นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการใช้คุกกี้

บริษัท ทุนดี จำกัด (“บริษัท”) มีความจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการทำงานหลายส่วนของเว็บไซต์เพื่อรับประกันการให้บริการของเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ของท่าน โดยบริษัทรับประกันว่าจะใช้คุกกี้เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎ หมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีการใช้คุกกี้บางประเภทที่อาจดำเนินการโดยผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ เมื่อท่านเข้าใช้บริการเว็บไซต์ บริษัทจะถือว่าท่านรับทราบและตกลงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้แล้ว โดยบริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ตามแต่ละระยะเวลาที่บริษัทเห็นสมควร โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์นี้... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Kimchi Crisis

วิกฤตกิมจิในเกาหลีใต้ จากโลกร้อน กิมจิจากจีน และเกษตรกรหันไปปลูกแอปเปิลแทนผักกาด

ไก่ทอดร้อนๆ เคลือบแป้งรสชาติเข้มข้นกินคู่กับข้าวสวยหุงใหม่ที่เพิ่งหุงเสร็จ หมูสามชั้นย่างบนเตาบาร์บีคิวแบบล้อมวงนั่งกินกับโซจูใสๆ ตัดเลี่ยนมันจากหมู หรือจะเป็นการต้มรามย็อนซดเองที่บ้านแบบธรรมดาๆ แต่ใส่ผักใส่เนื้อลงไปเพื่อช่วยให้อิ่มท้อง

แม้จะไม่ใช่คนเกาหลีโดยกำเนิด แต่เวลาคิดถึงเมนูอาหารเกาหลี ใครต่อใครคงสามารถลิสต์รายการอาหารต่างๆ พลางนึกถึงให้เห็นภาพได้แบบไม่ยาก เนื่องด้วยอาหารเกาหลีเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยเคียงบ่าเคียงไหล่เทียบทันกับอาหารชาติอื่นๆ ที่เข้ามาแย่งพื้นที่กะเพาะอาหารของคนไทย 

เราได้เห็นร้านอาหารเกาหลีหลากหลายรูปแบบทั้งแบบร้านไก่ทอดเกาหลี ร้านซุปไก่ตุ๋นโสมแบบเกาหลี ร้านปิ้งย่างแบบเกาหลี ร้านขายของหมักดองแบบเกาหลี มาเปิดในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ แทบนับไม่ถ้วน นี่คงจะเป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ที่เราได้รับอิทธิพลเข้าไปเต็มๆ จากซีรีส์และภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลทางจิตวิทยาหรือความตั้งใจที่ผู้กำกับแต่ละคนสามารถเนรมิตภาพลักษณ์ของอาหารเกาหลีที่อยู่ในหนังและซีรีส์ออกมาดูน่ากิน (ตาม) ไปซะหมด

กิมจิก็เหมือนกับออกซิเจน

หนึ่งในตัวชูโรงที่อุปมาว่าเป็นพระเอกตัวเด่นของอาหารเกาหลีที่ไม่พูดถึงไม่ได้เมื่อเอ่ยถึงอาหารชาตินี้ก็คงจะเป็นกิมจิ หรือผักดอง แฟนอาหารเกาหลีคงคุ้นเคยกับกิมจิเป็นอย่างดีทั้งในฐานะที่เป็นส่วนผสมของหารเกาหลีบางชนิด เช่น ซุปกิมจิเต้าหู้อ่อน หมูสามชั้นผัดกิมจิ ข้าวยำเกาหลี หรือบางทีเราอาจจะได้เห็นกิมจิในฐานะเครื่องเคียงที่วางอยู่บนโต๊ะเมื่อเดินเข้าร้านอาหารเกาหลีก็เป็นได้ 

ผักดองรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ที่เราเรียกมันว่ากิมจินี้เป็นอาหารเกาหลีที่อยู่คู่ทุกครัวเรือนคนเกาหลี Hyunjoo Albrecht เชฟเกาหลีที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในซานฟรานซิสโกเคยเปรียบเปรยไว้ว่า “กิมจิก็เหมือนกับอากาศของคนเกาหลี” เพราะบ้านทุกหลังในเกาหลีต้องมีกิมจิเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อใช้กินเคียงกับอาหารในชีวิตประจำวัน

กัมจัง–วัฒนธรรมเกาหลีสู่มรดกโลก

คำอีกหนึ่งคำที่มักจะได้ยินควบคู่ไปกับกิมจิคงจะเป็นคำว่า ‘กิมจัง’ คำคำนี้หมายถึงกระบวนการในการหมักดองผักสดให้กลายเป็นกิมจิโดยอาศัยแรงของคนในหมู่บ้านและชุมชนในช่วงต้นฤดูหนาวมาช่วยกันทำกิมจิและเก็บมันไว้กิน

กระบวนการกิมจังของเกาหลี อาจเรียกได้ว่าเป็นมากกว่าเพียงแค่การรวบรวมคนหมู่มากมาช่วยกันดองผัก แต่มันคือการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนเพื่อช่วยกันทำกิจกรรมที่สำคัญต่อกระเพาะอาหารและปากท้องของแต่ละบ้าน เป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของคนเกาหลี 

เชฟ Hyunjoo เคยเล่าเอาไว้ว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายนตอนที่คนในหมู่บ้านเริ่มฤดูกิมจัง แต่ละบ้านจะไม่ทักทายกันด้วยคำว่า “สวัสดี วันนี้เป็นยังไงบ้าง” ตรงกันข้าม พวกเขาจะทักกันว่า “ว่าไง วันนี้ตั้งใจจะทำกิมจิสักเท่าไหร่ดี”

หรือตอนที่คุณแม่ของเชฟทะเลาะกับเพื่อนบ้านชนิดที่ตะโกนด่ากันเสียงดังโวยวาย แต่พอวันรุ่งขึ้นตอนที่ต้องทำกิมจังด้วยกัน คุณแม่และเพื่อนบ้านกลับมานั่งอยู่ติดกันพลางช่วยกันหั่นผักกาดเพื่อดองกิมจิ และหัวเราะคิกคักแซวกันไปมาถึงเรื่องราวที่เถียงกันแทบตายเมื่อวาน

ถึงแม้ว่ากิมจังจะโดนคุกคามเพราะไลฟ์สไตล์อันเร่งรีบของคนหนุ่มสาวในปัจจุบันที่อาจจะทำให้พวกเขาไม่ค่อยมีเวลาไปร่วมดองกิมจิ แต่ยังไงเสียกิมจังก็ยังเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญต่อประเทศจน UNESCO ได้บันทึกให้กิมจังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในปี 2013 

เมืองไทยมีดัชนีมาม่า เกาหลีมีดัชนีกิมจิ

โดยสถิติแล้วคนเกาหลีบริโภคกิมจิต่อปีที่ประมาณเกือบๆ ปีละ 2 ล้านตัน กระทรวงเกษตร อาหาร และชนบท ของเกาหลี (Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs) จึงได้ริเริ่มใช้คำว่า Kimchi Index หรือดัชนีกิมจิขึ้น โดยดัชนีกิมจิเป็นการสะท้อนถึงราคาของวัตถุดิบหลัก 13 ชนิดที่ใช้ในการทำกิมจิ เช่น ผักกาด เกลือ พริกแห้งป่น กระเทียมปอก ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณอยากทราบว่าข้าวของปีนี้ราคาสูงขึ้นหรือต่ำลงคุณคาดคะเนเอาจากดัชนีกิมจิดูก็ได้ เช่น ดัชนีกิมจิอยู่ที่ 91.3 ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2013 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำ แต่ถ้าเทียบกับตอนที่ผักกาดราคาแพงหูฉี่ในเดือนตุลาคม ปี 2010 ดัชนีกิมจิจึงพุ่งสูงขึ้นเป็น 152.6

ทั้งเป็นอาหารหลักติดครัวที่บ้าน ทั้งกระบวนการก็ขึ้นเป็นมรดกโลก ทั้งคำว่ากิมจิยังถูกใช้เป็นดัชนีสะท้อนเศรษฐกิจในประเทศ แต่ตอนนี้ดูเหมือนกับว่ารัฐบาลเกาหลีกำลังเจอศึกหนัก เพราะวิกฤตกิมจิภายในประเทศ

วิกฤตกิมจิ

สถานการณ์วิกฤตกิมจิที่ว่าในตอนนี้คือ จำนวนผักกาดที่จะนำมาทำกิมจิถูกผลิตได้น้อยลงอันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวนของโลกในปีนี้ ทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้น และฝนที่ตกหนักบ่อยขึ้น ไหนจะมีพายุ มีไต้ฝุ่นอีก ทำให้ผลผลิตผักกาดในปีนี้ลดจำนวนลง บวกกับภาวะเงินเฟ้อที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ ทำให้ราคาผักกาด วัตถุดิบหลักในการทำกิมจิมีราคาสูงขึ้นๆ เป็นเท่าตัวภายในระยะเวลาต่ำกว่าสามเดือน 

ณ สิ้นเดือนกันยายน ผักกาดหนึ่งหัวมีราคาอยู่ที่ 7.81 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับราคาที่ขายปีที่แล้วคือที่ราคาหัวละ 4.17 ดอลลาร์สหรัฐ และถ้าดูสถิติเปรียบเทียบเป็นรายปีแล้ว ราคาผักกาดสูงที่สุดในรอบ 24 ปีในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

แต่ในเมื่อกิมจิสำคัญกับคนเกาหลีเสมือนกับอากาศที่ใช้หายใจ ถึงแม้ราคาจะแพงแค่ไหน แต่ยังไงก็คงต้องซื้อ ชาวเกาหลีจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจ่ายค่าผักกาดในราคาที่แพงขึ้นเพื่อนำผักไปดองเองที่บ้าน

“ผมไม่มีทางเลือกนี่ครับ แพงยังไงผมก็ต้องจ่าย”

Sung Ok-Koung ชายวัย 56 ที่จำต้องซื้อผักกาดในราคาแสนแพง เพราะเขาถือว่าการดองกิมจิกินเองที่บ้านเป็นกิจกรรมที่สำคัญของครอบครัว กล่าวกับนักข่าว Washington Post 

ใช่ว่าปัญหาราคาผักกาดพุ่งสูงจะกระทบเพียงแค่พ่อบ้านแม่บ้านเกาหลีที่ซื้อผักไปดองเองเท่านั้น อุตสาหกรรมธุรกิจการดองผักกิมจิก็ได้รับผลกระทบนี้ไปเต็มๆ เช่นกัน เช่น Daesang บริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของเกาหลี และเป็นบริษัทที่ผลิตกิมจิมากที่สุดในเกาหลีประกาศขึ้นราคากิมจิ 10% ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 เป็นต้นไป แต่ถึงแม้ราคาจะพุ่งขึ้นสูงแค่ไหน ช่วงต้นเดือนตุลาคมกิมจิแบบผักกาดก็ถูกสั่งซื้อจนหมดเกลี้ยงสต็อกทั้งในเว็บไซต์ของบริษัทและที่วางขายอยู่ตามห้างอยู่ดี

แค่จำนวนผักกาดที่ปลูกได้น้อยลง และราคาผักที่สูงขึ้นตามหลักอุปสงค์-อุปทาน ของคนในประเทศก็ว่าแย่แล้ว แถมเกาหลียังเจอศึกหนักจากคู่แข่งทางการค้า (กิมจิ) ที่สามารถผลิตกิมจิในราคาที่ถูกกว่าอย่างจีนเข้าไปอีก วิกฤตกิมจิคราวนี้ของเกาหลีจึงเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องรีบเข้ามาแก้ไข

แต่จะไปแก้ไขได้ยังไง ในเมื่อไม่มีใครไปควบคุมสภาวะอากาศได้ ครั้นจะห้ามให้จีนไม่ขายกิมจิในราคาที่ถูกกว่าก็คงจะเป็นไปไม่ได้

สิ่งที่รัฐบาลเกาหลีทำในตอนนี้คือ นำเข้ากิมจิจากจีน… อ้าว?

เมื่อคุณไม่สามารถต้านทานได้ คุณจงเข้าร่วม

ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่ารัฐบาลกระทรวงเกษตรของเกาหลีได้เปรียบเปรยถึงสถานการณ์ที่ราคาผักกาดและราคากิมจิพุ่งสูงขึ้นในเกาหลีว่า สถานการณ์นี้เป็นเหมือน ‘อากาศที่เลวร้าย’ ดังนั้นการจะกำจัดอากาศที่เลวร้ายลงซึ่งก็คือวิกฤตกิมจิในเกาหลีให้มันดีขึ้นให้ได้ รัฐมนตรีฯ จึงตัดสินใจว่าเขาจะต้องทำทุกทางให้อากาศดีขึ้น

การนำเข้ากิมจิจากประเทศจีนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการตรึงราคากิมจิในเกาหลีไม่ให้พุ่งสูงจนเกินไป จนในปัจจุบันการนำเข้ากิมจิจากจีนในเกาหลีตีอยู่ที่ 40% ของการบริโภคกิมจิทั้งหมดในประเทศแล้ว

นอกจากการนำเข้ากิมจิจากจีน รัฐบาลเกาหลียังมีแผนในการสร้างโรงคลังเพื่อใช้กักเก็บผักกาดขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ช่วยบรรเทาสภาวะการขาดแคลนผักกาดในอนาคตได้ แต่แผนในการสร้างโรงคลังขนาดใหญ่ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อสร้าง เพราะโรงคลังเก็บผักกาดที่ว่า รัฐบาลเกาหลีตั้งใจจะสร้างมันในบริเวณ Goesan and Haenam และประมาณการไว้ว่าจะสร้างให้ใหญ่ถึง 9,900 ตารางเมตร ความใหญ่เทียบเท่าสนามฟุตบอล 3 สนามมาเรียงต่อกัน

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โรงคลังแห่งนี้จะสามารถเก็บผักกาดได้ถึงวันละ 10,000 ตัน และผักดองอื่นๆ อีกวันละ 50 ตัน การสร้างโรงคลังเก็บผักกาดและกิมจิอันยิ่งใหญ่นี้ของรัฐบาลเกาหลีคาดว่าจะใช้งบประมาณการสร้างอยู่ที่ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จในปี 2025

ถ้าการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าคือการนำเข้ากิมจิจากจีน การแก้ไขสถานการณ์ระยะกลางคือการสร้างโรงคลังไว้เก็บผักกาดและกิมจิตลอดปีเพื่อที่คนในประเทศจะได้ไม่ขาดแคลนกิมจิ เช่นนั้นรัฐบาลเกาหลีคงเหลือเพียงสิ่งที่ต้องกังวลคือ ปัญหาระยะยาวของการทำกิมจิในเกาหลี นั่นคือเกษตรกรในประเทศกำลังหันหลังให้กับการปลูกผักกาด

เมื่อสภาวะอากาศไม่เอื้อต่อการปลูกผักกาด

ใน 5 ฤดูร้อนที่ผ่านมา จะมีประมาณ 20 วันที่อากาศในเขตเกษตรกรรม เช่น ที่แทแบก (Taebaek) มีอุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงยุค 90s และแน่นอนว่ามันไม่เป็นผลดีต่อการปลูกผักกาด เพราะผักกาดต้องการสภาพอากาศที่คงที่เพื่อการเจริญเติบโต แต่ในช่วงปีหลังที่ผ่านมา สภาพอากาศอันแปรปรวนหลายปัจจัย เช่น ฝนตกหนัก พายุเข้า คลื่นความร้อน ทำลายผลผลิตผักกาดของเกษตรกรที่อุตส่าห์เพียรเพาะมาอย่างดี

Jeon Sang-min ผู้จัดการฝ่ายจัดจำหน่ายของสหกรณ์การเกษตรแทแบก ให้สัมภาษณ์กับ Washington Post ว่า ผลผลิตผักกาดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลดจำนวนลงเรื่อยๆ และเกษตรกรหลายคนกำลังมองหาผักผลไม้อื่นๆ ที่ทนทานต่อสภาวะอากาศมาปลูกทดแทนผักกาด

ในตอนนี้เกษตรกรหลายคนที่แทแบกละทิ้งการปลูกผักกาดและหันมาปลูกแอปเปิลแทนแล้ว ซึ่งปกติเราอาจจะเห็นสวนแอปเปิลเรียงรายที่จังหวัดทางตอนใต้ของเกาหลีใต้แถบจังหวัดคยองซัง (Gyeongsang) แต่ปัจจุบันนี้ดูเหมือนกับว่าละติจูดในการปลูกสวนแอปเปิลของคนเกาหลีเริ่มเดินทางมาทางตอนเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว

เราคงต้องติดตามกันต่อไปว่า การแก้ปัญหาระยะสั้น กลาง ยาว ของรัฐบาลเกาหลีใต้เกี่ยวกับกิมจิจะออกมาเป็นยังไง เพราะกิมจิไม่ได้เป็นเพียงแค่ผักดอง แต่มันยังเป็นเหมือนอัตลักษณ์และตัวตนของคนในชาติบ้านเมือง

อ้างอิง

Writer

อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย หญิงสาวผู้หลงรักอาหาร และโฮสต์รายการพอดแคสต์ชื่อ 'Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว'

You Might Also Like