์ศักราช

แล้วไซเดอร์เกิดขึ้นมาตอนไหนบนโลกใบนี้?

เชื่อกันว่าเครื่องดื่มหมักแอลกอฮอล์ที่ทำจากน้ำแอปเปิลชนิดนี้มีขึ้นตั้งแต่ยุคของจักรวรรดิโรมันในสมัยที่จูเลียส ซีซาร์ เป็นแม่ทัพ จุดเริ่มต้นคือช่วงประมาณ 55 ปีก่อนคริสต์ศักราชขณะที่กองทัพของจูเลียส ซีซาร์ เดินทางมายังบริเตน เมื่อทหารของซีซาร์ได้ชิมกับเครื่องดื่มของคนพื้นเมืองบริเตนที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมแถมยังทำให้มึนเมาชนิดนี้ ก็เกิดความรู้สึกชอบและติดใจจนนำพาไซเดอร์กลับไปยังโรมันด้วย

จากนั้นมาไซเดอร์จึงเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายในยุโรปทั้งผ่านการนำพาและเดินทางของทหารจากกองทัพของซีซาร์และจากคุณสมบัติส่วนตัวของไซเดอร์เองที่มีความเอร็ดอร่อยชื่นใจ แถมยังสามารถทำให้มึนเมาได้อีก จึงเกิดเป็นความนิยมไซเดอร์ในหมู่คนยุโรปในพื้นที่ใดก็ตามที่ไซเดอร์เดินทางไปถึง

พูดถึงความนิยมในการผลิตไซเดอร์ที่แพร่หลายในยุโรป เราจึงมักนึกถึงอังกฤษ ฝรั่งเศส ตอนเหนือของสเปน และไอร์แลนด์ ในช่วงยุคศตวรรษที่ 18-19 ไซเดอร์เคยถูกใช้เป็นค่าแรงในการจ้างแรงงานให้กับชาวไร่ชาวนาในอังกฤษอีกด้วย จากข้อมูลนี้เราจึงเห็นว่าไซเดอร์เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับทั้งความนิยมจนแทบจะเป็นเครื่องดื่มที่ถูกบริโภคกันจนเป็นปกติของคนจากฟากฝั่งตะวันตกของโลก

ในศตวรรษที่ 21 ยุคที่โลกใบนี้ดูจะแคบลงและหมุนเร็วขึ้นกว่าเมื่อ 2,000-3,000 ปีที่แล้ว เพราะเทคโนโลยีการสื่อสาร อาหาร และเครื่องดื่มมากมายถูกสร้างสรรค์ให้แปลกใหม่ คนบนโลกออนไลน์พากันชื่นชอบและพร้อมเปิดใจโอบรับสิ่งต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำวัตถุดิบแปลกใหม่มาทำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม แต่ไซเดอร์ก็ยังคงยืนหยัดและยังเป็นที่นิยมในหมู่คนที่นิยมความสดชื่นจากน้ำผลไม้ที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

นอกจากฟากฝั่งตะวันตก ในไทยเองก็มีความนิยมของเครื่องดื่มไซเดอร์มากขึ้นเรื่อยๆ และมีไซเดอร์สัญชาติไทยแท้เกิดขึ้น ตัวอย่างที่น่าสนใจคือผู้ผลิตไซเดอร์เจ้าแรกของไทยอย่าง ‘Moose’ ที่พิถีพิถันตั้งแต่วัตถุดิบตั้งต้น ด้วยความเชื่อที่ว่าวัตถุดิบที่ดีจะนำพาไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี

Moose เองเป็นแบรนด์ไซเดอร์ที่เลือกที่จะกลัดกระดุมที่ถูกต้องตั้งแต่เม็ดแรก นั่นคือการเลือกแอปเปิลที่มีคุณภาพเพื่อนำมาคั้นให้เป็นสารตั้งต้นที่ดีในการทำไซเดอร์นั่นเอง

นอกจากนั้นความคิดสร้างสรรค์ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ไซเดอร์ของ Moose น่าสนใจ หรือหากจะใช้คำให้ถูกอาจจะต้องเรียกว่า น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น ไซเดอร์รส Indie Summer ที่มีการผสมผสานเอาใบเตยและกระเจี๊ยบลงไปในไซเดอร์ที่มีเบสเป็นน้ำแอปเปิลที่เป็นแอลกอฮอล์อยู่แล้ว ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเราอาจจะเทียบเคียงได้กับคำว่า East meets West คือซีกโลกฝั่งตะวันออกและซีกโลกฝั่งตะวันตกโคจรมาพบกัน หรือนั่นก็คือการเอาส่วนผสมที่เป็นวัตถุดิบแบบไทยๆ มาผสมลงในเครื่องดื่มสัญชาติฝรั่งอย่างไซเดอร์ หรืออย่างรส Original ของ Moose ก็เป็นไซเดอร์ที่รุ่มรวยไปด้วยกลิ่นหอมของแอปเปิลชั้นดีที่มาในเรตแอลกอฮอล์ 5%

ในเมืองที่มีอากาศร้อนเป็นทุนเดิมอย่างประเทศไทย การหยิบจับเครื่องดื่มอะไรสักอย่างที่ให้ความสดชื่นมาคลายร้อน ถือเป็นทางเลือกในการให้รางวัลตัวเองในแต่ละวันแบบเรียบง่ายและทำได้ในทุกวัน โดยเราจะเห็นว่าวันนี้ในกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่หรือในแวดวงคนทำงานสร้างสรรค์จำนวนไม่น้อยจะเลือกไซเดอร์เป็นเครื่องดื่มคู่ใจทั้งในช่วงเวลาว่างหลังเลิกงานหรือยามออกเดินทางท่องโลกกว้างที่ต้องการความสดชื่น

ไม่แน่วันนี้ตอนเย็นๆ หลังเลิกงาน คุณอาจจะเปลี่ยนจากเครื่องดื่มธรรมดามาให้รางวัลตัวเองบ้างก็เป็นทางเลือกที่สดชื่นดีไม่น้อย

อ้างอิง

ขอบคุณสถานที่ : The COMMONS

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

Photographer

ช่างภาพที่สนุกกับการแต่งตัว อยู่กับเสียงเพลง และหลงรักในความทรงจำ Ig : mocfirst

You Might Also Like